คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2511

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนสมาชิกภาพต้องมีเหตุผลอันสมควร การกระทำที่ไม่สามารถควบคุมการฟ้องคดีของผู้อื่นไม่ถือเป็นเหตุให้ถอดถอนได้
โจทก์ที่ 1 เป็นสมาชิกและคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยการที่โจทก์ที่ 1 ทำหนังสือยอมรับมติของคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยในการเลิกจ้างนางสาว ก. และรับว่าจะไม่มีปัญหาใด ๆทางกฎหมายอีกนั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์ที่ 1 กับคณะกรรมการดำเนินการของจำเลย การที่นางสาว ก. ฟ้องจำเลยในเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเรียกค่าเสียหายนั้นก็เป็นสิทธิส่วนตัวของนางสาว ก. โจทก์ไม่มีอำนาจบังคับนางสาว ก. มิให้ฟ้องคดีการที่นางสาว ก. ฟ้องจำเลยยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 แสดงตนเป็นปรปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต่อจำเลยหรือทำให้จำเลยได้รับความเสียหายมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการจำเลยที่ให้ถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าหุ้นสหกรณ์: สิทธิเรียกร้องของสมาชิก vs. อำนาจบังคับคดีเจ้าหนี้
ระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นระเบียบบริหารงานภายในระหว่างสมาชิกเอง ตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ฯ มาตรา 4 ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกเช่นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมีอำนาจอายัดเงินค่าหุ้นในสหกรณ์ของจำเลย การไต่สวนคำร้อง (ในชั้นบังคับคดี) เป็นดุลพินิจของศาลว่าคำร้องฉบับใดมีความจำเป็นจะต้องไต่สวนพยานหลักฐานของผู้ร้องหรือไม่ หากศาลเห็นว่าแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของผู้ร้อง ตามคำร้อง ก็ไม่เป็นเหตุที่ผู้ร้องจะยกขึ้นมากล่าวอ้างได้ ศาลจึงไม่มีความจำเป็นต้องไต่สวนอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5817/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันจำกัดตามสัญญา แม้มีการยักยอกเงิน และอายุความฟ้องคดี
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 9 บัญญัติว่า"ถ้าสหกรณ์เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสำหรับการได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วงซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนเช่นว่านั้นให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม" สัญญาค้ำประกันมิได้มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนจึงเป็นนิติกรรมธรรมดา แม้สหกรณ์โจทก์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับการยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
แม้สัญญาค้ำประกันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ แต่ผู้ค้ำประกันยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันโดยไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐาน ส่วนการที่จะให้ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกันนั้น ย่อมต้องอาศัยหนังสือสัญญาค้ำประกันมาเป็นพยานหลักฐานอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดเต็มตามจำนวนที่ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ แล้วทำเรื่องราวขอกู้เงินฉุกเฉินจากโจทก์ในนามของสมาชิกดังกล่าวรวมหลายคราวเป็นเงิน 728,070 บาทซึ่งโจทก์หลงเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของสมาชิกจริงจึงอนุมัติจ่ายให้ไป คำฟ้องของโจทก์ชัดแจ้งพอเพียงแล้ว จำเลยที่ 1 จะปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ด้วยวิธีใด หลักฐานการปลอมแปลงมีหรือไม่และมีการตรวจสอบไปแล้วเพียงใดเป็นเรื่องรายละเอียด ไม่จำต้องบรรยายมา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ยักยอกคืน และฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: หุ้นสหกรณ์เป็นทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดีได้ แม้มีข้อจำกัดการโอนหุ้น
ทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285,286 เมื่อหุ้นของสหกรณ์ออมทรัพย์ผู้ร้องที่จำเลยที่ 1 ถืออยู่มิได้อยู่ในบทบัญญัติข้อยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าวจึงต้องอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี สำหรับเงินค่าหุ้นนั้น แม้จะเป็นเงินทุนของผู้ร้องตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 และข้อบังคับของผู้ร้องก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ส่วนข้อบังคับของผู้ร้องเกี่ยวกับการหักหรือคืนเงินค่าหุ้นตลอดจนกำหนดว่าสมาชิกของผู้ร้องจะขาย โอน ถอนหุ้นดังกล่าวระหว่างเป็นสมาชิกไม่ได้นั้น ก็เป็นเรื่องภายในระหว่างสมาชิกผู้ร้องเอง มิใช่กฎหมายหามีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีอายัดเงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจที่ประชุมใหญ่สหกรณ์ในการกำหนดหลักเกณฑ์จ่ายโบนัส: สิทธิและขอบเขตตามกฎหมายและข้อบังคับ
