พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าประทานบัตรโมฆะ: การรับช่วงทำเหมืองต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตาม พ.ร.บ.แร่
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรให้โจทก์เช่าประทานบัตรเพื่อผลิตหินแกรนิต เป็นการให้โจทก์รับช่วงการทำเหมืองตามที่พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510มาตรา 76 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามไว้นั่นเอง เพียงแต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามการรับช่วงการทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายอนุญาต ก็รับช่วงการทำเหมืองได้
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าประทานบัตรโดยโจทก์เป็นผู้ผลิตหินแกรนิตแล้วให้จำเลยที่ 1 ผู้ถือประทานบัตรติดต่อขอใบอนุญาตขนแร่จากทรัพยากรธรณีจังหวัด เพื่อโจทก์จะได้นำหินแกรนิตที่ผลิตได้ออกจำหน่าย แสดงว่าโจทก์ทราบแล้วว่าตนไม่มีสิทธิขนแร่ได้เองเสมือนเป็นผู้ถือบัตรประทานบัตรเพราะโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับช่วงการทำเหมืองตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 มาตรา 77 ทั้งมีเจตนาฝ่าฝืนบทห้ามของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ซึ่งได้กำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้ถือประทานบัตรไว้ในมาตรา 140 นอกจากนี้มาตรา 75ว่า ประทานบัตรให้ใช้ได้เฉพาะตัวผู้ถือประทานบัตรด้วยประสงค์ให้ผู้ถือประทานบัตรดำเนินการตามประทานบัตรเองการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์เช่าประทานบัตรโดยไม่ยื่นขออนุญาต จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าประทานบัตรโดยโจทก์เป็นผู้ผลิตหินแกรนิตแล้วให้จำเลยที่ 1 ผู้ถือประทานบัตรติดต่อขอใบอนุญาตขนแร่จากทรัพยากรธรณีจังหวัด เพื่อโจทก์จะได้นำหินแกรนิตที่ผลิตได้ออกจำหน่าย แสดงว่าโจทก์ทราบแล้วว่าตนไม่มีสิทธิขนแร่ได้เองเสมือนเป็นผู้ถือบัตรประทานบัตรเพราะโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับช่วงการทำเหมืองตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 มาตรา 77 ทั้งมีเจตนาฝ่าฝืนบทห้ามของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ซึ่งได้กำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้ถือประทานบัตรไว้ในมาตรา 140 นอกจากนี้มาตรา 75ว่า ประทานบัตรให้ใช้ได้เฉพาะตัวผู้ถือประทานบัตรด้วยประสงค์ให้ผู้ถือประทานบัตรดำเนินการตามประทานบัตรเองการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์เช่าประทานบัตรโดยไม่ยื่นขออนุญาต จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงทำเหมือง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาเกิดขึ้นได้ หากยังไม่ได้รับคำสั่งไม่อนุญาตจากรัฐมนตรี
ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมือง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย และให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองให้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงมิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาด หากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้วและมีผลใช้บังคับ ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้น แม้โจทก์จะมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตามก็เป็นเพียงเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการเช่าช่วงทำเหมืองพิพาทสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยก็มีผลผูกพันให้คู่สัญญาไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตรับช่วงทำเหมืองพิพาทตามกฎหมายต่อไป การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหินและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6กรกฎาคม 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงทำเหมือง: สัญญาผูกพันจนกว่ารัฐมนตรีไม่อนุญาต และอายุความฟ้องละเมิดสัญญา
ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมือง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย และให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองให้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงมิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาด หากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้วและมีผลใช้บังคับ ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้น แม้โจทก์จะมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตามก็เป็นเพียงเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการเช่าช่วงทำเหมืองพิพาท สัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยก็มีผลผูกพันให้คู่สัญญาไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตรับช่วงทำเหมืองพิพาทตามกฎหมายต่อไป
