พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,368 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเลือกโรงพยาบาลและการรับผิดชอบค่าเสียหายจากเหตุละเมิด ศาลแก้ไขคำพิพากษาหักเงินค่าเสียหายที่ได้รับจากจำเลยร่วม
สิทธิในการรักษาชีวิตและร่างกายของบุคคลนั้นเป็นสิทธิที่บุคคลทุกคนมีสิทธิอันชอบธรรมในการเลือกเข้ารักษาชีวิตและร่างกายของตนในโรงพยาบาลหรือสถานที่ที่บุคคลนั้นเชื่อว่าสามารถรักษาชีวิตและร่างกายของบุคคลนั้นให้หายเป็นปกติได้โดยเร็ว จำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่มีสิทธิที่จะบังคับหรือเจาะจงให้โจทก์ที่ 3 จำต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของรัฐอันมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าโรงพยาบาลเอกชนได้ ทั้งเหตุที่โจทก์ที่ 3 เลือกเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล จ. อันเป็นโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุรถชนกันแล้วมีเจ้าหน้าที่มูลนิธินำตัวไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล จ. มิใช่เป็นการที่โจทก์ที่ 3 จะใช้สิทธิเลือกเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยตนเอง แม้ต่อมาภายหลังโจทก์ที่ 3 จะได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ธ. อันเป็นโรงพยาบาลเอกชนเช่นเดียวกัน ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมของโจทก์ที่ 3 ในการเลือกโรงพยาบาลที่โจทก์ที่ 3 เชื่อว่าสามารถรักษาร่างกายและชีวิตของตนได้ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 3 เอาเปรียบจำเลยที่ 2 และที่ 4 อย่างใด
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินค่าเสียหายจากจำเลยร่วมคนละ 10,000 บาท โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ได้รับเงินค่าเสียหายจากโจทก์ร่วมคนละ 85,000 บาท จึงต้องหักเงินจำนวนดังกล่าวจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสี่ตามคำพิพากษา และเมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินค่าเสียหายจากจำเลยร่วมคนละ 10,000 บาท โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ได้รับเงินค่าเสียหายจากโจทก์ร่วมคนละ 85,000 บาท จึงต้องหักเงินจำนวนดังกล่าวจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสี่ตามคำพิพากษา และเมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6832/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ถอนอุทธรณ์ทำให้เงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลคืนสู่จำเลย เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิฎีกา
จำเลยยื่นอุทธรณ์และนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นเพียงเงินที่วางไว้เพื่อเป็นประกันว่า หากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ก่อนจากเงินที่ผู้อุทธรณ์วางไว้ มิใช่เป็นการวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของผู้อุทธรณ์
ป.วิ.พ. มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่มาตรา 246 ของลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม คำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการถอนคำฟ้องตามมาตรา 176 มาใช้บังคับกับการถอนคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุโลม
การถอนคำฟ้องในคดีแพ่งนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 176 บัญญัติว่า "การทิ้งคำฟ้องหรือถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย..." เมื่อศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนคำฟ้องอุทธรณ์แล้ว การถอนคำฟ้องอุทธรณ์ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์เลย ดังนี้เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ซึ่งยังเป็นของจำเลอยู่ จึงตกกลับคืนสู่จำเลยผู้เป็นเจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยโดยเฉพาะ มิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ป.วิ.พ. มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่มาตรา 246 ของลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม คำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการถอนคำฟ้องตามมาตรา 176 มาใช้บังคับกับการถอนคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุโลม
