คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำนง นิยมวิภาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหลังปิดกิจการ: ศาลแรงงานมีอำนาจอนุญาต แต่ไม่สามารถกำหนดวันเลิกจ้างได้
ผู้ร้องปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดไปแล้ว ผู้ร้องจึงมีเหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะสั่งอนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้แต่การที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านตั้งแต่เมื่อใดเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการออกคำสั่งอีกชั้นหนึ่งศาลแรงงานกลางไม่พึงก้าวล่วงมีคำสั่งเช่นว่านั้น
ในวันนัดไต่สวน ผู้ร้องและผู้คัดค้านส่งเอกสารต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งงดการไต่สวน คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อผู้คัดค้านมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้ง แต่มิได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งงดการไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381-382/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการโอนลูกจ้างและอำนาจศาลแรงงานในการพิจารณาค่าเสียหายหลังเลิกจ้าง
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นว่า โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างของจำเลยหรือของจำเลยร่วม การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยโดยบริษัทจำเลยรับโอนโจทก์ทั้งสองเข้าทำงานต่อจากบริษัทจำเลยร่วม จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่กำหนดไว้
ศาลแรงงานกลางฟังว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองไม่เป็นธรรมแต่ก็มิได้กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายโดยเห็นว่าค่าชดเชยที่โจทก์ทั้งสองได้รับเพียงพอกับความเสียหายแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องค่าเสียหาย ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหาย จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับมูลละเมิด ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิเรียกร้องจากผู้เอาประกัน
การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถโจทก์ที่ 2 เสียหายแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดระงับไป และทำให้ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยอาศัยมูลละเมิดและทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างระงับไปด้วย
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์ที่ 2 ความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์ที่ 1 ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 ย่อมยังไม่ระงับ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้ใช้ค่าซ่อมรถแทนโจทก์ที่ 2 ไป จึงเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามจำนวนที่ชดใช้ไปจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ที่ 2 ด้วยโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้ละเมิด & การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย
การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2ที่ 3 ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถโจทก์ที่ 2 เสียหายแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่2 ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดระงับไป และทำให้ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยอาศัยมูลละเมิดและทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างระงับไปด้วย
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์ที่ 2 ความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์ที่1 ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 ย่อมยังไม่ระงับ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้ใช้ค่าซ่อมรถแทนโจทก์ที่ 2ไป จึงเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามจำนวนที่ชดใช้ไปจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้นเมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ที่ 2 ด้วยโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อความรับผิดของคู่กรณีในคดีละเมิด
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดแก่โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2และจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อไว้ เอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อจำเลยที่ 1ยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 จึงถือว่าจำเลยที่ 1ยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์ที่ 1 ผู้รับประกันภัยทำไว้กับโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยย่อมยังไม่ระงับไป เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้จ่ายค่าซ่อมรถที่เอาประกันภัยไว้แทนโจทก์ที่ 2 ไปแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2ผู้เอาประกันภัยได้ตามจำนวนเงินที่โจทก์ที่ 1 ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดเดิม ระงับไป และทำให้ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อมูลหนี้ละเมิดเดิม ระงับไปแล้วย่อมทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3ที่จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1ระงับไปด้วยโจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 และเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้ โจทก์ที่ 1 คงรับช่วงสิทธิโจทก์ที่ 2 เรียกร้องได้เฉพาะจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยขัดกับระเบียบหรือไม่: การรวมการขาดงานหลายครั้งเพื่อลงโทษไล่ออก