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหิน และขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหิน และขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงทำเหมือง: การใช้สิทธิเลิกสัญญาที่ไม่สุจริตและการชดใช้ค่าเสียหาย
พระราชบัญญัติแร่ฯ มาตรา 76 และ 77 มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้สัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับตั้งแต่ที่โจทก์จำเลยตกลงกัน ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้นหาใช่สัญญายังไม่เกิดเพราะยังไม่ได้รับคำสั่งอนุญาตจากรัฐมนตรีไม่ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหินและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามแต่ก็เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำเหมืองเป็นของผู้ถือประทานบัตร การมอบอำนาจเป็นเพียงตัวแทน ไม่ใช่การโอนสิทธิ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ช. เป็นผู้ถือประทานบัตร จึงเป็นผู้มีสิทธิทำเหมืองตามประทานบัตร การที่ ช. ทำหนังสือมอบอำนาจตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทน มีอำนาจทำการแทนในการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตราพระราชบัญญัติแร่ ในกิจการที่ระบุไว้ เป็นเพียงการตั้งตัวแทนเพื่อติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น สิทธิทำเหมืองแร่ยังเป็นของ ช. ส่วนกาที่ ช. ทำสัญญารับเงินค่าตอบแทนแล้วมอบให้โจทก์มีอำนาจดำเนินการขุดแร่ ขายแร่ ได้ตามอายุประทานบัตรแต่ผู้เดียว โดยให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิและใช้สิทธิของตนได้โดยพลการนั้น มิใช่การโอนประทานบัตรแต่เป็นการให้โจทก์รับช่วงการทำเหมือง เมื่อมิได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย ตามความในมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 โจทก์จึงหามีสิทธิทำเหมืองเสมือนผู้ถือประทานบัตรตามที่บัญญัติในบทมาตรานี้ไม่ สิทธิทำเหมืองยังเป็นของ ช. ผู้เดียว ที่โจทก์เข้าทำเหมืองเป็นเพียงเข้าทำโดยอาศัยสิทธิของ ช. หากมีการโต้แย้งขัดขวางสิทธิในการทำเหมืองก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของ ช. หาใช่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่ แม้โจทก์จะอ้างว่าการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับ ช.ข้างต้านระบุให้โจทก์เป็นตัวแทนมีสิทธิได้รับบำเหน็จ แต่ก็ปรากฏว่าจำเลยแจ้งให้ ช. ระงับการทำเหมืองตามประทานบัตรไว้กับแจ้งให้ ช. ส่งประทานบัตรคืน จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากการทำเหมืองตามสัญญาดังกล่าว การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อสิทธิทำเหมืองตามประทานบัตรอันเป็นสิทธิของ ช. มิได้กระทำต่อสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จของโจทก์ดังโจทก์อ้าง จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของโจทก์ ส่วนการที่นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิบัติราชการให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายจากรัฐบาลเนื่องจากทางการเพิกถอนประทานบัตรของ ช. แล้ว คำสั่งของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวก็เป็นคำสั่งในทางบริหาร ไม่ใช่กฎหมาย ศาลจึงจะยกมาวินิจฉัยว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และโจทก์มีอำนาจฟ้องมิได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำเหมือง: การมอบอำนาจและการรับช่วงทำเหมือง ไม่ใช่การโอนประทานบัตร ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
ช. เป็นผู้ถือประทานบัตร จึงเป็นผู้มีสิทธิทำเหมืองตามประทานบัตรการที่ ช. ทำหนังสือมอบอำนาจตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทน มีอำนาจทำการแทนในการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติแร่ ในกิจการที่ระบุไว้ เป็นเพียงการตั้งตัวแทนเพื่อติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น สิทธิทำเหมืองแร่ยังเป็นของ ช. ส่วนการที่ ช. ทำสัญญารับเงินค่าตอบแทนแล้วมอบให้โจทก์มีอำนาจดำเนินการขุดแร่ ขายแร่ได้ตามอายุประทานบัตรแต่ผู้เดียว โดยให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิและใช้สิทธิของตนได้โดยพลการนั้น มิใช่การโอนประทานบัตร แต่เป็นการให้โจทก์รับช่วงการทำเหมือง เมื่อมิได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย ตามความในมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 โจทก์จึงหามีสิทธิทำเหมืองเสมือนผู้ถือประทานบัตรตามที่บัญญัติในบทมาตรานี้ไม่สิทธิทำเหมืองยังเป็นของ ช. ผู้เดียว ที่โจทก์เข้าทำเหมืองเป็นเพียงเข้าทำโดยอาศัยสิทธิของ ช. หากมีการโต้แย้งขัดขวางสิทธิในการทำเหมืองก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของ ช. หาใช่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่ แม้โจทก์จะอ้างว่าการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับ ช. ข้างต้น