การถอนคำฟ้องในคดีแพ่งนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 176 บัญญัติว่า "การทิ้งคำฟ้องหรือถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย..." เมื่อศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนคำฟ้องอุทธรณ์แล้ว การถอนคำฟ้องอุทธรณ์ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์เลย ดังนี้เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ซึ่งยังเป็นของจำเลอยู่ จึงตกกลับคืนสู่จำเลยผู้เป็นเจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยโดยเฉพาะ มิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6777/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นแทนตัวการ: ผู้ชำระบัญชีต้องจ่ายเงินตามสิทธิหุ้น แต่ไม่มีอำนาจตัดสินข้อพิพาทระหว่างตัวการ-ตัวแทน
แม้โจทก์จะเป็นผู้ถือหุ้นแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ตามข้อต่อสู้ของจำเลยก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งเป็นตัวการกับโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทน ส่วนที่จำเลยมีเอกสารมาแสดงว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นผู้ชำระค่าหุ้นแทนโจทก์และผู้ถือหุ้นรายอื่นฝ่ายไทยนั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างตัวการและตัวแทนเช่นเดียวกัน ทั้งอาจมีข้อต่อสู้กันระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็ได้ว่าเงินที่ชำระไปนั้นเป็นการชำระค่าหุ้นในฐานะตัวการจริงหรือไม่ เมื่อจำเลยไม่ได้เรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีจึงไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปยกข้อต่อสู้ระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กับโจทก์เพื่อบอกปัดไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ได้ เมื่อโจทก์มีหลักฐานการจดทะเบียนผู้ถือหุ้นมาแสดงว่าโจทก์มีหุ้นจำนวน 250 หุ้น ชำระราคาแล้วหุ้นละ 500 บาท อันเป็นเอกสารราชการในเบื้องต้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อความตามเอกสารดังกล่าวถูกต้อง จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีต้องจ่ายเงินส่วนแบ่งให้แก่โจทก์ตามสิทธิอันพึงมีตามหุ้นดังกล่าว ส่วนความรับผิดระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. นั้น เป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายจะไปว่ากล่าวกันเอง
เมื่อปรากฏว่า บ. ถึงแก่กรรมแล้ว จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีต้องจ่ายเงินตามสิทธิในหุ้นจำนวน 500 หุ้น ให้แก่กองมรดกของ บ. ตามหลักฐานผู้ถือหุ้นที่ปรากฏเช่นเดียวกับโจทก์ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ฟ้องในฐานะเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ บ. ไม่ได้ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. จึงไม่อาจอ้างแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีได้ เพราะเป็นการกระทบกระเทือนต่อกองมรดกของ บ. เนื่องจากทายาทของ บ. อาจมีข้อต่อสู้กับโจทก์ได้ว่าเงินที่ บ. มีสิทธิได้รับนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับครึ่งหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์จะไปว่ากล่าวเอาจากกองมรดกของ บ. เอง ไม่ใช่มาเรียกเอาจากผู้ชำระบัญชี ส่วนหุ้นที่ บ. เป็นผู้ถือหุ้นนั้น จะเป็นการถือแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และห้างดังกล่าวเป็นผู้ออกเงินค่าหุ้นหรือไม่นั้น เป็นเรื่องระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จะไปว่ากล่าวเอากับผู้จัดการมรดกหรือทายาทของ บ. เอง ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินครึ่งหนึ่งตามส่วนของหุ้นทั้งหมดที่ บ. ถือ คิดเป็น 250 หุ้น เป็นเงิน 369,235.95 บาท จากจำเลยได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวประกอบมาตรา 246 และ 247 ด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
เมื่อปรากฏว่า บ. ถึงแก่กรรมแล้ว จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีต้องจ่ายเงินตามสิทธิในหุ้นจำนวน 500 หุ้น ให้แก่กองมรดกของ บ. ตามหลักฐานผู้ถือหุ้นที่ปรากฏเช่นเดียวกับโจทก์ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ฟ้องในฐานะเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ บ. ไม่ได้ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. จึงไม่อาจอ้างแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีได้ เพราะเป็นการกระทบกระเทือนต่อกองมรดกของ บ. เนื่องจากทายาทของ บ. อาจมีข้อต่อสู้กับโจทก์ได้ว่าเงินที่ บ. มีสิทธิได้รับนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับครึ่งหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์จะไปว่ากล่าวเอาจากกองมรดกของ บ. เอง ไม่ใช่มาเรียกเอาจากผู้ชำระบัญชี ส่วนหุ้นที่ บ. เป็นผู้ถือหุ้นนั้น จะเป็นการถือแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และห้างดังกล่าวเป็นผู้ออกเงินค่าหุ้นหรือไม่นั้น