พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ: การวินิจฉัยความถูกต้องและผลบังคับใช้
แม้เอกสารหมาย ค.4 จะมีข้อความบางตอนเป็นตัวพิมพ์ โดยตอนบนตรงกลางมีหัวข้อพิมพ์ว่าหนังสือพินัยกรรม จากนั้นมีการพิมพ์ตัวหนังสือแล้วเว้นช่องว่างให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนหรือกรอกข้อความเกี่ยวกับสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ชื่อ ที่อยู่ของผู้ทำพินัยกรรม และความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สิน ซึ่งตามเอกสารปรากฏว่าผู้ตายได้เขียนรายละเอียดดังกล่าวด้วยลายมือ จากนั้นตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์สรุปได้ว่า ผู้ตายได้พิมพ์ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ โดยได้อ่านเข้าใจข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ทั้งหมดเห็นว่าถูกต้องตามเจตนาทุกประการ โดยไม่มีผู้ใดข่มขู่ จึงได้เขียนข้อความที่เป็นตัวกลางลงในหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ด้วยตนเองขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ตายสมัครใจทำหนังสือนี้เอง ปราศจากบุคคลอื่นใดข่มขู่ หรือทำโดยสำคัญผิด หรือถูกฉ้อฉลแต่อย่างใด โดยได้ทำหนังสือพินัยกรรมนี้ขึ้นไว้ 4 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันและเก็บรักษาไว้ที่ผู้คัดค้าน และมีลายมือชื่อผู้ตายลงไว้ในช่องที่พิมพ์ว่า ผู้ทำพินัยกรรม และผู้พิมพ์/ผู้เขียน เอกสารหมาย ค.4 จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งสุดท้ายที่ผู้ตายแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้โดยต้องการยกให้แก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ อันจะเกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 จึงเป็นพินัยกรรมและเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ: การพิจารณาความถูกต้องและผลบังคับใช้
แม้เอกสารหมาย ค.4 จะมีข้อความบางตอนเป็นตัวพิมพ์ โดยตอนบนตรงกลางมีหัวข้อพิมพ์ว่า หนังสือพินัยกรรม จากนั้นมีการพิมพ์ตัวหนังสือแล้วเว้นช่องว่างให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนหรือกรอกข้อความเกี่ยวกับสถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ชื่อ ที่อยู่ของผู้ทำพินัยกรรม และความประสงค์ในการจัดการทรัพย์สิน ซึ่งตามเอกสารปรากฏว่าผู้ตายได้เขียนรายละเอียดดังกล่าวด้วยลายมือ จากนั้นตอนท้ายมีข้อความพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์สรุปได้ว่า ผู้ตายได้พิมพ์ข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ โดยได้อ่านเข้าใจข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ทั้งหมดเห็นว่าถูกต้องตามเจตนาทุกประการ โดยไม่มีผู้ใดข่มขู่ จึงได้เขียนข้อความที่เป็นตัวกลางลงในหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ด้วยตนเองขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ตายสมัครใจทำหนังสือนี้เอง ปราศจากบุคคลอื่นใดข่มขู่ หรือทำโดยสำคัญผิด หรือถูกฉ้อฉลแต่อย่างใด โดยได้ทำหนังสือพินัยกรรมนี้ขึ้นไว้ 4 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันและเก็บรักษาไว้ที่ผู้คัดค้าน และมีลายมือชื่อผู้ตายลงไว้ในช่องที่พิมพ์ว่า ผู้ทำพินัยกรรม และผู้พิมพ์/ผู้เขียน เอกสารหมาย ค.4 จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งสุดท้ายที่ผู้ตายแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตาย ในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้โดยต้องการยกให้แก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ อันจะเกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 และ 1647 จึงเป็นพินัยกรรมและเข้าลักษณะเป็นพินัยกรรม แบบเอกสารเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่สัญญา แม้มีการฟ้องแย้งก่อนหน้านี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามรายงานการประชุมการไกล่เกลี่ยครั้งที่ 3 ปรากฏข้อความในช่องรายการอื่น ๆ ว่า โจทก์ตกลงถอนฟ้อง โดยจำเลยทั้งสองเสนอให้ขายที่ดินพิพาทในราคาไม่ต่ำกว่า 30,000,000 บาท ภายใน 1 ปี หากไม่มีผู้ซื้อ จำเลยที่ 2 ตกลงเป็นผู้ซื้อเอง เมื่อขายที่ดินพิพาทได้แล้ว จำเลยทั้งสองจะแบ่งเงินที่ได้จากการขายที่ดินตามสัดส่วนการถือหุ้นของโจทก์ให้แก่โจทก์ แต่จะจ่ายให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 8,500,000 บาท และในวันเดียวกันโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างยื่นคำร้องขอถอนฟ้องและถอนฟ้องแย้ง ศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำเลยทั้งสองถอนฟ้องแย้ง และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันที่จะระงับข้อพิพาทที่มีอยู่เดิมตามคำฟ้อง คำให้การ ฟ้องแย้ง และคำให้การแก้ฟ้องแย้ง โดยโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างมีเจตนามุ่งหมายให้มีการบังคับต่อกันตามบันทึกข้อตกลงที่ปรากฏในรายงานการประชุมการไกล่เกลี่ยครั้งที่ 3 จนถึงกับแต่ละฝ่ายต่างยอมถอนฟ้องและฟ้องแย้ง ยิ่งสนับสนุนให้เชื่อว่า ต่างฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทเดิมและผ่อนผันให้ถือตามข้อตกลงใหม่ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 แม้ตามคำร้องขอถอนฟ้องและฟ้องแย้งจะมีข้อความว่า มีแนวโน้มที่จะตกลงกันได้ ก็เป็นเพียงข้อบ่งชี้ให้เห็นว่า คู่กรณียอมผ่อนผันเพื่อจะนำไปสู่การปฏิบัติตามข้อตกลงไม่ใช่เป็นเพียงแนวทางในการเจรจาเบื้องต้นหรือเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลสมบูรณ์แต่อย่างใด เพราะมิเช่นนั้นทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองคงไม่ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องและฟ้องแย้ง ส่งผลให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วนกรณีอุทธรณ์ทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีในส่วนที่ทิ้งฟ้อง
