คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำนง นิยมวิภาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์ร่วม การครอบครองปรปักษ์ และผลของการคัดค้านการแบ่งแยกโฉนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีชื่อในโฉนดร่วมกับจำเลยและผู้มีชื่อตามที่ระบุไว้ในคำฟ้องโดยโจทก์ได้รับการยกให้จากมารดา และโจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทปรากฏเขตตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเป็นส่วนสัดมากกว่า 10 ปี จำเลยไม่ยอมแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครองให้โจทก์ดังนี้ เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายว่า โฉนดที่พิพาทมีชื่อโจทก์จำเลยล. และ ท. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่ในทางพิจารณาได้ความว่ามีชื่อ ร. ในโฉนดที่พิพาทด้วย ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาแตกต่างไปจากฟ้องเพราะ ร. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาทด้วยเป็นที่จำเลยได้รับมรดกที่พิพาทจากบิดามารดาเช่นเดียวกับจำเลยแต่บวชเป็นพระภิกษุ ไม่เคยครอบครองที่พิพาทและได้ยกกรรมสิทธิ์ส่วนของตนให้จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องแล้ว ดังนั้นจึงหาเกี่ยวกับที่พิพาทในส่วนที่โจทก์ได้รับการยกให้และครอบครองมากกว่า 10 ปีไม่จึงไม่ทำให้ฟ้องเสียไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยคัดค้านการแบ่งแยกโฉนดพิพาท ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การร้องเรียนเท็จและหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาเป็นเหตุเพียงพอต่อการเลิกจ้าง
การที่จะพิจารณาว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเป็นธรรมหรือไม่หากสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเกิดแต่ด้านลูกจ้าง พึงพิจารณาว่าลูกจ้างได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันใดหรือไม่ และการนั้น ๆเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นการเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ส่วนการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนลูกจ้างจะชอบหรือไม่ หรือคณะกรรมการสอบสวนมิได้ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอย่างใด หาเป็นข้อสำคัญที่จะทำให้การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ร้องเรียนกล่าวหาจำเลยที่ 2 ด้วยเรื่องอันเป็นเท็จ และเป็นการหมิ่นประมาทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลยที่1 ข้อ 60(6) การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้ จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางไม่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อที่ว่าการกระทำของโจทก์มิใช่เป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความยุติคดีแล้ว ห้ามเรียกร้องค่าเสียหายซ้ำซ้อนจากการเลิกจ้าง
โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมขอให้จ่ายค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าการที่โจทก์เลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีก ดังนี้ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากโจทก์อีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างของโจทก์แล้ว ไม่สมควรให้โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสีย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความกับการเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง: การชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อน
โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมขอให้จ่ายค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าการที่โจทก์เลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีก ดังนี้ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากโจทก์อีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างของโจทก์แล้ว ไม่สมควรให้โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความกับการเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง: การชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อน
โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมขอให้จ่ายค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าการที่โจทก์เลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและโจทก์จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีก ดังนี้ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากโจทก์อีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างของโจทก์แล้ว ไม่สมควรให้โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นคู่ความแทนผู้ตายหลังศาลอุทธรณ์รับคำอุทธรณ์: อำนาจศาลและการอนุญาต
ล. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษา ต่อมาจำเลยอุทธรณ์และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานกลางสั่งอนุญาตให้ ล.เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์หลังจากนั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำสั่งดังกล่าว แต่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ล. เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และโจทก์ถึงแก่กรรมจริง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ ล. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ถึงแก่กรรมหลังมีคำพิพากษา ศาลฎีกายกคำสั่งเดิมแต่อนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความได้
ล. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษา ต่อมาจำเลยอุทธรณ์และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานกลางสั่งอนุญาตให้ ล.เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์หลังจากนั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำสั่งดังกล่าว แต่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ล.เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และโจทก์ถึงแก่กรรมจริง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ ล. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นคู่ความแทนโจทก์หลังเสียชีวิต: ศาลฎีกายกคำสั่งเดิมแต่อนุญาตให้เป็นคู่ความแทนได้
ล. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษา ต่อมาจำเลยอุทธรณ์และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานกลางสั่งอนุญาตให้ ล.เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์หลังจากนั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำสั่งดังกล่าว แต่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ล. เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และโจทก์ถึงแก่กรรมจริง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ ล. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1782/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้จัดการมรดก: การพิจารณาความเป็นผู้สืบสกุลเจ้ามรดกจากบุตร
พินัยกรรมระบุเงื่อนไขของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกว่าต้องเป็นผู้ที่อยู่ในสกุลของเจ้ามรดก มารดาโจทก์เป็นบุตรเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1718/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและการฟ้องคดีอาญา การที่เช็คไม่สามารถเรียกเก็บได้ไม่ได้ทำให้สิทธิในการฟ้องคดีเดิมระงับ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์จำเลย ตกลงกันให้จำเลยใช้หนี้เพียงบางส่วน โดยส่วนหนึ่งจำเลยต้อง ชำระเป็นเงินสด 100,000 บาท แต่จำเลยกลับชำระเงินสดเพียง40,000 บาท กับออกเช็คเป็นเงิน 60,000 บาท ให้โจทก์และเช็คฉบับนี้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ แม้โจทก์ได้นำเช็คฉบับนี้ มาฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาอีกคดีหนึ่งก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุทำให้สิทธิ ในการฟ้องคดีแรกของโจทก์ระงับไปเพราะโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้สำหรับเช็ค 60,000 บาท ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน มูลหนี้ตามเช็คในคดีแรกยังคงมีอยู่
of 77