คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำนง นิยมวิภาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางในคดีขัดทรัพย์ต้องเป็นไปตามมาตรา 54 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ภายใน 15 วัน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ต่อศาลแรงงานกลาง คดีจึงเป็นคดีที่สืบเนื่องมาจากคดีแรงงาน การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามวิธีที่ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54กล่าวไว้โดยเฉพาะ นั่นคือ จะกระทำได้ก็แต่เฉพาะ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้น จะอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หลังจากพ้นกำหนดให้อุทธรณ์นั้นแล้วมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิจารณาใหม่คดีแรงงาน: การขาดนัด-เหตุจำเป็น-การอุทธรณ์คำสั่ง
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่เกิดขึ้นภายหลังคำพิพากษา จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 ว่า เป็นคำขอที่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความขาดนัดและข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลแรงงานกลางแล้วโจทก์จะยกปัญหาที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นที่ยุติไปดังกล่าวแล้ว ขึ้นมาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
จำเลยที่ 1 เดินทางไปต่างประเทศก่อนถูกฟ้องและไม่เคยกลับเข้ามาประเทศไทยอีกเลย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถแถลงขอให้ศาลพิจารณาใหม่ภายในกำหนดเจ็ดวันตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้พิจารณาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 และ 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน: เหตุผลความจำเป็น, การขาดนัด, และข้อจำกัดการอุทธรณ์
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่เกิดขึ้นภายหลังคำพิพากษา จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 ว่า เป็นคำขอที่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความขาดนัดและข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลแรงงานกลางแล้วโจทก์จะยกปัญหาที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นที่ยุติไปดังกล่าวแล้ว ขึ้นมาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
จำเลยที่ 1 เดินทางไปต่างประเทศก่อนถูกฟ้องและไม่เคยกลับเข้ามาประเทศไทยอีกเลย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถแถลงขอให้ศาลพิจารณาใหม่ภายในกำหนดเจ็ดวันตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้พิจารณาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 และ 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแรงงานใหม่หลังขาดนัด - เงื่อนไขและข้อยกเว้นตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่เกิดขึ้นภายหลังคำพิพากษา จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 ว่า เป็นคำขอที่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความขาดนัดและข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลแรงงานกลางแล้วโจทก์จะยกปัญหาที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นที่ยุติไปดังกล่าวแล้วขึ้นมาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยที่ 1 เดินทางไปต่างประเทศก่อนถูกฟ้องและไม่เคยกลับเข้ามาประเทศไทยอีกเลย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถแถลงขอให้ศาลพิจารณาใหม่ภายในกำหนดเจ็ดวันตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 1มิได้จงใจขาดนัด ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 และ 209 ประกอบด้วยพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยที่ 1 ได้เดินทางออกไปจากประเทศไทยไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีและมิได้เดินทางกลับมาประเทศไทยอีกเลยเมื่อเจ้าพนักงานศาลไปปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่บ้านพักของจำเลยที่ 1 บุตรสาวของจำเลยที่ 1 ได้พยายามที่จะส่งสำเนาคำฟ้องไปให้จำเลยที่ 1 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอเลื่อนการพิจารณาไปก่อน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้จงใจที่จะขาดนัด ศาลแรงงานกลางเชื่อ ตามทางไต่สวนของจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด โจทก์จะอุทธรณ์โต้เถียง ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวไม่ได้ เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยประชุมไม่ใช่ค่าจ้าง, ค่าชดเชย, เงินสงเคราะห์คำนวณจากค่าจ้าง, วันหยุดพักผ่อนสะสมได้, จ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
เบี้ยประชุมถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างอันจะนำมาเป็นฐานเพื่อคำนวณค่าชดเชย
โจทก์มิได้ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิของโจทก์โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์ในยวดยานสาธารณะ: การกระทำต่อเนื่องและขอบเขตความผิด
จำเลยยืนอยู่นอกรถยนต์โดยสารประจำทาง ใช้กำลังประทุษร้ายดึงตัวผู้เสียหายให้ลงมาจากรถแล้วบังคับเอาทรัพย์จากผู้เสียหาย เช่นนั้น การชิงทรัพย์ได้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายในขณะที่ผู้เสียหายยังอยู่บนรถซึ่งเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดตอนกับการบังคับเอาทรัพย์จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในยวดยานสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสองประกอบกับมาตรา 335(9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์ในยวดยานสาธารณะ: การกระทำต่อเนื่องจากบนรถถือเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ในยวดยาน
จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการดึง ตัวผู้เสียหายให้ลงมาจากรถโดยสารประจำทาง แม้จำเลยจะบังคับเอาทรัพย์จากผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายลงมาจากรถ และจำเลยยืนอยู่นอกรถก็ตาม แต่การชิง ทรัพย์นั้นได้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายในขณะที่ผู้เสียหายยังอยู่บนรถ ซึ่งเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดตอนกรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานชิง ทรัพย์ในยวดยานสาธารณะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์ในยวดยานสาธารณะ: การกระทำต่อเนื่องจากบนรถถึงนอกรถถือเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ในยวดยานสาธารณะ
จำเลยยืนอยู่นอกรถยนต์โดยสารประจำทาง ใช้กำลังประทุษร้ายดึงตัวผู้เสียหายให้ลงมาจากรถแล้วบังคับเอาทรัพย์จากผู้เสียหาย เช่นนั้น การชิงทรัพย์ได้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายในขณะที่ผู้เสียหายยังอยู่บนรถซึ่งเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดตอนกับการบังคับเอาทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในยวดยานสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสองประกอบกับมาตรา 335 (9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเสนอคดีต่อศาลในกรุงเทพฯ และเขตอำนาจศาลเมื่อโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่ง
สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองได้กำหนดไว้ด้วยว่า ให้เสนอคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นจากสัญญาดังกล่าวต่อศาลในกรุงเทพมหานคร และเมื่อขณะทำสัญญานั้นโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งกรณีย่อมพึงเห็นเจตนาของโจทก์จำเลยทั้งสองได้ว่า ศาลในกรุงเทพมหานครที่ระบุในสัญญาให้เสนอคดีนั้นก็คือศาลแพ่งนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่งได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2530)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเสนอคดีต่อศาลเฉพาะ และเขตอำนาจศาลที่คู่ความมีภูมิลำเนา
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7(4) ศาลที่คู่กรณีพึงตกลงกันให้ฟ้องคดีจะต้องเป็นศาลที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือมูลคดีเรื่องนั้นได้เกิดขึ้น หรือทรัพย์สินที่พิพาทกันนั้นตั้งอยู่ในเขตศาลอย่างใดอย่างหนึ่ง คดีนี้โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันและตกลงกันว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง ให้เสนอคดีต่อศาลในกรุงเทพมหานคร เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร และขณะที่ทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิม ภูมิลำเนาของโจทก์ขณะทำสัญญาจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง กรณีพึงเห็นเจตนาของโจทก์จำเลยที่ระบุในสัญญาว่าให้เสนอคดีต่อศาลในกรุงเทพมหานครก็คือศาลแพ่งนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่งได้.
of 77