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินหรือไม่ และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินตกเป็นโมฆะและฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงเป็นประเด็นข้อพิพาทโดยตรงที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้และยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินหรือไม่ แล้วจึงวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียงจำนวนเดียว 200,000 บาท และวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนอีก 215,500 บาท นั้น แม้ในอุทธรณ์ของจำเลยแผ่นสุดท้ายจะมีลายมือเขียนคำว่า "ฟ้องแย้ง" ไว้เหนือตราประทับเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลซึ่งเป็นลายมือเขียนของพนักงานรับฟ้องอุทธรณ์ ที่อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นการเสียค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้ง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ในส่วนฟ้องเดิมและในส่วนฟ้องแย้งมีจำนวน 28,000,000 บาทเท่ากัน และตามสำเนาใบรับเงินค่าธรรมเนียมท้ายอุทธรณ์ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องเดิมหรือฟ้องแย้ง ทั้งการตรวจรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณานั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำการแทนศาลอุทธรณ์ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยโดยรวมเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน มิใช่นิติกรรมที่สมบูรณ์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาเพียงจำนวนเดียว 200,000 บาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องเดิมครบถ้วนแล้ว ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาคดีในส่วนฟ้องเดิมตามอุทธรณ์ของจำเลยต่อไป ส่วนที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยบันดาลโทสะ: ศาลฎีกาวินิจฉัยถึงเหตุและผลกระทบต่อการลดหย่อนโทษ
แม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ทำให้ศาลชั้นต้นมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จำเลยย่อมมีสิทธิยกเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 742/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการไม่ดำเนินการตามข้อตกลงยกเว้นการบังคับคดี - ความรับผิดทางแพ่ง - ค่าเสียหาย - ค่าฤชาธรรมเนียม
การที่โจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อผ่อนปรนการชำระหนี้กันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายกล่าวคือ โจทก์ได้รับการผ่อนเวลาชำระหนี้และไม่ต้องกังวลว่าจำเลยจะดำเนินการบังคับคดีแก่ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ระหว่างที่โจทก์ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น ส่วนจำเลยก็มีทางได้รับชำระหนี้โดยไม่จำต้องดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของโจทก์ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ให้จำเลยงดการบังคับแก่โจทก์ไว้ก่อนนั่นเอง จำเลยจึงต้องดำเนินการงดการบังคับคดี และการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการบังคับคดีสำหรับกรณีที่พิพาทนี้ได้ ย่อมต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 (3) กล่าวคือ จำเลยต้องแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ไว้ โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้ทำหนังสือยินยอมให้งดการขายทอดตลาดมอบไว้แก่พนักงานของจำเลยแล้ว การที่จำเลยไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจนเป็นเหตุให้มีการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ไป เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อและทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการทำละเมิดและต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีจะไปดูแลการขายทอดตลาดหรือไม่นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 (1) การที่โจทก์ไม่ไปดูแลการขายทอดตลาดหาได้เป็นผลโดยตรงต่อความเสียหาย หรือจะถือว่าโจทก์มีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหาย อันจะทำให้จำเลยพ้นความรับผิด เมื่อการทำละเมิดของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องสูญเสียที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยต้องถูกขายทอดตลาดไปจำเลยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวรวมทั้งความเสียหายอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสอง
เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์มีภาระจำนองกับธนาคาร อ. และถูกขายทอดตลาดโดยจำนองติดไปย่อมเป็นเหตุให้โจทก์หลุดพ้นภาระหนี้ไปตามจำนวนดังกล่าวและต้องนำมาคิดหักจากราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในวันทำละเมิด
ศาลจะมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 ได้นั้น ต้องเป็นกรณีการกระทำที่ถูกฟ้องร้องเกิดจากผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคหรือกระทำการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ซึ่งการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจที่ว่านี้หมายถึง การกระทำเกี่ยวกับสินค้าที่ขายหรือผลิต หรือการให้บริการที่ก่อให้เกิดผลหรือมีลักษณะตามบทบัญญัติดังกล่าว และมีการฟ้องร้องเป็นคดีกันด้วยข้อพิพาทที่เกิดจากสินค้าที่ขาย หรือผลิต หรือการให้บริการ อันเป็นการประกอบกิจการของผู้ประกอบธุรกิจนั้นเอง แต่การกระทำที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ไม่ได้ดำเนินการเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีเกี่ยวกับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ยึดไว้ตามที่โจทก์กับจำเลยตกลงกัน เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไป ไม่ใช่ความเสียหายโดยตรงที่เกิดจากตัวสินค้าและบริการที่ศาลจะมีอำนาจสั่งให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างเป็นประเด็นโดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์มีภาระจำนองกับธนาคาร อ. และถูกขายทอดตลาดโดยจำนองติดไปย่อมเป็นเหตุให้โจทก์หลุดพ้นภาระหนี้ไปตามจำนวนดังกล่าวและต้องนำมาคิดหักจากราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในวันทำละเมิด
ศาลจะมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 ได้นั้น ต้องเป็นกรณีการกระทำที่ถูกฟ้องร้องเกิดจากผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคหรือกระทำการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ซึ่งการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจที่ว่านี้หมายถึง การกระทำเกี่ยวกับสินค้าที่ขายหรือผลิต หรือการให้บริการที่ก่อให้เกิดผลหรือมีลักษณะตามบทบัญญัติดังกล่าว และมีการฟ้องร้องเป็นคดีกันด้วยข้อพิพาทที่เกิดจากสินค้าที่ขาย หรือผลิต หรือการให้บริการ อันเป็นการประกอบกิจการของผู้ประกอบธุรกิจนั้นเอง แต่การกระทำที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ไม่ได้ดำเนินการเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีเกี่ยวกับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่ยึดไว้ตามที่โจทก์กับจำเลยตกลงกัน เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไป ไม่ใช่ความเสียหายโดยตรงที่เกิดจากตัวสินค้าและบริการที่ศาลจะมีอำนาจสั่งให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างเป็นประเด็นโดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องวินิจฉัยคดีตามพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นฟ้อง หากไม่เป็นไปตามนั้น ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและอาจเพิกถอนได้
คดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลและศาลไม่ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี นั้น ป.วิ.พ. มาตรา 131 และ มาตรา 133 บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่สิ้นการพิจารณา โดยมาตรา 104 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ ทั้งมาตรา 87 (1) ยังบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องนำสืบ อันเป็นความหมายว่า การวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องประเด็นแห่งคดี ศาลต้องอาศัยพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีในคดีนั้น ๆ ด้วย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ศาลต้องปฏิบัติ และต้องนำมาใช้กับคดีผู้บริโภคด้วย ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและจำนองกับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับเกี่ยวกับทรัพย์จำนองโดยนำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นในคำฟ้องและอ้างส่งเอกสารเป็นพยาน แต่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกลับปรากฏตามคำพิพากษาว่า เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ศาลพิจารณาคำเบิกความพยานโจทก์ประกอบพยานเอกสารแล้วรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้บริการสินเชื่อกับโจทก์และผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าข้อที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไม่ได้เป็นไปตามประเด็นในคำฟ้องและโดยอาศัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในคดีนี้ แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ตามพยานหลักฐานซึ่งไม่ใช่พยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีนี้เลย การพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ทั้งยังเป็นข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการพิจารณาพยานหลักฐาน อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและมีเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 และเป็นผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัว
