คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำนง นิยมวิภาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีลูกจ้างไม่เข้าประชุม นายจ้างต้องลงโทษตามข้อบังคับเท่านั้น
ตามข้อบังคับในการปฏิบัติงานของห้างจำเลยระบุว่า ฝ่ายตรวจสอบ ต้องเข้าประชุมทุกเดือนตามแต่ทางห้างกำหนด.....ถ้าฝ่าฝืนจะถูก สั่งพักงานไม่น้อยกว่า 30 วัน ข้อบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็น ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิที่จะสั่งลงโทษพักงานโจทก์ได้ไม่น้อยกว่า 30 วัน การที่จำเลยลงโทษเลิกจ้างโจทก์เพราะไม่เข้าประชุม เป็นการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การที่โจทก์ไม่เข้าประชุมเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับในการปฏิบัติงานหรือคำสั่งของจำเลยซึ่งโจทก์เพียงแต่จะต้องถูกสั่งพักงานไม่น้อยกว่า 30 วันเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเป็นกรณี ร้ายแรงอันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่เป็นการจงใจขัดคำสั่งของ นายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นายจ้างต้องลงโทษตามข้อตกลงสภาพการจ้าง หากฝ่าฝืนต้องพักงานเท่านั้น เลิกจ้างไม่ได้
ตามข้อบังคับในการปฏิบัติงานของห้างจำเลยระบุว่า ฝ่ายตรวจสอบต้องเข้าประชุมทุกเดือนตามแต่ทางห้างกำหนด?. ถ้าฝ่าฝืนจะถูกสั่งพักงานไม่น้อยกว่า 30 วัน ข้อบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิที่จะสั่งลงโทษพักงานโจทก์ได้ไม่น้อยกว่า 30 วัน การที่จำเลยลงโทษเลิกจ้างโจทก์เพราะไม่เข้าประชุม เป็นการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่โจทก์ไม่เข้าประชุมเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับในการปฏิบัติงานหรือคำสั่งของจำเลยซึ่งโจทก์เพียงแต่จะต้องถูกสั่งพักงานไม่น้อยกว่า 30 วันเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการฝ่ายื่นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง อันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่เป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล & การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การพิจารณาความคล้ายคลึงและเจตนาเลียนแบบ
หนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้มีหนังสือซึ่งโนตารีปับลิก แห่งเมืองที่โจทก์มีภูมิลำเนาลงนามรับรองว่า บริษัทโจทก์ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศนั้นและผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งเป็นหัวหน้าเสมียนของบริษัทโจทก์ได้ลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัทโจทก์โดยคำสั่งของคณะกรรมการด้วยความสมัครใจและเป็นการกระทำเพื่อบริษัทโจทก์ทุกประการ ทั้งยังมีคำรับรองลายมือชื่อโนตารีปับลิก จากประธานศาลและคำรับรองลายมือชื่อของประธานศาลดังกล่าวจากสถานกงสุลใหญ่ของประเทศไทยในประเทศนั้นต่อท้ายอีกด้วย เมื่อจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "Adidas"อ่านออกเสียงว่า อะดีดาส ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "Adidang" อ่านออกเสียงว่า อดีดังรูปลักษณ์และลีลาการเขียนของตัวอักษรและการออกสำเนียงเรียกขาน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: หลักฐานหนังสือมอบอำนาจจากต่างประเทศที่ถูกต้อง และการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
หนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้มีหนังสือซึ่งโนตารีปับลิกแห่งเมืองที่โจทก์มีภูมิลำเนาลงนามรับรองว่า บริษัทโจทก์ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศนั้นและผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งเป็นหัวหน้าเสมียนของบริษัทโจทก์ได้ลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัทโจทก์โดยคำสั่งของคณะกรรมการด้วยความสมัครใจและเป็นการกระทำเพื่อบริษัทโจทก์ทุกประการ ทั้งยังมีคำรับรองลายมือชื่อโนตารีปับลิกจากประธานศาล และคำรับรองลายมือชื่อของประธานศาลดังกล่าวจากสถานกงสุลใหญ่ของประเทศไทยในประเทศนั้นต่อท้ายอีกด้วย เมื่อจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "Adidas" อ่านออกเสียงว่า อะดีดาส ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "Adidang" อ่านออกเสียงว่า อะดีดัง รูปลักษณ์และลีลาการเขียนของตัวอักษรและการออกสำเนียงเรียกขาน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน: ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจริบได้ แม้ประกาศฯ ไม่มีบทบัญญัติโดยตรง
