พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากลูกจ้างมีเหตุผลอันสมควร แม้ขาดงาน ก็ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันเนื่องจากถูกวันแรกบุตรของโจทก์ป่วยมากจำเป็นที่โจทก์ต้องคอยดูแลส่วนอีกสองวันต่อมานั้นปรากฏว่าฝนตกมาก น้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดินทางไปทำงานและโทรศัพท์เสียหายมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดินทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทางโทรศัพท์ได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากมีเหตุจำเป็น ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรมิใช่การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่.
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากลูกจ้างมีเหตุผลอันสมควรในการขาดงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน เนื่องจากในวันแรกบุตรของโจทก์ป่วยมากจำเป็นที่โจทก์ต้องคอยดูแล ส่วนอีกสองวันต่อมานั้นปรากฏว่าฝนตกมาก น้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดินทางไปทำงานและโทรศัพท์เสียหายมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดินทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทางโทรศัพท์ได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากมีเหตุจำเป็น ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรมิใช่การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากมีเหตุสมควร การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเป็นโมฆะ
วันที่ 8-10 พฤษภาคม 2529 โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากวันที่ 8 บุตรโจทก์ป่วยมาก โจทก์จะต้องคอยดูแล บุตรอย่างใกล้ชิดส่วนวันที่ 9 และ 10 นั้น ฝนตก มากน้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดิน ทางไปทำงาน และโทรศัพท์เสียหายเป็นจำนวนมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดิน ทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทาง โทรศัพท์ได้ การที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติ เนื่องจากมีเหตุจำเป็น มิใช่เป็นการจงใจละทิ้งหน้าที่การงาน หรือฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อโจทก์มาทำงานทราบว่าผู้จัดการฝ่ายบุคคลสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ไปพบ แม้จะฟังว่าเป็นการขัดคำสั่งนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงอันไม่จำต้องตักเตือน เมื่อจำเลยไม่เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงและการอนุญาตฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น แม้ฎีกาของจำเลยจะมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา หากผู้พิพากษาที่อนุญาตให้ฎีกา มิได้เป็นผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น การอนุญาตให้ฎีกาดังกล่าวก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงและการอนุญาตฎีกาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
คดีซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น แม้ฎีกาของจำเลยจะมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา หากผู้พิพากษาที่อนุญาตให้ฎีกา มิได้เป็นผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น การอนุญาตให้ฎีกาดังกล่าวก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกายกอุทธรณ์ เพราะจำเลยไม่ได้อ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้าง
อุทธรณ์ของจำเลยมิได้อ้างเหตุที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย ส่วนอุทธรณ์เรื่องการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่ก็มิได้กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้น การที่จะวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดี อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันคำให้การและการใช้ดุลพินิจรับพยานนอกกรอบกฎหมายในคดีแรงงาน
แม้ อ. ประธานกรรมการบริษัทจำเลยแต่ผู้เดียวทำหนังสือมอบอำนาจให้ ว. กรรมการบริหารมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยอันเป็นการไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยก็ตาม แต่หลังจาก ว. ได้ยื่นคำให้การต่อศาลแล้ว จำเลยก็ทำหนังสือมอบอำนาจใหม่ให้ ฉ.เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนโดยอ.และว. ลงชื่อถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยเช่นนี้ การที่ ฉ. ดำเนินคดีต่อมาโดยนำสืบพยานไปตามคำให้การที่ ว. ต่อสู้คดีไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันยอมรับคำให้การดังกล่าวจึงมีสิทธินำสืบพยานไปตามคำให้การนั้นได้
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับบัญชีระบุพยานของจำเลยว่า'รับ 5 อันดับ' แสดงว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งรับบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ยื่นฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับบัญชีระบุพยานของจำเลยว่า'รับ 5 อันดับ' แสดงว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งรับบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ยื่นฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินนิคมสร้างตนเอง: สิทธิของสมาชิกนิคมมีลำดับก่อน แม้มีการครอบครองก่อนโดยผู้อื่น
ที่ดินตามฟ้อง เป็นที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ที่รัฐจัดสรรให้แก่สมาชิกนิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชร โดยมีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จำเลยจะอ้างว่าได้เข้าทำกินในที่ดินพิพาทเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ก็ตาม แต่ก็อยู่ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจะอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินนิคมสร้างตนเอง: การครอบครองและเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ตามพ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
ที่ดินตามฟ้อง เป็นที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 ที่รัฐจัดสรรให้แก่สมาชิกนิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชร โดยมีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จำเลยจะอ้างว่าได้เข้าทำกินในที่ดินพิพาทเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ก็ตาม แต่ก็อยู่ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจะอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375วรรคสองมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนเก่าขาดอายุความ ไม่เป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แม้ขาดงานเล็กน้อย
คำเตือนเรื่องขาดงานที่นายจ้างเคยตักเตือนลูกจ้างก่อนการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งเกิดเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างนานเกือบ 4 ปี ถือว่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรและสิ้นผลแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)