ตาม พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 กับข้อบังคับของชุมนุมสหกรณ์ แสดงว่าที่ประชุมใหญ่ของจำเลยมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดหลักเกณฑ์ในการ จ่ายเงินโบนัสได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้น การที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติอนุมัติตามข้อเสนอของคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยให้จ่ายโบนัสแก่พนักงานโดยมีหลักเกณฑ์ว่าต้องมีตัวอยู่กับจำเลยในวันที่ที่ประชุมอนุมัตินั้น จึงอยู่ในอำนาจที่จะกระทำได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเสียงมติขับสมาชิกสหกรณ์: จำนวนกรรมการที่ประชุมและคะแนนเสียงสองในสาม
เดิมกรรมการดำเนินการสหกรณ์มี 10 คน แม้ต่อมาจะเหลืออยู่ 8 คน ก็ยังประชุมดำเนินกิจการต่อไปได้เมื่อกรรมการดำเนินการที่มาประชุม 6 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ให้โจทก์ออกจากสมาชิกสหกรณ์ ถือได้ว่ามีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามตามข้อบังคับข้อ 11 มติดังกล่าวจึงชอบด้วยข้อบังคับแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของมติกรรมการสหกรณ์สั่งให้สมาชิกออก และผลของการไม่รับอุทธรณ์ในประเด็นโบนัส
มติกรรมการตามข้อบังคับสหกรณ์ให้สมาชิกออกจากสหกรณ์มตินี้มีผลบังคับทันที ไม่ใช่นับแต่แจ้งมติให้สมาชิกทราบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินปันผลแก่โจทก์ 767 บาทกับดอกเบี้ย โจทก์จำเลยอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์โจทก์ แม้โจทก์แก้อุทธรณ์ของจำเลยไว้ขอให้จ่ายเงินโบนัสแก่โจทก์ด้วย คำขอเช่นนี้ต้องทำเป็นอุทธรณ์ ทำในรูปแก้อุทธรณ์ไม่ได้ ไม่เป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะพึงวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบรวมสหกรณ์และการสืบสิทธิหนี้: สิทธิเจ้าหนี้เป็นไปตามกฎหมายสหกรณ์ ไม่ใช่การโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
เมื่อได้ควบสหกรณ์เข้ากันเป็นสหกรณ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2511 โดยถูกต้องแล้ว สหกรณ์ใหม่ย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิและความรับผิดของสหกรณ์เดิมที่ได้ควบเข้ากันทั้งสิ้น สหกรณ์ใหม่ (โจทก์)ไม่จำต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้สหกรณ์เดิมทราบถึงการควบสหกรณ์เข้าด้วยกันและย่อมได้ไปซึ่งสิทธิเป็นเจ้าหนี้ กรณีหาใช่เป็นการโอนหนี้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451-2452/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคลและการมอบอำนาจดำเนินคดีตามข้อบังคับสหกรณ์
โจทก์ที่ 1 เป็นสหกรณ์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการดำเนินงานเป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนเมื่อคณะกรรมการดำเนินงานได้มีมติตามข้อบังคับของโจทก์ที่ 1มอบหมายให้กรรมการ 2 นายเป็นผู้ดำเนินคดีกับจำเลยแทนโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 1 โดยกรรมการ 2 นายนั้นก็ฟ้องจำเลยได้ หาเป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 801(5) ไม่
โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 จัดซื้อข้าวโพดคนเดียวจำเลยที่ 2 เข้าไปร่วมซื้อข้าวโพดกับจำเลยที่ 1 เองโดยไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับโจทก์ที่ 1 ในเรื่องที่ขอรับเงินทดรองไปซื้อข้าวโพดส่งไปเหมือนกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าวโพดส่งไปจากโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451-2452/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสหกรณ์และการมอบอำนาจให้กรรมการดำเนินคดีแทน
โจทก์ที่ 1 เป็นสหกรณ์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการดำเนินงานเป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนเมื่อ คณะกรรมการดำเนินงานได้มีมติตามข้อบังคับของโจทก์ที่ 1 มอบหมายให้กรรมการ 2 นายเป็นผู้ดำเนินคดีกับจำเลยแทนโจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 1 โดยกรรมการ 2 นายนั้นก็ฟ้องจำเลยได้ หาเป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 801(5) ไม่
โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 จัดซื้อข้าวโพดคนเดียวจำเลยที่ 2 เข้าไปร่วมซื้อข้าวโพดกับจำเลยที่ 1 เองโดยไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับโจทก์ที่ 1 ในเรื่องที่ขอรับเงินทดรองไปซื้อข้าวโพดส่งไปเหมือนกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าวโพดส่งไปจากโจทก์ที่ 1
of 2