เป็นเรื่องระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จะไปว่ากล่าวเอากับผู้จัดการมรดกหรือทายาทของ บ. เอง ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินครึ่งหนึ่งตามส่วนของหุ้นทั้งหมดที่ บ. ถือ คิดเป็น 250 หุ้น เป็นเงิน 369,235.95 บาท จากจำเลยได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวประกอบมาตรา 246 และ 247 ด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการฎีกาคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์นั้น เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีและมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 จำเลยทั้งสองยังไม่มีสิทธิฎีกา แม้จำเลยทั้งสองจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาคดี: คำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิเป็นคู่ความต้องห้ามฎีกา
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 นั้น เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 จำเลยที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิฎีกา คงมีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: เจตนาในการโฆษณาถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา แม้ไม่มีข้อตกลงระบุชัดเจน
ในโครงการอาคารชุด ร. จำเลยจัดทำภาพจำลองอาคารและแผ่นโฆษณาระบุว่าจำเลยจะก่อสร้างอาคารศูนย์สรรพสินค้าขนาดใหญ่ติดกับอาคารชุด โดยมีสระน้ำขนาดใหญ่บนอาคารจอดรถของอาคารชุดเพื่อจูงใจลูกค้าให้ซื้อห้องชุดในโครงการอาคารชุดดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นการที่จำเลยประกาศโฆษณาอันมีผลทำให้โจทก์ผู้จะซื้อเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าจำเลยตกลงจะดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดโดยมีสระว่ายน้ำขนาดใหญ่บนอาคารจอดรถควบคู่ไปกับการก่อสร้างอาคารศูนย์สรรพสินค้าด้วย การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดและขอเงินที่โจทก์ชำระแก่จำเลยไปแล้วคืน ก็เพราะจำเลยไม่ดำเนินการก่อสร้างสระว่ายน้ำขนาดใหญ่และอาคารศูนย์การค้าตามที่จำเลยได้พรรณนาไว้ การทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดระหว่างจำเลยผู้จะขายกับโจทก์ผู้จะซื้อเกิดจากเจตนาของจำเลยที่เสนอจะก่อสร้างอาคารชุดที่จะขายติดกับอาคารศูนย์สรรพสินค้าในโครงการอาคารชุดและโจทก์แสดงเจตนาสนองรับเข้าทำสัญญาเพราะเห็นว่าห้องชุดที่จะซื้อมีอาคารศูนย์สรรพสินค้าขนาดใหญ่อยู่ติดกับอาคารชุดนั้น อันจะทำให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าต่างๆตามที่ต้องการและประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วย ดังนี้ แม้ข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจะไม่ได้ระบุข้อความว่าจำเลยต้องก่อสร้างสระว่ายน้ำขนาดใหญ่บนลานจอดรถของอาคารชุดและก่อสร้างศูนย์สรรพสินค้าขนาดใหญ่ติดกับอาคารชุด แต่จำเลยก็ต้องผูกพันและมีหน้าที่ต้องก่อสร้างสระว่ายน้ำและศูนย์สรรพสินค้าดังกล่าวตามเจตนาที่เสนอโดยประกาศโฆษณาไว้ต่อโจทก์ เพราะแผ่นโฆษณาแสดงภาพจำลองอาคารชุดและอาคารศูนย์สรรพสินค้าถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยด้วย
เมื่อปรากฏตามสัญญาจะซื้อจะขายว่า จำเลยผู้จะขายตกลงว่าจะพยายามดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดพร้อมจดทะเบียนอาคารชุดให้เสร็จภายในปี 2541 ในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามกำหนด เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผลความล่าช้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจำเลย จำเลยยอมที่จะคืนเงินที่โจทก์ผู้จะซื้อชำระมาแล้วทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อเมื่อจำเลยยังดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์สรรพสินค้าไม่เสร็จและมิได้ก่อสร้างสระว่ายน้ำขนาดใหญ่บนลานจอดรถของอาคารชุดภายในกำหนดเวลาตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุความล่าช้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจำเลย จำเลยจึงเป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินที่โจทก์ได้ชำระแก่จำเลยแล้วให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่โจทก์กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ได้ชำระแก่จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือ จึงเท่ากับโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินอันจะต้องใช้คืนนั้นนับแต่เวลาที่จำเลยได้รับไว้ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2545 แต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2545 และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยได้รับไว้นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2545 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 กันยายน 2545 อันเป็นวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2545 อันเป็นวันผิดนัดได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบ 246 และ142
