พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงเรียนเอกชนไม่ใช่กฎหมายคุ้มครองแรงงาน การฟ้องเลิกจ้างไม่จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน
พระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้าง หรือเพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับการจ้างหรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ แม้ใน พระราชบัญญัติ ดังกล่าวจะกำหนดการคุ้มครองการทำงานและการสงเคราะห์ครูใหญ่และครู หรือกำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงาน และการอุทธรณ์ก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่จะขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่และครูกับผู้รับอนุญาตหรือผู้จัดการแต่อย่างใด ดังนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นครูในโรงเรียนเอกชนฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกรณีถูกจำเลยเลิกจ้างจึงหาจำต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 แต่อย่างใดไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดเครื่องหมายการค้า จำเลยต้องมีความเกี่ยวข้องกับการผลิต/จำหน่ายโดยตรง หากเพียงรับรองคุณภาพ ไม่ต้องรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ผลิตและจำหน่ายสินค้าดังกล่าว และกลับปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับรองคุณภาพสินค้าที่จำเลยที่ 2 นำไปให้รับรองเท่านั้น โจทก์จึงนำสืบไม่สมฟ้องจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินบำเหน็จเพื่อชำระหนี้ของลูกจ้างต้องเป็นหนี้ที่ลูกจ้างไม่โต้แย้งและมีจำนวนแน่นอน
หนี้ที่ลูกจ้างมีข้อผูกพันจะต้องชำระให้นายจ้างตามข้อบังคับของนายจ้างจะต้องเป็นหนี้ที่ลูกจ้างมิได้โต้แย้งและจำนวนหนี้ต้องกำหนดไว้แน่นอน นายจ้างจึงจะมีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างได้ ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ลูกจ้างปฏิเสธและเป็นหนี้ที่อยู่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาล เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้ที่ลูกจ้างมีข้อผูกพันต้องชดใช้ให้นายจ้าง นายจ้างยังไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานทางสอบสวนที่ไม่สามารถยืนยันความจริงได้ต่อศาล จำเลยต้องมีพยานยืนยัน
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนอาจรับฟังประกอบได้แต่เพียงว่าพนักงานสอบสวนทำการสืบสวนสอบสวนได้ความอย่างไร แต่ความจริงจะเป็นอย่างที่สืบสวนสอบสวนได้ความหรือไม่ โจทก์ต้องมีพยานมาเบิกความยืนยันต่อศาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศต้องแสดงให้เห็นว่ากฎหมายของประเทศต้นทางคุ้มครองลิขสิทธิ์ของภาคีอื่นด้วย
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย แต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องเลยว่ากฎหมายของประเทศนั้นให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญาไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศต้องแสดงให้เห็นว่ากฎหมายต่างประเทศให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ของภาคีอื่นด้วย
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย แต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องเลยว่ากฎหมายของประเทศนั้นให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ไม่ชอบ กรณีใช้ความผิดวินัยที่ไม่เป็นความผิดของลูกจ้างเป็นเหตุ
การที่โจทก์ไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ประจำปีนั้นก็โดยจำเลยถือเอาเหตุที่โจทก์กระทำผิดวินัยและถูกลงโทษทางวินัยเป็นเหตุผลหนึ่งประกอบการพิจารณา เมื่อเหตุดังกล่าว ไม่อาจถือเป็นความผิดของโจทก์ การที่จำเลยนำไปประกอบการพิจารณาซึ่งเป็นโทษแก่โจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อตัดเหตุดังกล่าวออกแล้ว จำเลยยังมีเหตุอีกหลายประการในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี จึงจำเป็นต้องให้จำเลยพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีแก่โจทก์ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาต: ความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก และการสนับสนุนความผิด
จำเลยได้ประกอบการขนส่งประจำทาง โดยใช้รถยนต์นั่งซึ่งได้จดทะเบียนเข้าร่วมกิจการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกับห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ขนส่งคนและสิ่งของเพื่อสินจ้างในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาต โดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 23,126
การที่จำเลยนำรถเข้าร่วมกิจการขนส่งไม่ประจำทางกับห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. จะถือว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 40,138 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางเป็นตัวการผู้กระทำผิด จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในฐานเป็นผู้สนับสนุนได้.
การที่จำเลยนำรถเข้าร่วมกิจการขนส่งไม่ประจำทางกับห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. จะถือว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 40,138 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางเป็นตัวการผู้กระทำผิด จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในฐานเป็นผู้สนับสนุนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยได้ประกอบการขนส่งประจำทาง โดยใช้รถยนต์นั่งซึ่งได้จดทะเบียนเข้าร่วมกิจการประกอบการขนส่งไม่ประจำทางกับห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ขนส่งคนและสิ่งของเพื่อสินจ้างในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางได้รับอนุญาต โดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 23,126 การที่จำเลยนำรถเข้าร่วมกิจการขนส่งไม่ประจำทางกับห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. จะถือว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 40,138 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางเป็นตัวการผู้กระทำผิด จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513-1514/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ: สัญชาติไทยยึดตามสัญชาติบิดา ณ เวลาเกิด แม้บิดาถูกถอนสัญชาติภายหลัง
จำเลยเป็นบุตรของมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยด้วยกรณีของมารดาได้ ส่วนบิดาของจำเลยและจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรและจำเลยเกิดในขณะที่บิดาจำเลยมีสัญชาตไทย ดังนี้แม้ต่อมาในภายหลังบิดาจำเลยจะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จำเลยก็หาถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวด้วยไม่
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเกิดเมื่อใด ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้.
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเกิดเมื่อใด ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้.