ระบุให้โจทก์เป็นตัวแทนมีสิทธิได้รับบำเหน็จ แต่ก็ปรากฏว่าจำเลยแจ้งให้ ช. ระงับการทำเหมืองตามประทานบัตรไว้กับแจ้งให้ ช. ส่งประทานบัตรคืน จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากการทำเหมืองตามสัญญาดังกล่าว การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อสิทธิทำเหมืองตามประทานบัตรอันเป็นสิทธิของ ช. มิได้กระทำต่อสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จของโจทก์ดังโจทก์อ้าง จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของโจทก์ ส่วนการที่นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิบัติราชการให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายจากรัฐบาลเนื่องจากทางการเพิกถอนประทานบัตรของ ช. แล้ว คำสั่งของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวก็เป็นคำสั่งในทางบริหารไม่ใช่กฎหมาย ศาลจึงจะยกมาวินิจฉัยว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และโจทก์มีอำนาจฟ้องมิได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากการขายแร่เป็นเงินได้พึงประเมิน
ประมวลรัษฎากรมิได้นิยามคำว่า "ทรัพย์สิน" ไว้ คำว่าทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิ์ทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิ์ดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง และโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับ ฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5) (ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 5(1) (จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(32)
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิ์ทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิ์ดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง และโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับ ฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5) (ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 5(1) (จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(32)
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2855/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าประทานบัตรเหมืองแร่ถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน เงินได้จากการขายแร่เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากรมิได้นิยามคำว่า "ทรัพย์สิน"ไว้ คำว่าทรัพย์สินตามประมวลรัษฎากรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งและโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตาม พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5)(ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 5(1)(จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(32)(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)
การที่โจทก์ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุกนั้น ทำให้โจทก์มีสิทธิทำเหมืองหรือขุดหาแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประทานบัตรนั้น สิทธิดังกล่าวตามประทานบัตรของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งและโจทก์สามารถให้เช่าได้
การที่โจทก์ให้ ฟ. ผลิตแร่ดีบุกในที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์มีกำหนด 3 ปี เป็นสัญญาที่โจทก์ตกลงให้ ฟ. ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากประทานบัตรอันเป็นทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และการที่ ฟ. ตกลงแบ่งแร่ดีบุกที่ผลิตได้แต่ละเดือนให้โจทก์ ถือว่า ฟ. ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างโจทก์กับฟ. จึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โดยไม่คำนึงว่าจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายตาม พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 หรือไม่
เมื่อ ฟ. แบ่งแร่ดีบุกให้โจทก์ตามที่ตกลงกันและโจทก์ขายแร่ดีบุกดังกล่าวไป เงินที่ได้จากการขายแร่ดีบุกดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5)(ก) คือเงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 5(1)(จ) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 มิใช่เป็นเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ซึ่งให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 90 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(32)(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761-2764/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงทำเหมืองและสิทธิในที่ดิน: สัญญาเช่าประทานบัตร มิใช่การโอนประทานบัตร แต่เป็นการรับช่วงที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้ทำกันไว้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2509 สรุปความได้ว่า ที่ดินตามสัญญาที่ได้รับประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1 