เมื่อปรากฏตามสัญญาจะซื้อจะขายว่า จำเลยผู้จะขายตกลงว่าจะพยายามดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดพร้อมจดทะเบียนอาคารชุดให้เสร็จภายในปี 2541 ในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามกำหนด เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผลความล่าช้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจำเลย จำเลยยอมที่จะคืนเงินที่โจทก์ผู้จะซื้อชำระมาแล้วทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อเมื่อจำเลยยังดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์สรรพสินค้าไม่เสร็จและมิได้ก่อสร้างสระว่ายน้ำขนาดใหญ่บนลานจอดรถของอาคารชุดภายในกำหนดเวลาตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุความล่าช้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจำเลย จำเลยจึงเป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินที่โจทก์ได้ชำระแก่จำเลยแล้วให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่โจทก์กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ได้ชำระแก่จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือ จึงเท่ากับโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินอันจะต้องใช้คืนนั้นนับแต่เวลาที่จำเลยได้รับไว้ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2545 แต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2545 และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยได้รับไว้นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2545 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 กันยายน 2545 อันเป็นวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2545 อันเป็นวันผิดนัดได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบ 246 และ142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5329-5331/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีทุจริตต่อหน้าที่ และการกำหนดขอบเขตความรับผิดร่วม
เงินที่มีการทุจริต บางส่วนเป็นเงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้แก่กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาคในสังกัดของโจทก์ บางส่วนเป็นงบกลางอยู่ภายใต้การครอบครองดูแลของคลังจังหวัดอุบลราชธานี แต่กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีจะต้องทำฎีกาขอเบิกจากคลังจังหวัดอุบลราชธานี ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. 2520 เมื่อคลังจังหวัดอุบลราชธานีจ่ายเงินให้กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว เงินดังกล่าวก็อยู่ในความครอบครองดูแลของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ถ้ามีเงินเบิกเกินมาแล้วไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมด ส่วนราชการผู้เบิกต้องนำส่งคืนคลังภายใน 15 วัน นับจากวันรับเงินจากคลัง ตามข้อ 53 วรรคสอง และข้อ 66 วรรคหนึ่ง ของระเบียบฉบับเดียวกัน การที่มีการทุจริตไม่นำเงินที่เกินกว่าหลักฐานการจ่ายส่งคืนคลังจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการเบียดบังเงินดังกล่าวไปโดยทุจริต โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุว่าให้ฟ้องผู้ใดบ้าง แต่การระบุให้ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับการทุจริต หรือต้องชดใช้เงินคืนทุกเรื่องเกี่ยวกับการเงินของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ย่อมหมายความถึงดำเนินการฟ้องร้องหรือเรียกเงินคืนจากผู้ทุจริตหรือผู้ต้องรับผิดชอบคืนเงินที่เบียดบังเอาเงินงบประมาณของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาผู้รับผิดชอบจนทราบตัวข้าราชการที่ต้องรับผิดชอบชดใช้เงินของโจทก์ได้แล้ว
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 มิได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 ร่วมกันทำละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 ผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 ตามสายงานต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 จะต้องรับผิดชอบเฉพาะการกระทำในส่วนที่จำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 แต่ละคนได้กระทำไปด้วยความประมาทเลินเล่อเท่านั้น