ความผิดระเบียบของกระบวนพิจารณาเพิ่งปรากฏหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะยื่นคำร้องได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและจำนองกับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับเกี่ยวกับทรัพย์จำนองโดยนำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นในคำฟ้องและอ้างส่งเอกสารเป็นพยาน แต่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกลับปรากฏตามคำพิพากษาว่า เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ศาลพิจารณาคำเบิกความพยานโจทก์ประกอบพยานเอกสารแล้วรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้บริการสินเชื่อกับโจทก์และผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าข้อที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไม่ได้เป็นไปตามประเด็นในคำฟ้องและโดยอาศัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในคดีนี้ แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ตามพยานหลักฐานซึ่งไม่ใช่พยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีนี้เลย การพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ทั้งยังเป็นข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการพิจารณาพยานหลักฐาน อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและมีเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 และเป็นผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัว
ความผิดระเบียบของกระบวนพิจารณาเพิ่งปรากฏหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะยื่นคำร้องได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3129/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงพ้นกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
จำเลยยื่นฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้เสียแล้ว คำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลย เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2833/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกกรณีหนี้สินค่าสินสอด: สิทธิเรียกร้องของกองมรดกต่อลูกหนี้และการแบ่งทรัพย์สินให้ทายาท
หนังสือแจ้งความจำนงชำระเงินที่ยืมมีข้อความว่า ธ. ได้ยืมเงินจากผู้ตาย จำนวน 1,000,000 บาท โดยผู้ตายให้ ธ. ผ่อนชำระเดือนละ 4,000 บาท จนเดือนสิงหาคม 2561 ผู้ตายถึงแก่ความตาย ธ. ผ่อนชำระไปแล้ว 48,000 บาท คงเหลือ 952,000 บาท และจะขอผ่อนชำระกับโจทก์ทั้งสอง (ภริยาผู้ตาย) เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบ และ ธ. ได้เบิกความยอมรับว่าเป็นผู้ทำเอกสารดังกล่าวด้วยตนเองโดยทำขึ้นหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว เหตุที่ทำเอกสารดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ทั้งสองทวงถามเงินจาก ธ. เมื่อ ธ. มีความรับผิดที่จะต้องชำระหนี้แก่ผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นหนี้สินซึ่งค้างชำระอยู่แก่กองมรดกที่จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นจะเรียกให้ชำระแก่กองมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคสอง จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีเพียงสิทธิเรียกร้องให้ ธ. ชำระหนี้แก่กองมรดกเท่านั้น สิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่อาจแบ่งแยกแก่โจทก์ทั้งสองได้ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย ธ. ได้ชำระเงินคืนแก่กองมรดกเพียงใด จึงยังไม่มีตัวเงินที่จะแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกต้องไปว่ากล่าวเรียกร้องให้ ธ. ชำระหนี้แก่กองมรดกเพื่อรวบรวมและแบ่งปันให้แก่โจทก์ทั้งสองต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2249-2250/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่งหลังศาลรับคำร้องฟูกิจการ: ต้องได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายก่อน
เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์แล้ว การดำเนินการต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของโจทก์ในฐานะลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการจึงอยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 90/13 และมาตรา 90/14 นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนหรือวันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอหรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามความในหมวดนี้... (9) ห้ามมิให้ลูกหนี้ จำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สิน นอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น..." บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าภายหลังจากศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว ลูกหนี้จะดำเนินกิจการได้เฉพาะการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่หากลูกหนี้จะดำเนินการจำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินที่มิใช่การดำเนินธุรกิจตามปกติทางการค้าของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตแล้วเท่านั้น