ตามระเบียบของจำเลยมีความว่าพนักงานที่ขาดงานในรอบปีจักต้องรับโทษทางวินัย คือ ขาดงานครั้งแรกตัดเงินเดือนร้อยละ 5 ขาดงานครั้งที่ 2 ตัดเงินเดือนร้อยละ 6 ขาดงานครั้งที่ 3 ถ้า ได้ขาดงานมาแล้วในครั้งที่ 1 และ 2 รวมกับครั้งที่ 3 แล้วเกิน 10 วัน ให้ลงโทษไล่ออกฯ โจทก์ขาดงานครั้งแรก 7 วัน ครั้งที่ 2 จำนวน 1 วันครั้งที่ 3 จำนวน 6 วันรวม 3 ครั้ง ขาดงาน 14 วัน ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ได้ทำรายงานเพื่อพิจารณาโทษการขาดงานครั้งที่ 1 และ 2อยู่แล้ว แต่โจทก์ขาดงานแต่ละครั้งในระยะใกล้เคียงกัน จำเลยยังไม่ทันมีคำสั่งลงโทษตามขั้นตอน โจทก์ก็มาขาดงานครั้งที่ 3 จำเลยจึงนำมารวมพิจารณาลงโทษโดยรวมการขาดงานของโจทก์ทั้งสามครั้งแล้วลงโทษไล่ออกได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขาดงาน บริษัทฯ มีสิทธิเลิกจ้างได้หากรวมวันลาเกินเกณฑ์ที่ระบุในข้อบังคับ
ระเบียบบริษัท ฯ จำเลยว่าด้วยการลาได้กำหนดไว้ว่าพนักงานที่ขาดงานในรอบปีจะได้รับโทษทางวินัยตามลำดับ คือ ขาดงานครั้งแรกจะถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 5 ขาดงานครั้งที่ 2 ถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 6 ขาดงานครั้งที่ 3 ถ้าได้ขาดงานมาแล้วในครั้งที่ 1 ที่ 2 รวมกับครั้งที่ 3 เกินกว่า 10 วันให้ลงโทษไล่ออกฐานมีพฤติการณ์แสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งและข้อบังคับของบริษัท ฯ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ฯ ขาดงาน 3 ครั้ง โดยครั้งแรกขาดงานรวม 7 วัน ครั้งที่ 2ขาดงานรวม 1 วันครั้งที่ 3 ขาดงานรวม 6 วัน โจทก์ขาดงานทั้งสามครั้งรวม 14 วัน ต้องด้วยระเบียบข้อบังคับของบริษัท ฯ การที่บริษัท ฯ ไล่โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการลงโทษที่ถูกต้องตามระเบียบนั้นแล้ว หาจำเป็นต้องลงโทษตามขั้นตอนตั้งแต่การขาดงานครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ก่อนไม่ เพราะการขาดงานในครั้งที่1 และที่ 2 นั้น ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ก็ทำรายงานเพื่อพิจารณาโทษของโจทก์อยู่แล้วซึ่งต้องใช้เวลาบ้าง ทั้งโจทก์ขาดงานในระยะที่ใกล้เคียงกัน บริษัท ฯ จึงนำการขาดงานทั้งสามครั้งมารวมพิจารณาลงโทษได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัย: การรวมการขาดงานหลายครั้งเพื่อพิจารณาไล่ออกเป็นไปตามระเบียบ
ระเบียบบริษัท ฯ จำเลยว่าด้วยการลาได้กำหนดไว้ว่าพนักงานที่ขาดงานในรอบปีจะได้รับโทษทางวินัยตามลำดับ คือ ขาดงานครั้งแรกจะถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 5 ขาดงานครั้งที่ 2 ถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 6 ขาดงานครั้งที่ 3 ถ้าได้ขาดงานมาแล้วในครั้งที่ 1 ที่ 2 รวมกับครั้งที่ 3 เกินกว่า 10 วันให้ลงโทษไล่ออกฐานมีพฤติการณ์แสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งและข้อบังคับของบริษัท ฯ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ฯ ขาดงาน 3 ครั้ง โดยครั้งแรกขาดงานรวม 7 วัน ครั้งที่ 2 ขาดงานรวม 1 วันครั้งที่ 3 ขาดงานรวม 6 วัน โจทก์ขาดงานทั้งสามครั้งรวม 14 วัน ต้องด้วยระเบียบข้อบังคับของบริษัท ฯ การที่บริษัท ฯ ไล่โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการลงโทษที่ถูกต้องตามระเบียบนั้นแล้ว หาจำเป็นต้องลงโทษตามขั้นตอนตั้งแต่การขาดงานครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ก่อนไม่ เพราะการขาดงานในครั้งที่ 1 และที่ 2 นั้น ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ก็ทำรายงานเพื่อพิจารณาโทษของโจทก์อยู่แล้วซึ่งต้องใช้เวลาบ้าง ทั้งโจทก์ขาดงานในระยะที่ใกล้เคียงกัน บริษัท ฯ จึงนำการขาดงานทั้งสามครั้งมารวมพิจารณาลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุระหว่างเดินทางไปทำงาน แม้ได้รับคำสั่งให้ทำงานแล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มทำงานจริง ไม่ถือว่าประสบอันตรายจากการทำงาน
วันเกิดเหตุโจทก์ต้องทำงานกะ เช้า ซึ่งปกติต้องมาทำงานเวลา5 น. แต่โจทก์ไปสาย พนักงานจ่ายงานของจำเลยจึงสั่งให้โจทก์มาทำงานในกะ บ่าย และให้โจทก์ลงชื่อทำงานไว้ในใบลงชื่อทำงานประจำวันงานตอนบ่ายเริ่มเวลา 13.20 น. โจทก์ได้กลับไปบ้านพักของโจทก์ก่อนต่อมาเวลา 11 น.เศษ โจทก์ออกเดิน ทางเพื่อไปทำงานกะ บ่ายโดยขับรถจักรยานยนต์ไป ระหว่างทางรถจักรยานยนต์ของโจทก์ชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้อื่นและโจทก์ขาหัก ดังนี้ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย จะถือว่าโจทก์ได้รับอันตรายแก่ร่างกายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหาได้ไม่ กรณีของโจทก์จึงมิใช่การประสบอันตรายตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงาน: การเดินทางไปทำงานยังไม่ถือเป็นอันตรายจากการทำงาน
วันเกิดเหตุโจทก์ต้องทำงานกะเช้า ซึ่งปกติต้องมาทำงานเวลา 5 น. แต่โจทก์ไปสาย พนักงานจ่ายงานของจำเลยจึงสั่งให้โจทก์มาทำงานในกะบ่ายและให้โจทก์ลงชื่อทำงานไว้ในใบลงชื่อทำงานประจำวันงานตอนบ่ายเริ่มเวลา 13.20 น. โจทก์ได้กลับไปบ้านพักของโจทก์ก่อนต่อมาเวลา 11 น. เศษ โจทก์ออกเดินทางเพื่อไปทำงานกะบ่ายโดยขับรถจักรยานยนต์ไป ระหว่างทางรถจักรยานยนต์ของโจทก์ชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้อื่นและโจทก์ขาหัก ดังนี้เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย จะถือว่าโจทก์ได้รับอันตรายแก่ร่างกายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหาได้ไม่กรณีของโจทก์จึงมิใช่การประสบอันตรายตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 77