การที่ผู้เบิกได้ลงลายมือชื่อในฎีกาเบิกเงินเดือนโดยตรวจข้อความและหลักฐานของแต่ละฎีกาที่เสนอขึ้นมาให้ลงลายมือชื่อแล้วมีจำนวนเงินตรงกันกับหลักฐาน ไม่อาจถือได้ว่าผู้เบิกปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่องหรือประมาทเลินเล่อ อย่างไรก็ตาม หากผู้เบิกที่มีหน้าที่ลงลายมือชื่อเบิกเงินในฎีกาเบิกเงินเดือนเป็นประจำหรือบ่อยครั้งอาจตรวจพบความผิดปกติในฎีกาเบิกเงินจากจำนวนเงินที่ขอเบิกสูงกว่าฎีกาอื่นอย่างมากและเป็นการเบิกซ้ำซ้อนกับที่เคยขอเบิกไปแล้ว จำเลยที่ 2 มิได้เป็นหัวหน้าส่วนราชการกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี จึงไม่มีหน้าที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกเงินในฎีกา และรับผิดชอบตรวจสอบเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัด แต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกเงินในฎีกาแทนจำเลยที่ 15 เฉพาะในกรณีที่จำเลยที่ 15 ไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ จึงไม่อาจตรวจสอบได้ว่า มีการเบิกเงินจำนวนสูงผิดปกติ และซ้ำซ้อนกับที่เบิกมาแล้วหรือไม่ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังและประมาทเลินเล่อ แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีอาวุโส รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากต้องลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกเงินในฎีกาแล้วยังต้องรับผิดชอบดูแลรักษาเงินการจ่ายเงิน หลักฐานการจ่ายเงินที่เบิกจากคลังจังหวัดและตรวจสอบบัญชีเงินคงเหลือตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 การที่จำเลยที่ 2 เบิกความรับว่า ได้มอบหมายให้สารวัตรการเงินและบัญชีดูแลรับผิดชอบโดยจะตรวจสอบหลักฐานการจ่ายเป็นครั้งคราวเท่านั้น หากไม่ได้รับรายงานเงินคงเหลือก็ไม่อาจทราบได้ว่ามีจำนวนเงินที่ต้องส่งคืนคลังจังหวัดหรือไม่ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ตรวจสอบหลักฐานการใช้จ่ายเงินที่เบิกมา ทำให้มีการทุจริตเบียดบังเอาเงินคงเหลือที่เกินกว่าหลักฐานการจ่ายไป ถือว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 17 เป็นหัวหน้าส่วนราชการกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ต้องดูแลรับผิดชอบผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายและระเบียบแบบแผนของทางราชการการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 17 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตทำให้ราชการได้รับความเสียหาย แม้จะมีบุคคลหลายคนร่วมกันทำเป็นขบวนการ แต่ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 17 ไม่สามารถป้องกันได้ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 17 ทราบอยู่แล้วว่า มีเงินที่จะต้องเบิกจากคลังจังหวัดเป็นประจำทุกเดือนและจ่ายให้แก่ผู้รับในวันสิ้นเดือนนั้น มีฎีกาเบิกเงินเดือน และฎีกาเบิกเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ที่จะต้องทำฎีกาเบิกจากคลังจังหวัดภายในทุกวันที่ 15 ของเดือน แต่ละประเภทเดือนละ 1 ครั้ง และนำไปจ่ายให้แก่ข้าราชการในวันสิ้นเดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2527 ซึ่งจำเลยที่ 17 เข้าดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี มีการทุจริตทำฎีกาไม่ปกติเบิกเงินเดือนและเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ทุกเดือนเสนอสลับไปกับฎีกาปกติเบิกเงินเดือน และเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ตามปกติ ทำให้จำนวนฎีกาที่นำเสนอเบิกเงินจากคลังจังหวัดมีมากขึ้น จำนวนเงินที่ขอเบิกในแต่ละเดือนก็เพิ่มมากขึ้นกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ก่อนเข้ารับตำแหน่งจำเลยที่ 17 ก็ทราบบ้างแล้วถึงความไม่ชอบมาพากลของเจ้าหน้าที่แผนการเงินและบัญชี จึงทำเรื่องเสนอขอให้กรมตำรวจย้ายจำเลยที่ 3 ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสารวัตรการเงินและบัญชีออกไป แต่ก็ไม่อาจย้ายได้โดยทันที ดังนั้น จำเลยที่ 17 จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการตรวจสอบและลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกในแต่ละฎีกาให้เข้มงวดมากขึ้น แม้ข้อความและหลักฐานในฎีกาเบิกเงินที่เสนอให้จำเลยที่ 17 ลงลายมือชื่ออาจไม่พบข้อพิรุธหรือความผิดปกติ แต่จำเลยที่ 17 ควรต้องระแวงสงสัยว่าจำนวนฎีกาและจำนวนเงินรวมที่เสนอขอเบิกจากคลังจังหวัดมีจำนวนมากและสูงผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 17 ยังต้องรับผิดชอบตรวจสอบบัญชีเงินสดและบัญชีเงินคงเหลือเพื่อดูแลรักษาเงินที่เบิกจากคลังจังหวัดว่ายังมีเงินค้างจ่ายในแต่ละวัน แต่ละเดือน ที่ไม่มีหลักฐานการจ่ายอันจะต้องส่งคืนคลังจังหวัดมากน้อยเพียงใด หากจำเลยที่ 17 