พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,368 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9945/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้แปลงสภาพและจำนอง: ศาลลดดอกเบี้ยเกินอัตรา และบังคับไถ่ถอนจำนองตามจำนวนหนี้จริง
แม้หนี้ตามสัญญาจำนองและบันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่หนึ่งขาดอายุความแล้ว แต่เมื่อโจทก์จำเลยยังมีหนี้เดิมต่อกัน หนังสือสัญญากู้ยืมที่แปลงหนี้มาก็ย่อมมีมูลหนี้และทำให้หนี้เงินกู้เดิมย่อมระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ ป.พ.พ. มาตรา 349 ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้คือการจำนองย่อมโอนไปเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินที่เป็นหนี้รายใหม่และยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่นำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 มาใช้บังคับ
สำหรับหมายเหตุด้านล่างตามสัญญากู้ยืมไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ตกลงด้วย โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247
สำหรับหมายเหตุด้านล่างตามสัญญากู้ยืมไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ตกลงด้วย โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8168/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม-การย้ายทาง-ขอบเขต-การพิพากษาเกินคำขอ-ศาลอุทธรณ์แก้ไขได้-ปัญหาความสงบเรียบร้อย
โจทก์กับบริวารใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 บริเวณที่เป็นทางคอนกรีตเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมาตั้งแต่ปี 2516 ถือว่าโจทก์ใช้สิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 มาโดยตลอดจำเลยทั้งสี่กับพวกมาซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 หลังจากโจทก์กับบริวารใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว นับแต่วันที่โจทก์ใช้ทางในที่ดินนี้จนกระทั่งจำเลยทั้งสี่รับโอนที่ดินโฉนดดังกล่าว ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินโจทก์โดยอายุความแล้ว ส่วนที่จำเลยทั้งสี่กับพวกทุบทำลายทางคอนกรีตที่โจทก์ใช้เป็นทางพัฒนาที่ดินและแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแล้ว ทำถนนบริเวณกึ่งกลางที่ดินกว้าง 8 เมตร อันเป็นทางพิพาท โจทก์กับบริวารจึงย้ายมาใช้ทางพิพาท การที่จำเลยทั้งสี่กับพวกซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ทุบทำลายทางคอนกรีตอันเป็นทางภาระจำยอมเดิมของโจทก์แล้วไปทำถนนบริเวณกึ่งกลางที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 จึงเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์ให้ย้ายภาระจำยอมไปยังส่วนอื่น เพื่อประโยชน์แก่จำเลยทั้งสี่ที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์นั้น จำเลยทั้งสี่ประสงค์ให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์เพื่อแลกเปลี่ยนกับภาระะจำยอมเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ที่โจทก์มาใช้ทางพิพาทจึงไม่จำต้องนับอายุความกันใหม่
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ในเรื่องทางรถยนต์ด้วยและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายภาระจำยอมเดิมมาเป็นทางพิพาทที่มีสภาพเป็นถนน สำหรับรถยนต์แล่นเข้าออก และโจทก์ก็เบิกความยืนยันว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำเลยเดิมมาเป็นทางใหม่ โจทก์และบริวารใช้รถยนต์แล่นผ่านเข้าออกทางพิพาท ฟังได้ว่า ทางดังกล่าวตกอยู่ภาระจำยอมทางรถยนต์ด้วย
โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงและข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำยอมไปยังทางที่พิพาท อันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่จำเลยทั้งสี่ จนทำให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ทางภาระจำยอมแล้วพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ซึ่งไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งทางที่พิพาทคงเป็นเพียงทางภาระจำยอม มีผู้ได้ภาระจำยอมในทางที่พิพาทเพียงไม่กี่รายเท่านั้น การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทอาจไม่ได้รับความสะดวกบ้างแต่ไม่ถึงกับทำให้เกิดความไม่สงบในสังคม ปัญหาดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาในปัญหาดังกล่าวมา จึงเป็นการพิพากษาในสิ่งใดๆ นอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ในเรื่องทางรถยนต์ด้วยและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายภาระจำยอมเดิมมาเป็นทางพิพาทที่มีสภาพเป็นถนน สำหรับรถยนต์แล่นเข้าออก และโจทก์ก็เบิกความยืนยันว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำเลยเดิมมาเป็นทางใหม่ โจทก์และบริวารใช้รถยนต์แล่นผ่านเข้าออกทางพิพาท ฟังได้ว่า ทางดังกล่าวตกอยู่ภาระจำยอมทางรถยนต์ด้วย
โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงและข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำยอมไปยังทางที่พิพาท อันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่จำเลยทั้งสี่ จนทำให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ทางภาระจำยอมแล้วพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ซึ่งไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งทางที่พิพาทคงเป็นเพียงทางภาระจำยอม มีผู้ได้ภาระจำยอมในทางที่พิพาทเพียงไม่กี่รายเท่านั้น การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทอาจไม่ได้รับความสะดวกบ้างแต่ไม่ถึงกับทำให้เกิดความไม่สงบในสังคม ปัญหาดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาในปัญหาดังกล่าวมา จึงเป็นการพิพากษาในสิ่งใดๆ นอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7278-7279/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทรัสตี: ผู้มีส่วนได้เสีย, ความเหมาะสม, และการดูแลทรัพย์สินตามวัตถุประสงค์ของทรัสต์
ป่าช้าจีนบ้าบ๋าเป็นที่ดินที่ชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยนที่มาจากสาธารณรัฐสิงคโปร์ร่วมกันออกเงินซื้อมาก่อตั้งเป็นทรัสต์เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝังศพของชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยน เมื่อทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าจัดตั้งขึ้นก่อน ป.พ.พ. บรรพ 6 มาตรา 1686 ประกาศใช้ย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด เว้นแต่ผู้รับประโยชน์ทุกคนตกลงให้เลิกกันเมื่อ ล ทรัสตีคนเดิมถึงแก่ความตาย ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการย่อมร้องขอต่อศาลให้ตั้งทรัสตีคนใหม่แทนเพื่อให้ทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋ามีผู้ดูแลจัดการได้ต่อไป
ผู้ร้องเป็นทายาทของ ต ชั้นหลานและศพของ ต ได้ฝังอยู่ในป่าช้าจีนบ้าบ๋า ซึ่งผู้ร้องและญาติได้มาเคารพกราบไหว้ตามประเพณี เมื่อที่ดินดังกล่าว ต ล และชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยนที่มาจากสาธารณรัฐสิงคโปร์ร่วมกันออกเงินซื้อมาจัดตั้งเป็นทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าเพื่อใช้เป็นสถานที่ฝังศพของชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยนมิใช่เพื่อชาวจีนกลุ่มอื่น ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นทรัสตีของทรัสต์ป่าช้าบ้าบ๋าได้
ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 เป็นชาวจีนแคะ แม้มีบิดาเลี้ยงเป็นชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยน ผู้คัดค้านที่ 3 ก็มิได้เกี่ยวข้องกับบิดาเลี้ยงทางสายโลหิต ย่อมไม่มีบรรพบุรุษฝังอยู่ในป่าช้าจีนบ้าบ๋า และเมื่อผู้คัดค้านที่ 3 เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่า ผู้คัดค้านที่ 3 ครอบครองปรปักษ์ที่ดินป่าช้าจีนบ้าบ๋าซึ่งศาลฎีกาตัดสินว่า การดำเนินคดีของผู้คัดค้านที่ 3 กระทำโดยไม่สุจริต แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 3 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจบังคับได้ ผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งเป็นคู่ความย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 3 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จะขอให้ศาลตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าแทน ล ทรัสตีคนเดิม ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ผู้ร้องเป็นทายาทของ ต ชั้นหลานและศพของ ต ได้ฝังอยู่ในป่าช้าจีนบ้าบ๋า ซึ่งผู้ร้องและญาติได้มาเคารพกราบไหว้ตามประเพณี เมื่อที่ดินดังกล่าว ต ล และชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยนที่มาจากสาธารณรัฐสิงคโปร์ร่วมกันออกเงินซื้อมาจัดตั้งเป็นทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าเพื่อใช้เป็นสถานที่ฝังศพของชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยนมิใช่เพื่อชาวจีนกลุ่มอื่น ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นทรัสตีของทรัสต์ป่าช้าบ้าบ๋าได้
ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 เป็นชาวจีนแคะ แม้มีบิดาเลี้ยงเป็นชาวจีนบ้าบ๋าหรือฮกเกี้ยน ผู้คัดค้านที่ 3 ก็มิได้เกี่ยวข้องกับบิดาเลี้ยงทางสายโลหิต ย่อมไม่มีบรรพบุรุษฝังอยู่ในป่าช้าจีนบ้าบ๋า และเมื่อผู้คัดค้านที่ 3 เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่า ผู้คัดค้านที่ 3 ครอบครองปรปักษ์ที่ดินป่าช้าจีนบ้าบ๋าซึ่งศาลฎีกาตัดสินว่า การดำเนินคดีของผู้คัดค้านที่ 3 กระทำโดยไม่สุจริต แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 3 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจบังคับได้ ผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งเป็นคู่ความย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 3 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จะขอให้ศาลตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าแทน ล ทรัสตีคนเดิม ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยไม่ต้องรับผิด
เช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้จึงไม่มีหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ผู้สลักหลังอาวัลผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 อำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ต่อสู้และฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4912/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโดยผู้ให้เช่าซื้อไม่ใช่เจ้าของทรัพย์: ความยินยอมของเจ้าของทรัพย์ทำให้สัญญามีผลผูกพัน
การที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันโดยมิได้ฝ่าฝืนอำนาจของเจ้าของทรัพย์ที่เช่าซื้อ แม้โจทก์ที่เป็นฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เช่าซื้ออันเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติ มาตรา 572 ของป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 5 เช่าซื้อ ที่กำหนดให้เจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจึงจะเป็นผู้ให้เช่าซื้อได้ แต่กรณีนี้มีลักษณะพิเศษโดยเจ้าของทรัพย์สินให้ความยินยอมทำให้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและมาตรา 572 ก็มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้สัญญาเช่าซื้อจะแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย มาตรา 572 แต่ก็เป็นสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ให้เช่าซื้อที่มิใช่เจ้าของทรัพย์สินได้รับความยินยอมของเจ้าของทรัพย์สินให้นำทรัพย์สินออกให้เช่าซื้อได้จึงไม่เป็นโมฆะมีผลผูกพันคู่กรณี กรณีนี้เป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาไปก็ได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ มาตรา 246 มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา
ทนายผู้ร้องทำใบมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกา นำหมายและรับทราบคำสั่ง ปรากฏว่า เสมียนทนายผู้ร้องได้นำฎีกาของผู้ร้องมายื่นต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 13 มิถุนายน 2551 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาฎีกาให้ผู้คัดค้านภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฎีกา และในฎีกาดังกล่าวมีข้อความประทับไว้ว่า "ข้าพเจ้าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" เมื่อเสมียนทนายผู้ร้องลงลายมือชื่อไว้ใต้ข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าทนายผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งในฎีกาของผู้ร้องแล้วตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2551 และถือว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นด้วย เมื่อผู้ร้องเพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินเป็นแปลงย่อยทำให้เกิดภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ แม้ไม่ได้ขออนุญาต
การที่ ว. และ ป. จัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปและมีการทำทางออกสู่ถนนสาธารณะคือทางพิพาท อันเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ของการจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และโดยผลของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวในข้อ 30 วรรคหนึ่ง ทำให้ทางพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ซึ่งรวมทั้งที่ดินของโจทก์ทั้งหก และเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ ดังนี้ ผู้จัดสรรคือ ว. และ ป. หรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คือจำเลยทั้งสามย่อมอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าวทั้งนี้ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็ตาม เมื่อทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมโดยผลแห่งกฎหมายเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องคำนึงถึงว่าโจทก์ทั้งหกได้ใช้ทางพิพาทจนตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาขายฝาก vs. การกู้ยืมเงิน: สัญญาขายฝากมีผลบังคับใช้ได้หากมีหลักฐานชัดเจน