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ไม่มีบทบัญญัติให้ริบรถยนต์ซึ่งบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะแต่เมื่อถือว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำเอามาตรา 33 มาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 การสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เป็นดุลพินิจศาลหยิบยกพฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปประกอบคำฟ้องและคำให้การรับสารภาพของจำเลยเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจในการสั่งริบของกลางนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อบอกเลิกแล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่ได้ทันที แม้จำเลยยังชำระค่าเช่าซื้อ
เมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อผิดสัญญาค้างชำระค่าเช่าซื้อและโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไป แม้ภายหลังจำเลยไม่ออกจากอาคารที่เช่าซื้อและส่งเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระกับยังคงชำระค่าเช่าซื้อรายเดือนต่อไปอีก ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยินยอมให้สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันกันต่อไปตามเดิม โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่าซื้อได้ทันทีโดยไม่จำต้องบอกกล่าวแก่จำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดไม่รวมคำนวณค่าชดเชย เพราะไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมาย
เงินค่าล่วงเวลา และเงินค่าทำงานในวันหยุดนั้น มิใช่ค่าจ้างเพราะมิใช่เงินหรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติของวันทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ฉะนั้นเงินค่าล่วงเวลาและเงินค่าทำงานในวันหยุดจึงมิใช่ค่าจ้างที่จะนำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดี: การคัดค้านราคาต่ำต้องแสดงหลักฐานราคาที่แท้จริงและผู้เสนอซื้อจริง
เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไม่ได้ทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษา และมีบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาโดยชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่ามีผู้สู้ราคาสูงกว่าราคาที่ประเมินไว้ก็รายงานต่อศาลเพื่อพิจารณาว่าสมควรตกลงขายให้ผู้สู้ราคาสูงสุดหรือไม่เมื่อไม่มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าการประมูลซื้อทรัพย์เป็นการสมรู้กันกดราคาซื้อ ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ขายแก่ผู้สู้ราคาสูงสุด ต้องถือว่าการขายทอดตลาดสมบูรณ์แล้วจำเลยจะขอให้งดการขายหรือยกเลิกการขายหรือรื้อฟื้นให้ศาลสั่งขายทอดตลาดใหม่ โดยแสดงราคาประเมินทรัพย์ที่ขายทอดตลาดของทางราชการว่ามีราคาสูงกว่าราคาที่ขายทอดตลาด หรือแสดงบันทึกคำมั่นของผู้มีชื่อว่าจะซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาที่ขายทอดตลาดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดี: การประมูลที่ชอบด้วยกฎหมายและหลักฐานการกดราคา
เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไม่ได้ทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษา และมีบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาโดยชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่ามีผู้สู้ราคาสูงกว่าราคาที่ประเมินไว้ก็รายงานต่อศาลเพื่อพิจารณาว่าสมควรตกลงขายให้ผู้สู้ราคาสูงสุดหรือไม่ เมื่อไม่มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าการประมูลซื้อทรัพย์เป็นการสมรู้กันกดราคาซื้อ ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ขายแก่ผู้สู้ราคาสูงสุด ต้องถือว่าการขายทอดตลาดสมบูรณ์แล้ว จำเลยจะขอให้งดการขายหรือยกเลิกการขายหรือรื้อฟื้นให้ศาลสั่งขายทอดตลาดใหม่ โดยแสดงราคาประเมินทรัพย์ที่ขายทอดตลาดของทางราชการว่ามีราคาสูงกว่าราคาที่ขายทอดตลาด หรือแสดงบันทึกคำมั่นของผู้มีชื่อว่าจะซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาที่ขายทอดตลาดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีสัญญาจ้างแรงงาน: การฟ้องผิดสัญญาจ้าง vs. มูลละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลให้พนักงานการเงินนำค่าโดยสารเก็บเข้าตู้เซฟ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลพนักงานการเงินแทนจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 มิได้มาปฏิบัติหน้าที่ จำเลยทั้งสองไม่ได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นเหตุให้พนักงานการเงินยักยอกเงินค่าโดยสารของโจทก์ไป ทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองบกพร่องต่อหน้าที่อันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานในการควบคุมดูแลพนักงานการเงิน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาปรับแก่คดีไม่ได้
of 77