พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วนำฟ้องใหม่ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 36 แม้จะอ้างเหตุฟ้องบกพร่อง
โจทก์เคยนำเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งให้ประทับฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง อ้างว่าฟ้องบกพร่อง ขอถอนเพื่อดำเนินการใหม่ ศาลชั้นต้นอนุญาต ดังนี้โจทก์จะนำเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 36.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วฟ้องใหม่: มาตรา 36 ว.ส.ก. การถอนฟ้องมีผลทำให้คดีเสร็จสิ้น
โจทก์เคยนำเช็คฉบับพิพาทมาฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา แล้วขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าฟ้องบกพร่องขอถอนเพื่อจะนำไปดำเนินคดีใหม่ เมื่อศาลอนุญาตก็ต้องถือว่าเป็นการถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปทั้งเรื่อง โจทก์จะนำเช็คฉบับพิพาทมาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่อีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษเลิกจ้างจากไล่ออกเป็นให้ออกมีผลนับแต่วันใด สิทธิการได้รับเงินสงเคราะห์
เดิมจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม2524 โจทก์ได้ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยได้ออกคำสั่งอีกฉบับหนึ่งมีความว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยมีมติว่าการลงโทษโจทก์รุนแรงเกินไป จึงให้ยกเลิกคำสั่งเดิมเสียทั้งสิ้นและให้โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2527ดังนี้ ข้อความในคำสั่งฉบับหลังเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยได้ยกเลิกคำสั่งเดิมที่ไล่โจทก์ออกจากงานนั้นทั้งหมด ไม่ให้มีผลบังคับต่อไปโดยกำหนดโทษเป็นให้ออกจากงาน เมื่อคำสั่งเดิมได้กำหนดวันเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2524 ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษจึงต้องถือว่ามีผลบังคับตั้งแต่วันที่เลิกจ้างนั้นด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับของจำเลยนับแต่วันนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษจากไล่ออกเป็นให้ออก มีผลนับแต่วันใด สิทธิเงินสงเคราะห์
เดิมจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม2524 โจทก์ได้ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยได้ออกคำสั่งอีกฉบับหนึ่งมีความว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยมีมติว่าการลงโทษโจทก์รุนแรงเกินไป จึงให้ยกเลิกคำสั่งเดิมเสียทั้งสิ้นและให้โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2527 ดังนี้ ข้อความในคำสั่งฉบับหลังเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยได้ยกเลิกคำสั่งเดิมที่ไล่โจทก์ออกจากงานนั้นทั้งหมด ไม่ให้มีผลบังคับต่อไปโดยกำหนดโทษเป็นให้ออกจากงาน เมื่อคำสั่งเดิมได้กำหนดวันเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2524 ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษจึงต้องถือว่ามีผลบังคับตั้งแต่วันที่เลิกจ้างนั้นด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับของจำเลยนับแต่วันนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865-875/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาคดีหลังเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ แม้มีเหตุขัดข้องก่อนหน้า ศาลฎีกายกอุทธรณ์
จำเลยได้รับหมายเรียกและทราบกำหนดนัดพิจารณาของศาลแล้วแต่ไม่แต่งทนายความเข้ามาดำเนินคดีเพราะขณะนั้นจำเลยมีกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนไม่ครบ ต่อมาจำเลยได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการให้ ส. คนเดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนจำเลยได้ ซึ่งหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการของจำเลยแล้วยังอยู่ในระหว่างนัดสืบพยานโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการแจ้งข้อขัดข้องให้ศาลทราบ ย่อมถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา ไม่มีเหตุที่จะขอพิจารณาใหม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท ท. ต่อมาได้โอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลย ในครั้งแรกจำเลยใช้ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จเดิมของบริษัท ท. ซึ่งในกรณีที่โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินบำเหน็จและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แต่ต่อมาจำเลยได้ออกข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 32 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จใหม่ ซึ่งตามข้อบังคับฉบับนี้โจทก์กลับมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเพียงเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเท่านั้นจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์จะนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ดังนั้น แม้จำเลยจะได้จ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์ตามข้อบังคับ ฉบับที่ 32 แล้วก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยจากจำเลยอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างกรณีเงินบำเหน็จและค่าชดเชย
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จพนักงานของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัดพ.ศ. 2507 ที่จำเลยนำมาใช้บังคับแก่พนักงานและลูกจ้างของจำเลยในระหว่างที่จำเลยยังไม่ออกข้อบังคับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 32 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อจำเลยออกข้อบังคับ ฉบับที่32 มาใช้บังคับแตก ต่างออกไป ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินบำเหน็จเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ เพราะตามระเบียบเดิม กรณีของโจทก์ที่ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินบำเหน็จและค่าชดเชย แต่ตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 32 โจทก์กลับมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเพียงเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 เท่านั้น จึงนำมาใช้บังคับในกรณีของโจทก์ไม่ได้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 20 แม้จำเลยจะได้จ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์รับไปตามข้อบังคับดังกล่าว ก็ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างในทางไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท ท. ต่อมาได้โอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลย ในครั้งแรกจำเลยใช้ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จเดิมของบริษัท ท. ซึ่งในกรณีที่โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินบำเหน็จและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แต่ต่อมาจำเลยได้ออกข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 32 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จใหม่ ซึ่งตามข้อบังคับฉบับนี้โจทก์กลับมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเพียงเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเท่านั้นจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์จะนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ดังนั้น แม้จำเลยจะได้จ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์ตามข้อบังคับ ฉบับที่ 32 แล้วก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยจากจำเลยอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าพักอาศัยของลูกจ้างเป็นส่วนหนึ่งของสภาพการจ้าง คดีอยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
การที่โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างเข้าพักอาศัยอยู่ในห้องพักของโจทก์ เป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง อันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเมื่อโจทก์ฟ้องว่าโจทก์ต้องการห้องพักคืนเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่น แต่จำเลยไม่ยอมออกไปโจทก์จึงเลิกจ้างแล้วฟ้องขับไล่จำเลย ดังนี้ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 8(1) จึงอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะพิจารณาพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์สวัสดิการลูกจ้าง (ห้องพัก) เป็นส่วนหนึ่งของสภาพการจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา
การที่โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างเข้าพักอาศัยอยู่ในห้องพักของโจทก์ เป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง อันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเมื่อโจทก์ฟ้องว่าโจทก์ต้องการห้องพักคืนเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่น แต่จำเลยไม่ยอมออกไปโจทก์จึงเลิกจ้างแล้วฟ้องขับไล่จำเลย ดังนี้ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(1) จึงอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะพิจารณาพิพากษา.