คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำนง นิยมวิภาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมคำขอเครื่องหมายการค้า: ไม่คืนได้แม้เพิกถอนทะเบียน
โจทก์ยื่นคำขอต่ออายุเครื่องหมายการค้าและคำขอจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อความที่ได้จดทะเบียนแล้ว พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการที่นายทะเบียนไม่ต่ออายุและจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อความให้ตามคำขอดังกล่าวเพราะได้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอเงินค่าธรรมเนียมที่ชำระไปคืนจากจำเลย เพราะตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6(พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ข้อ (9) และ (12) ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นค่าธรรมเนียมในการที่ยื่นคำขอ ทั้งไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องคืนแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอเครื่องหมายการค้า ไม่ต้องคืน แม้จะถูกเพิกถอน
โจทก์ยื่นคำขอต่ออายุเครื่องหมายการค้าและคำขอจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อความที่ได้จดทะเบียนแล้ว พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการที่นายทะเบียนไม่ต่ออายุและจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อความให้ตามคำขอดังกล่าวเพราะได้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอเงินค่าธรรมเนียมที่ชำระไปคืนจากจำเลย เพราะตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ข้อ (9) และ (12) ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นค่าธรรมเนียมในการที่ยื่นคำขอ ทั้งไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องคืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุมขังเพื่อเนรเทศผู้เคยมีสัญชาติไทยโดยการเกิดเป็นคุมขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การหลบหนีจึงไม่เป็นความผิด
จำเลยเคยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ต่อมาจำเลยถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จึงไม่อาจเนรเทศจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 มาตรา 5 วรรคสอง ดังนี้การที่เจ้าพนักงานคุมขังจำเลยไว้เพื่อการเนรเทศจึงเป็นการคุมขังไว้โดยไม่ชอบเมื่อจำเลยหลบหนีไประหว่างการคุมขังดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุมขังเพื่อเนรเทศผู้เคยได้สัญชาติไทยโดยการเกิดเป็นโมฆะ การหลบหนีจึงไม่เป็นความผิด
จำเลยเคยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ต่อมาจำเลยถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จึงไม่อาจเนรเทศจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 มาตรา 5 วรรคสอง ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานคุมขังจำเลยไว้เพื่อการเนรเทศจึงเป็นการคุมขังไว้โดยไม่ชอบ เมื่อจำเลยหลบหนีไประหว่างการคุมขังดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างมีสิทธิยกเหตุผลในคำให้การ แม้คำสั่งเลิกจ้างไม่ได้ระบุเหตุ
แม้คำสั่งเลิกจ้างโจทก์จะมิได้ระบุความผิดและสาเหตุการเลิกจ้างไว้ก็มิได้หมายความว่า โจทก์ไม่มีความผิดหรือไม่มีสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยก็ชอบที่จะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การได้ว่า การเลิกจ้างนั้นมาจากสาเหตุใด การที่จำเลยมิได้ระบุความผิดและอ้างระเบียบข้อบังคับไว้ในคำสั่งเลิกจ้างไม่เป็นเหตุให้การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำรายเดือนย่อมเป็นค่าจ้างของทุกวันตลอดทั้งเดือนซึ่งรวมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างมีสิทธิยกเหตุผลในคำให้การ แม้ไม่ได้ระบุในหนังสือเลิกจ้าง
แม้คำสั่งเลิกจ้างโจทก์จะมิได้ระบุความผิดและสาเหตุการเลิกจ้างไว้ ก็มิได้หมายความว่าโจทก์ไม่มีความผิดหรือไม่มีสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมจำเลยก็ชอบที่จะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การได้ว่า การเลิกจ้างนั้นมาจากสาเหตุใด การที่จำเลยมิได้ระบุความผิดและอ้างระเบียบข้อบังคับไว้ในคำสั่งเลิกจ้างไม่เป็นเหตุให้การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำรายเดือนย่อมเป็นค่าจ้างของทุกวันตลอดทั้งเดือนซึ่งรวมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างมีสิทธิยกเหตุผลในคำให้การได้ แม้คำสั่งเลิกจ้างไม่ได้ระบุเหตุ
แม้คำสั่งเลิกจ้างโจทก์จะมิได้ระบุความผิดและสาเหตุการเลิกจ้างไว้ก็มิได้หมายความว่า โจทก์ไม่มีความผิดหรือไม่มีสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยก็ชอบที่จะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การได้ว่า การเลิกจ้างนั้นมาจากสาเหตุใด การที่จำเลยมิได้ระบุความผิดและอ้างระเบียบข้อบังคับไว้ในคำสั่งเลิกจ้างไม่เป็นเหตุให้การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างประจำรายเดือนย่อมเป็นค่าจ้างของทุกวันตลอดทั้งเดือนซึ่งรวมทั้งวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพวาดจากการทำซ้ำเพื่อจำหน่าย แม้จะขายภาพต้นฉบับไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าขายลิขสิทธิ์ไปด้วย
โจทก์ร่วมขายภาพวาดสีน้ำมันขนาด 12 นิ้วฟุตคูณ 15 นิ้วฟุตอันเป็นงานจิตรกรรมซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ราคาเพียงภาพละ 300 บาท ให้ อ. และ ม. ดังนี้ เชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมขายภาพดังกล่าวเป็นภาพ ๆ ไป หาได้ขายลิขสิทธิ์ในภายให้ไปด้วยไม่ ถ้าโจทก์ร่วมอนุญาตให้นำภาพดังกล่าวไปพิมพ์ได้ก็จะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้ทำซ้ำซึ่งภาพวาดนั้นเป็นบัตรอวยพร ปีใหม่ออกจำหน่ายแก่ประชาชนโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วม จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิได้รับใบสำคัญการทำงาน แม้เป็นงานทดลอง
แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างซึ่งจำเลยรับเข้าทดลองทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราว ก็ถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงจำเลยต้องออกใบสำคัญการทำงานให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนในการคำนวณเงินบำเหน็จ และสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จมีอายุความ 10 ปี
นายจ้างจ่ายค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอน เป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนเช่นเดียวกับเงินเดือน เป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องนำค่าครองชีพมารวมเพื่อคำนวณในการจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์ตามข้อบังคับของนายจ้างด้วย
การที่ลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างยังไม่ครบถ้วนแม้จะไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้โต้แย้งคัดค้านการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินบำเหน็จในส่วนที่ยังขาดจากนายจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องให้นายจ้างชำระเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายขาดไปนั้นได้
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 191 ลูกจ้างฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นายจ้างจะยกข้อบังคับของนายจ้างขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จหาได้ไม่
เงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้างดังเช่นค่าชดเชย นายจ้างจะผิดนัดก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้ทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างรับผิดชำระเงินบำเหน็จเมื่อใด ลูกจ้างจึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 77