คงเป็นผู้ถือประทานบัตรอยู่ ที่ดินที่ยังไม่ได้รับประทานบัตร เป็นหน้าที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้ได้ประทานบัตร แต่เงินค่าธรรมเนียมต่างๆที่จะต้องเสีย โจทก์เป็นคนออก และโจทก์เป็นผู้ทำเหมืองแร่ในที่ดินที่ได้ประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1จะได้รับผลประโยชน์ซึ่งเรียกว่าค่าเช่าร้อยละสามของแร่ที่ทำได้สัญญามีผลบังคับตลอดไปจนกว่าโจทก์จะขุดแร่หมดเนื้อที่ข้อสัญญาดังนี้ ไม่ใช่การโอนประทานบัตรตามความในมาตรา 45แห่งพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461. เพราะจำเลยที่ 1ยังเป็นผู้ถือประทานบัตร มีนิติสัมพันธ์กับทางราชการอยู่ โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าทำเหมืองแร่โดยอาศัยประทานบัตรของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หากแต่เป็นการรับช่วงเข้ามาทำเหมือง ซึ่งไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญากัน แต่พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 นี้ ต่อมาได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ซึ่งมีมาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตร ยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมืองเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายและให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองได้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาต ก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้น การชำระหนี้ตามสัญญารายนี้ จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาท เว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเองฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาท เว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเองฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761-2764/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ การรับช่วงทำเหมือง และสิทธิครอบครองที่ดิน
สัญญาเช่าประทานบัตรทำเหมืองแร่ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้ทำกันไว้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2509 สรุปความได้ว่าที่ดินตามสัญญาที่ได้รับประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1คงเป็นผู้ถือประทานบัตรอยู่ ที่ดินที่ยังไม่ได้รับประทานบัตรเป็นหน้าที่จำเลยที่ 1 จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้ได้ประทานบัตรแต่เงินค่าธรรมเนียมต่างๆที่จะต้องเสีย โจทก์เป็นคนออก และโจทก์เป็นผู้ทำเหมืองแร่ในที่ดินที่ได้ประทานบัตรแล้ว จำเลยที่ 1จะได้รับผลประโยชน์ซึ่งเรียกว่าค่าเช่าร้อยละสามของแร่ที่ทำได้สัญญามีผลบังคับตลอดไปจนกว่าโจทก์จะขุดแร่หมดเนื้อที่ข้อสัญญาดังนี้ ไม่ใช่การโอนประทานบัตรตามความในมาตรา 45แห่งพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 เพราะจำเลยที่ 1ยังเป็นผู้ถือประทานบัตร มีนิติสัมพันธ์กับทางราชการอยู่ โจทก์เป็นเพียงผู้เข้าทำเหมืองแร่โดยอาศัยประทานบัตรของจำเลยที่ 1 เท่านั้นหากแต่เป็นการรับช่วงเข้ามาทำเหมือง ซึ่งไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญากัน แต่พระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 นี้ ต่อมาได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510ซึ่งมีมาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมืองเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายและให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย เป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองได้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาต ก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นการชำระหนี้ตามสัญญารายนี้ จึงไม่เป็นการพ้นวิสัย(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาทเว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเอง ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว
จำเลยที่ 2 ได้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนจำเลยที่ 1จะได้ประทานบัตร จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหาแร่ในที่พิพาทเว้นแต่ จะได้ทำความตกลงกับจำเลยที่ 2 เสียก่อนตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 74แม้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จะได้ทำข้อตกลงกันไว้ตามเอกสาร ล.1 แต่ก็ยังมิได้กำหนดและชดใช้ราคาทรัพย์สินในที่พิพาทกัน จำเลยที่ 1 ยังฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ไม่ได้โจทก์ผู้รับช่วงการทำเหมืองจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าทำเหมืองความประสงค์ของโจทก์ก็คือ ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ได้เข้าทำเหมืองแร่นั่นเอง ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการตรงตามคำขอของโจทก์อยู่แล้ว