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระบุว่า จำเลยจดทะเบียนทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแก่โจทก์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 มีกำหนด 1 ปี และได้จดทะเบียนประเภทขายฝากลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขายฝาก และโจทก์เป็นผู้รับซื้อฝากซึ่งโจทก์ยังมี ศ. เจ้าหน้าที่ที่ดินผู้ดำเนินการทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทมาเบิกความยืนยันรับรองความถูกต้อง สำเนาหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงเป็นสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารให้รับฟังได้ตามที่อ้าง แต่จำเลยมีแต่อ้างตนเองเบิกความลอยๆ ว่า จำเลยทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทเพื่อเป็นอำพรางการกู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากโจทก์ พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีเหตุผลและน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยกับบริวารจะออกจากที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษากลับโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น จึงไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยกับบริวารจะออกจากที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษากลับโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าทดแทนในกรณีชู้สาว จำเป็นต้องพิสูจน์การแสดงตนโดยเปิดเผยถึงความสัมพันธ์ชู้สาว จึงจะฟังได้
โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าทดแทน 300,000 บาท แต่มาฎีกาโต้แย้งเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้อง การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ 300,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่คู่ความยังโต้แย้งกันอยู่ ที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์ 1,000,000 บาท เป็นการเสียเกินกว่ากฎหมายกำหนด จึงให้คืนค่าขึ้นศาล 17,500 บาท ที่โจทก์เสียเกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม พินัยกรรมเป็นโมฆะ ไม่ขาดอายุความ
การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีทุกประเด็นแต่ไม่ได้มีคำพิพากษาในคำขอเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 โอนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์จึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องให้ครบทุกข้อ โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
การบรรยายฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับพินัยกรรมทั้งสองฉบับว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 และไม่ว่าจะฟังข้อเท็จจริงอย่างไรพินัยกรรมฉบับนี้ก็ถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 เมษายน 2545 เป็นการบรรยายฟ้องตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ซึ่งจำเลยก็เข้าใจสภาพแห่งข้อหาไม่ได้หลงต่อสู้ คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การห้ามฟ้องบุพการีเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิจำต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า กรณีของผู้สืบสันดานชั้นบุตรหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
ตามฟ้องโจทก์อ้างว่า ผู้ตายลงลายมือชื่อในพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 โดยผู้ตายสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมซึ่งถือเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 กรณีมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1710 จึงไม่อยู่ในบังคับกำหนดอายุความตามมาตรา 1710
การบรรยายฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับพินัยกรรมทั้งสองฉบับว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 และไม่ว่าจะฟังข้อเท็จจริงอย่างไรพินัยกรรมฉบับนี้ก็ถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 เมษายน 2545 เป็นการบรรยายฟ้องตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ซึ่งจำเลยก็เข้าใจสภาพแห่งข้อหาไม่ได้หลงต่อสู้ คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การห้ามฟ้องบุพการีเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิจำต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า กรณีของผู้สืบสันดานชั้นบุตรหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
ตามฟ้องโจทก์อ้างว่า ผู้ตายลงลายมือชื่อในพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 โดยผู้ตายสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมซึ่งถือเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 กรณีมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1710 จึงไม่อยู่ในบังคับกำหนดอายุความตามมาตรา 1710