คดีทั้งสองสำนวนนี้ โจทก์ฟ้องคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 398/2561 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 และศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์วันที่ 9 กันยายน 2557 ส่วนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 399/2561 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2557 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์วันที่ 26 สิงหาคม 2557 และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ไว้ในวันเดียวกัน การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงเป็นการยื่นคำฟ้องหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์แล้ว จึงตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 90/12 (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเก้าชำระเงินคืนโจทก์ 119,020,000 บาท และ 9,522,533,049.50 บาท การฟ้องคดีดังกล่าวหากโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีก็อาจมีผลกระทบต่อกองทรัพย์สินของโจทก์ หรือโจทก์อาจต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายจำเลยทั้งเก้า จึงมิได้เป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของโจทก์สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่เป็นการกระทำที่อาจก่อให้เกิดภาระแก่ทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการได้ แม้คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 398/2561 โจทก์จะยื่นฟ้องในวันเดียวกันกับวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องฟื้นฟูกิจการของโจทก์ในวันเดียวกัน สภาวะการพักชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (9) ย่อมเกิดขึ้นในวันดังกล่าว ส่วนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 399/2561 โจทก์ยื่นฟ้องภายหลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ เมื่อทั้งสองสำนวนโจทก์ยื่นฟ้องโดยไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายกลางไม่ได้มีคำสั่งอนุญาต จึงเป็นการฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งการพิจารณาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาถึงอำนาจฟ้องในขณะยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ แม้ภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการโจทก์ และอำนาจในการบริหารกิจการของโจทก์กลับคืนมาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/75 และมาตรา 90/76 ก็ตาม แต่หามีผลทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งไม่มีในขณะยื่นคำฟ้องกลับมีขึ้นในภายหลังได้ไม่ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คดีทั้งสองสำนวนนี้ โจทก์ฟ้องคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 398/2561 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 และศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์วันที่ 9 กันยายน 2557 ส่วนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 399/2561 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2557 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์วันที่ 26 สิงหาคม 2557 และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ไว้ในวันเดียวกัน การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงเป็นการยื่นคำฟ้องหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์แล้ว จึงตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 90/12 (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเก้าชำระเงินคืนโจทก์ 119,020,000 บาท และ 9,522,533,049.50 บาท การฟ้องคดีดังกล่าวหากโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีก็อาจมีผลกระทบต่อกองทรัพย์สินของโจทก์ หรือโจทก์อาจต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายจำเลยทั้งเก้า จึงมิได้เป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของโจทก์สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่เป็นการกระทำที่อาจก่อให้เกิดภาระแก่ทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการได้ แม้คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 398/2561 โจทก์จะยื่นฟ้องในวันเดียวกันกับวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องฟื้นฟูกิจการของโจทก์ในวันเดียวกัน สภาวะการพักชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (9) ย่อมเกิดขึ้นในวันดังกล่าว ส่วนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 399/2561 โจทก์ยื่นฟ้องภายหลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ เมื่อทั้งสองสำนวนโจทก์ยื่นฟ้องโดยไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายกลางไม่ได้มีคำสั่งอนุญาต จึงเป็นการฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งการพิจารณาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาถึงอำนาจฟ้องในขณะยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ แม้ภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการโจทก์ และอำนาจในการบริหารกิจการของโจทก์กลับคืนมาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/75 และมาตรา 90/76 ก็ตาม แต่หามีผลทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งไม่มีในขณะยื่นคำฟ้องกลับมีขึ้นในภายหลังได้ไม่ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)