คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำนง นิยมวิภาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีเลิกจ้าง: แม้เหตุอ้างต่างกัน แต่ประเด็นวินิจฉัยคือเหตุสมควรเลิกจ้างหรือไม่
ฟ้องโจทก์คดีนี้ และคดีก่อนมีมูลมาจากการเลิกจ้างตามคำสั่งเลิกจ้างฉบับเดียวกัน เป็นแต่เพียงโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องคดีก่อนว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการเลิกจ้างที่ถูกปรักปรำและถูกบีบคั้นของจำเลย ซึ่งไม่ว่าโจทก์จะกล่าวอ้างถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างอย่างในคดีก่อนหรือคดีนี้ก็ตาม คดีทั้งสองก็มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างได้หรือไม่เมื่อคดีก่อนคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีเลิกจ้าง: การอ้างเหตุเลิกจ้างที่แตกต่างกันไม่ทำให้คดีไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นพิจารณาหลักยังคงเดิม
ฟ้องโจทก์คดีนี้และคดีก่อนมีมูลมาจากการเลิกจ้างตามคำสั่งเลิกจ้างฉบับเดียวกัน เป็นแต่เพียงโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องคดีก่อนว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการเลิกจ้างที่ถูกปรักปรำและถูกบีบคั้นของจำเลย ซึ่งไม่ว่าโจทก์จะกล่าวอ้างถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างอย่างในคดีก่อนหรือคดีนี้ก็ตาม คดีทั้งสองก็มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ และการคิดดอกเบี้ยจากวันฟ้องในคดีแรงงาน
เงินบำเหน็จเป็นผลประโยชน์นอกเหนือไปจากค่าชดเชย ซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้น ข้อบังคับของนายจ้างที่ให้หักค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ จึงหาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่ แต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดให้นายจ้างมีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยไว้ด้วย นายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างเมื่อใดจะถือว่านายจ้างผิดนัดแล้วหาได้ไม่ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวตั้งแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และดอกเบี้ยค่าชดเชยที่ไม่สามารถหักได้
เงินบำเหน็จเป็นผลประโยชน์นอกเหนือไปจากค่าชดเชยซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้น ข้อบังคับของนายจ้างที่ให้หักค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ จึงหาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่ แต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดให้นายจ้างมีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยไว้ด้วย นายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ
เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างเมื่อใด จะถือว่านายจ้างผิดนัดแล้วหาได้ไม่ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวตั้งแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างหักค่าชดเชยจากเงินบำเหน็จและดอกเบี้ยตามระเบียบการทำงาน
เงินบำเหน็จเป็นผลประโยชน์นอกเหนือไปจากค่าชดเชยซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้นข้อบังคับของนายจ้างที่ให้หักค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ จึงหาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่ แต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดให้นายจ้างมีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยไว้ด้วยนายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ
เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างเมื่อใด จะถือว่านายจ้างผิดนัดแล้วหาได้ไม่ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวตั้งแต่วันฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่สับสนจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของธุรกิจโรงแรม
บริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจโรงแรมเช่นเดียวกับโจทก์แต่ชื่อของบริษัทจำเลยที่ 1 มีคำว่า 'ฮิลตัน''โฮเต็ล' และ 'บางกอก' พ้องกับชื่อโรงแรมฮิลตันที่โจทก์ใช้ในการดำเนินกิจการโรงแรมทั่วโลกจนมีชื่อเสียงมานานทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดได้ว่าจำเลยที่ 1 คือโจทก์ และกิจการของจำเลยที่ 1 คือกิจการของโจทก์ จำเลยจึงนำเอาชื่อฮิลตันของโจทก์มาใช้โดยไม่สุจริต ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน การที่มีบริษัทอื่นอีกมากมายนำชื่อฮิลตันของโจทก์ไปตั้งเป็นชื่อกิจการของตน หาได้ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิดีขึ้นไม่และหากไม่ห้ามจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนชื่อโรงแรมของจำเลยมาใช้ชื่อฮิลตันของโจทก์อีกเมื่อใดก็ได้โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้ชื่อ ฮิลตันเป็นชื่อของบริษัทหรือโรงแรมของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกันจนเกิดความเข้าใจผิดและสร้างความเสียหายต่อธุรกิจโรงแรม
บริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจโรงแรมเช่นเดียวกับโจทก์แต่ชื่อของบริษัทจำเลยที่ 1 มีคำว่า "ฮิลตัน""โฮเต็ล" และ"บางกอก" พ้องกับชื่อโรงแรมฮิลตันที่โจทก์ใช้ในการดำเนินกิจการโรงแรมทั่วโลกจนมีชื่อเสียงมานาน ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดได้ว่าจำเลยที่ 1 คือโจทก์และกิจการของจำเลยที่ 1 คือกิจการของโจทก์จำเลยจึงนำเอาชื่อฮิลตันของโจทก์มาใช้โดยไม่สุจริต ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน การที่มีบริษัทอื่นอีกมากมายนำชื่อฮิลตันของโจทก์ไปตั้งเป็นชื่อกิจการของตน หาได้ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิดีขึ้นไม่และหากไม่ห้ามจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนชื่อโรงแรมจำเลยมาใช้ชื่อฮิลตันของโจทก์อีกเมื่อใดก็ได้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้ชื่อ ฮิลตัน เป็นชื่อของบริษัทหรือโรงแรมของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่สอดคล้องกับชื่อเสียงของผู้อื่น ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
บริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจโรงแรมเช่นเดียวกับโจทก์แต่ชื่อของบริษัทจำเลยที่ 1 มีคำว่า 'ฮิลตัน' 'โฮเต็ล' และ 'บางกอก' พ้องกับชื่อโรงแรมฮิลตันที่โจทก์ใช้ในการดำเนินกิจการโรงแรมทั่วโลกจนมีชื่อเสียงมานานทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดได้ว่าจำเลยที่ 1 คือโจทก์ และกิจการของจำเลยที่ 1 คือกิจการของโจทก์ จำเลยจึงนำเอาชื่อฮิลตันของโจทก์มาใช้โดยไม่สุจริต ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน การที่มีบริษัทอื่นอีกมากมายนำชื่อฮิลตันของโจทก์ไปตั้งเป็นชื่อกิจการของตน หาได้ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิดีขึ้นไม่และหากไม่ห้ามจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนชื่อโรงแรมของจำเลยมาใช้ชื่อฮิลตันของโจทก์อีกเมื่อใดก็ได้โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้ชื่อ ฮิลตัน เป็นชื่อของบริษัทหรือโรงแรมของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325-2326/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันการทำงานและการผิดสัญญาจ้าง: การริบเงินประกันเมื่อลูกจ้างลาออกก่อนกำหนดและไม่แจ้งล่วงหน้า
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดให้โจทก์วางเงินประกันการทำงานไว้ต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างและกำหนดเงื่อนไขในการที่โจทก์จะได้เงินดังกล่าวคืนเมื่อลาออกจากงานว่า โจทก์ได้ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีโดยแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยกว่า 1 เดือน เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ประกันความเสียหายเนื่องจากการทำงานไม่ครบกำหนดสองปีตามข้อตกลง และมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามเงื่อนไขข้อบังคับของจำเลย มิใช่เป็นเงินประกันค่าเสียหายเนื่องจากการทำงานของโจทก์ขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แต่ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับในกรณีผิดข้อตกลงหรือผิดสัญญาเมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยไม่ถึงสองปี และได้ลาออกโดยมิได้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยกว่า 1 เดือน อันเป็นการผิดข้อตกลงและเงื่อนไขเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยย่อมได้รับความเสียหาย และกรณีไม่มีข้อโต้แย้งว่าเป็นจำนวนค่าเสียหายที่สูงเกินส่วน จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินประกันได้ทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325-2326/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันการทำงานเป็นเบี้ยปรับได้ หากลูกจ้างลาออกก่อนครบกำหนดและไม่แจ้งล่วงหน้า
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดให้โจทก์วางเงินประกันการทำงานไว้ต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างและกำหนดเงื่อนไขในการที่โจทก์จะได้เงินดังกล่าวคืนเมื่อลาออกจากงานว่า โจทก์ได้ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีโดยแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยกว่า 1 เดือนเงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ประกันความเสียหายเนื่องจากการทำงานไม่ครบกำหนดสองปีตามข้อตกลง และมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามเงื่อนไขข้อบังคับของจำเลย มิใช่เป็นเงินประกันค่าเสียหายเนื่องจากการทำงานของโจทก์ขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยแต่ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับในกรณีผิดข้อตกลงหรือผิดสัญญาเมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยไม่ถึงสองปี และได้ลาออกโดยมิได้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยกว่า 1 เดือน อันเป็นการผิดข้อตกลงและเงื่อนไขเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยย่อมได้รับความเสียหาย และกรณีไม่มีข้อโต้แย้งว่าเป็นจำนวนค่าเสียหายที่สูงเกินส่วน จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินประกันได้ทั้งหมด.
of 77