คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำนง นิยมวิภาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสวัสดิการที่พักอาศัยของลูกจ้างเป็นส่วนหนึ่งของสภาพการจ้าง อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
การที่นายจ้างจัดห้องพักให้ลูกจ้างเข้าอยู่อาศัย เป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง อันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ว่า โจทก์ให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยในห้องพักคนงานโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องออกจากห้องที่อยู่อาศัยเมื่อโจทก์ต้องใช้สถานที่ และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์ต้องการใช้ห้องที่ทำงานอยู่อาศัยเพื่อกิจการอื่น แต่จำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์จึงเลิกจ้างแล้วฟ้องขับไล่จำเลย จึงถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(1)อันอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะพิจารณาพิพากษา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบจากการละเมิดข้อบังคับภายในองค์กร และอายุความคดีแพ่ง
ข้อบังคับของโจทก์ระบุว่า ถ้าเงินที่นำไปคราวหนึ่งเป็นตัวเงินสดรวมกันเกิน 20,000 บาท ให้มีกรรมการประกอบด้วยพนักงานการเงินกับพนักงานชั้นหัวหน้าหรือเทียบเท่าอีกไม่น้อยกว่า 2 นาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 1 นาย พร้อมกับอาวุธปืนร่วมกันเป็นคณะ ห้ามนำเงินไปแต่ลำพังผู้เดียว ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 โดยลำพังแต่ผู้เดียวเป็นผู้รับเงินค่าข้าวสารเป็นจำนวนสูงถึง140,250 บาท จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว และเป็นช่องทางให้เงินดังกล่าวต้องเกิดการสูญหายขึ้นอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบในทางแพ่งเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2527 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12กุมภาพันธ์ 2529 จะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วในวันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการสอบสวนได้เสนอผลการสอบสวนให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2528 คดีที่โจทก์นำมาฟ้อง จึงยังไม่เกิน 1 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: แม้มีพฤติกรรมไม่สมควร แต่หากไม่ถึงขั้นเป็นความผิดตามข้อบังคับบริษัท นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและบำเหน็จ
ขณะที่มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมจำเลยกับทีมบริษัทอื่นซึ่งจำเลยจัดให้มีขึ้นเป็นกิจกรรมพิเศษนอกเวลาทำงานตามปกติ โจทก์ดื่มสุราจนเมาได้เข้าไปท้าพนันกับ อ.รองประธานกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ เมื่อทีมจำเลยชนะโจทก์จึงไปทวงสุราจาก อ.และยื้อยุดฉุดมืออ.ที่ประรำพิธีทำให้ อ.นิ้วมือเคล็ด ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีเจตนาทำร้ายร่างกาย อ.แม้จะเป็นการกระทำที่ไม่สมควรก็ตามแต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ห้ามมิให้ทำร้ายต่อผู้บังคับบัญชาจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้โจทก์.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671-675/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือที่ไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยและบริษัท บ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีผู้บริหารชุดเดียวกัน แต่บริษัทดังกล่าวก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยเลิกกิจการแล้วมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานที่บริษัท บ. โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671-675/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยและบริษัท บ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีผู้บริหารชุดเดียวกัน แต่บริษัทดังกล่าวก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยเลิกกิจการแล้วมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานที่บริษัท บ. โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง: เหตุผลการเลิกจ้างต้องชัดเจนตามกฎหมาย และการคำนวณค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ตามหนังสือเลิกจ้างของจำเลย จำเลยได้ระบุเหตุเลิกจ้างไว้ว่าโจทก์จงใจกลั่นแกล้งผสมสีพ่นไม้ให้ผิดไปจากที่เคยปฏิบัติเป็นเหตุให้สีที่พ่นไม้แดงปาร์เก้ไม่แห้ง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย อันเป็นการเลิกจ้างโดยอ้างเหตุโจทก์ได้กระทำผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(2)จำเลยหาได้ระบุเหตุเลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ทำการโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตามข้อ 47(5) ไม่ ต้องถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะเลิกจ้างโจทก์โดยสาเหตุเช่นว่านี้แล้ว แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีไว้ และศาลแรงงานกลางหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัย ก็ไม่เป็นเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
โจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ 3,050 บาท จ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 16และวันที่ 1 ของเดือน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 2 กันยายน2529 กรณีนี้การบอกเลิกการจ้างของจำเลยจะมีผลเป็นการเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ก็คือวันที่ 1 ตุลาคม 2529จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างในระหว่างวันที่ 2 กันยายน ถึงวันที่30 กันยายน 2529 รวมเป็นเวลา 29 วัน คิดเป็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 2,948.14 บาทแก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษจากกองทุนบำรุงความสุขของนายจ้าง การพิจารณาและการจ่ายตามระเบียบที่ถูกต้อง
การจ่ายเงินบำรุงความสุขเป็นเงินบำเหน็จพิเศษแก่ลูกจ้างตามระเบียบการขนส่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2499 นั้นจะต้องมีคณะกรรมการของจำเลยเป็นผู้พิจารณาและกำหนดจำนวนเงิน แต่การจ่ายเงินบำรุงความสุขเป็นเงินบำเหน็จพิเศษนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะต้องจ่าย จำเลยจะออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการจ่ายอย่างไรก็ชอบที่จะทำได้ เมื่อคณะกรรมการของจำเลยได้พิจารณาแล้วกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่โจทก์แต่ละคนรับไปแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่โจทก์ตามระเบียบการขนส่งของจำเลยโดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินบำเหน็จพิเศษจากจำเลยอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษจากกองทุนบำรุงความสุขของลูกจ้าง การรถไฟฯ นายจ้างมีสิทธิกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายได้
การจ่ายเงินบำรุงความสุขเป็นเงินบำเหน็จพิเศษแก่ลูกจ้างตามระเบียบการขนส่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2499นั้น จะต้องมีคณะกรรมการของจำเลยเป็นผู้พิจารณาและกำหนดจำนวนเงิน แต่การจ่ายเงินบำรุงความสุขเป็นเงินบำเหน็จพิเศษนี้กฎหมายไม่ได้บังคับให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะต้องจ่าย จำเลยจะออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายอย่างไรก็ชอบที่จะทำได้ เมื่อคณะกรรมการของจำเลยได้พิจารณาแล้วกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่โจทก์แต่ละคนรับไปแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่โจทก์ตามระเบียบการขนส่งของจำเลยโดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินบำเหน็จพิเศษจากจำเลยอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษจากกองทุนเงินบำรุงความสุขของลูกจ้าง จำเลยมีสิทธิกำหนดหลักเกณฑ์และจ่ายตามระเบียบ หากได้จ่ายแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเพิ่มเติม
การจ่ายเงินบำรุงความสุขเป็นเงินบำเหน็จพิเศษแก่ลูกจ้างตามระเบียบการขนส่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2499 นั้น จะต้องมีคณะกรรมการของจำเลยเป็นผู้พิจารณาและกำหนดจำนวนเงิน แต่การจ่ายเงินบำรุงความสุขเป็นเงินบำเหน็จพิเศษนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะต้องจ่าย จำเลยจะออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการจ่ายอย่างไรก็ชอบที่จะทำได้ เมื่อคณะกรรมการของจำเลยได้พิจารณาแล้วกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่โจทก์แต่ละคนรับไปแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่โจทก์ตามระเบียบการขนส่งของจำเลยโดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินบำเหน็จพิเศษจากจำเลยอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547-548/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายพนักงานจากธนาคารอาคารสงเคราะห์มายังการเคหะแห่งชาติ และการคำนวณอายุงานเพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินสงเคราะห์
การที่โจทก์ทั้งสองมาทำงานที่การเคหะแห่งชาติ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 5 ให้โอนกิจการของธนาคารอาคารสงเคราะห์เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจตามมาตรา 27(1)และ (2) ตามพ.ร.บ. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ให้แก่การเคหะแห่งชาติเมื่อมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานจึงต้องนับต่อเนื่องกันไป แต่เนื่องจากข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่พนักงานหรือลูกจ้างประจำเท่านั้น
เมื่อโจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นลูกจ้างประจำของธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่แล้วก่อนโอนมาเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย จึงต้องนับอายุการทำงานติดต่อกัน ส่วนโจทก์ที่ 2เมื่อโอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยนั้นยังเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่ เพิ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำภายหลังจึงต้องนับอายุการทำงานตั้งแต่วันได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 77