ได้ทำการตรวจสอบเป็นปกติตามระเบียบการเก็บรักษาและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ย่อมต้องทราบว่าเงินที่เบิกจากคลังจังหวัดมาแล้วยังไม่มีการจ่ายมีมากน้อยเพียงใด เจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมไม่อาจกระทำการทุจริต ทำฎีกาเท็จเบิกเงินซ้ำซ้อนแล้วเบียดบังไปเป็นประโยชน์ของตนได้โดยง่าย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 17 ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่วิสัยและพฤติการณ์ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวแล้ว ถือว่าจำเลยที่ 17 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ที่จำเลยที่ 17 ฎีกาว่า หลังจากทราบการกระทำผิด จำเลยที่ 17 ได้ติดตามยึดทรัพย์คืนได้จากผู้กระทำผิดจำนวนถึง 30 ล้านบาทเศษ จึงต้องนำจำนวนเงินดังกล่าวหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 17 ต้องรับผิด และหากรวมค่าเสียหายที่จำเลยแต่ละคนต้องรับผิดจะเกินกว่าทุนทรัพย์ตามฟ้องนั้น เป็นกรณีที่ความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไม่เกินไปกว่าหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนการจะติดตามทรัพย์สินคืนได้เพียงใดก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 17 ชอบที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดี
จำเลยที่ 11 เป็นคลังจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตรวจอนุมัติฎีกาเบิกเงินทุกประเภทแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในวันหนึ่ง ๆ คลังจังหวัดต้องลงลายมือชื่ออนุมัติฎีกาประมาณ 100 ถึง 200 ฎีกา เป็นที่เห็นได้ว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจอนุมัติฎีกานั้น จำเลยที่ 11 ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วเพื่อให้การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในจังหวัดอุบลราชธานีนำเงินไปใช้ในการบริหารงานในส่วนราชการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การตรวจอนุมัติฎีกาของจำเลยที่ 11 เป็นการกระทำในขั้นตอนสุดท้ายของการเสนอขอเบิกเงินจากคลังจังหวัดซึ่งแต่ละฎีกากว่าจะทำเสนอให้จำเลยที่ 11 ตรวจและลงลายมือชื่ออนุมัตินั้น ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบจากข้าราชการระดับล่างหลายขั้นตอนจนถึงผู้ช่วยคลังจังหวัด ซึ่งจะต้องตรวจสอบความถูกต้องเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะนำเสนอให้จำเลยที่ 11 อนุมัติ เห็นว่า การตรวจสอบก่อนลงลายมือชื่ออนุมัติ จำเลยที่ 11 จะต้องตรวจสอบว่ามีการลงลายมือชื่อครบถ้วนและถูกต้องในฎีกาเป็นลำดับหรือไม่ มีการแก้ไขจำนวนเงินหรือไม่ และจำนวนเงินที่ขอเบิกตรงกันกับใบหน้างบและเอกสารแนบท้ายฎีกาหรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามวิสัยและพฤติการณ์ของผู้อนุมัติฎีกาแล้ว การที่จำเลยที่ 11 ลงลายมือชื่ออนุมัติในฎีกาที่มีการตรวจผ่านตามลำดับขั้นตอน และตามระเบียบราชการ แม้จะเป็นฎีกาที่ไม่ปกติ ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 11 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงได้ความว่า มีหลายฎีกาที่นอกจากจำเลยที่ 11 ลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้อนุมัติฎีกา จำเลยที่ 11 ยังได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจฎีกาแทนที่ผู้ช่วยคลังจังหวัดอีกฐานะหนึ่งด้วย ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 11 ในส่วนนี้ จำเลยที่ 11 ต้องปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบความยิ่งกว่าการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อนุมัติฎีกาเพียงฐานะเดียว โดยเฉพาะฎีกาที่ไม่ปกติหลายฎีกาต่อเนื่องกัน หากตามพฤติการณ์จำเลยที่ 11 ควรทราบถึงความผิดสังเกตของฎีกาไม่ปกติแล้ว จำเลยที่ 11 ลงลายมือชื่อตรวจผ่านและลงลายมือชื่ออนุมัติในฐานะคลังจังหวัดด้วยแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 11 ถือได้ว่าเป็นการประมาทเลินเล่อ
อายุความเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดนั้น ต้องนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหมายความถึงว่าผู้เสียหายต้องรู้ถึงความเสียหายด้วย รายงานการสอบสวนและบันทึกความเห็นในการดำเนินคดีนั้น มุ่งสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดอาญาและการฟ้องร้องผู้กระทำผิดให้รับโทษทางอาญา ในรายงานการสอบสวนและบันทึกดังกล่าวไม่ปรากฏจำนวนความเสียหายว่ามากน้อยเพียงใด จึงไม่อาจเริ่มต้นนับอายุความ 1 ปี อันเป็นวันที่โจทก์ได้รับทราบรายงานการสอบสวนและบันทึกความเห็นในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำการทุจริต
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 15 รับผิดสำนวนแรกโดยมีทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 19,597,486.38 บาท ให้จำเลยที่ 17 และที่ 18 รับผิดสำนวนที่สอง โดยมีทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 40,271,015.97 บาท และให้รับผิดสำนวนที่สามโดยมีทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 27,275,927.55 บาท ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 15 ถึงที่ 18 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทุกสำนวนแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความทั้งสามสำนวนรวม 100,000 บาท นั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยแต่ละคนร่วมรับผิดตามจำนวนเงินที่ฟ้องทั้งหมดโดยไม่แบ่งแยกเป็นรายสำนวน ซึ่งมีผลให้จำเลยบางคนต้องร่วมรับผิดในสำนวนที่ไม่ถูกฟ้องหรือข้อเท็จจริงตามที่พิจารณาได้ความไม่ปรากฏความรับผิดร่วมด้วย เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) รวมทั้งเพื่อความถูกต้องในการบังคับคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
หนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุว่าให้ฟ้องผู้ใดบ้าง แต่การระบุให้ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับการทุจริต หรือต้องชดใช้เงินคืนทุกเรื่องเกี่ยวกับการเงินของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ย่อมหมายความถึงดำเนินการฟ้องร้องหรือเรียกเงินคืนจากผู้ทุจริตหรือผู้ต้องรับผิดชอบคืนเงินที่เบียดบังเอาเงินงบประมาณของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาผู้รับผิดชอบจนทราบตัวข้าราชการที่ต้องรับผิดชอบชดใช้เงินของโจทก์ได้แล้ว
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 มิได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 ร่วมกันทำละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 ผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 ตามสายงานต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 และที่ 18 ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 จะต้องรับผิดชอบเฉพาะการกระทำในส่วนที่จำเลยที่ 2 ที่ 15 และที่ 16 แต่ละคนได้กระทำไปด้วยความประมาทเลินเล่อเท่านั้น
การที่ผู้เบิกได้ลงลายมือชื่อในฎีกาเบิกเงินเดือนโดยตรวจข้อความและหลักฐานของแต่ละฎีกาที่เสนอขึ้นมาให้ลงลายมือชื่อแล้วมีจำนวนเงินตรงกันกับหลักฐาน ไม่อาจถือได้ว่าผู้เบิกปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่องหรือประมาทเลินเล่อ อย่างไรก็ตาม หากผู้เบิกที่มีหน้าที่ลงลายมือชื่อเบิกเงินในฎีกาเบิกเงินเดือนเป็นประจำหรือบ่อยครั้งอาจตรวจพบความผิดปกติในฎีกาเบิกเงินจากจำนวนเงินที่ขอเบิกสูงกว่าฎีกาอื่นอย่างมากและเป็นการเบิกซ้ำซ้อนกับที่เคยขอเบิกไปแล้ว จำเลยที่ 2 มิได้เป็นหัวหน้าส่วนราชการกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี จึงไม่มีหน้าที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกเงินในฎีกา และรับผิดชอบตรวจสอบเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัด แต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกเงินในฎีกาแทนจำเลยที่ 15 เฉพาะในกรณีที่จำเลยที่ 15 ไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ จึงไม่อาจตรวจสอบได้ว่า มีการเบิกเงินจำนวนสูงผิดปกติ และซ้ำซ้อนกับที่เบิกมาแล้วหรือไม่ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังและประมาทเลินเล่อ แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีอาวุโส รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากต้องลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกเงินในฎีกาแล้วยังต้องรับผิดชอบดูแลรักษาเงินการจ่ายเงิน หลักฐานการจ่ายเงินที่เบิกจากคลังจังหวัดและตรวจสอบบัญชีเงินคงเหลือตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 การที่จำเลยที่ 2 เบิกความรับว่า ได้มอบหมายให้สารวัตรการเงินและบัญชีดูแลรับผิดชอบโดยจะตรวจสอบหลักฐานการจ่ายเป็นครั้งคราวเท่านั้น หากไม่ได้รับรายงานเงินคงเหลือก็ไม่อาจทราบได้ว่ามีจำนวนเงินที่ต้องส่งคืนคลังจังหวัดหรือไม่ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ตรวจสอบหลักฐานการใช้จ่ายเงินที่เบิกมา ทำให้มีการทุจริตเบียดบังเอาเงินคงเหลือที่เกินกว่าหลักฐานการจ่ายไป ถือว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 17 เป็นหัวหน้าส่วนราชการกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี ต้องดูแลรับผิดชอบผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายและระเบียบแบบแผนของทางราชการการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 17 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตทำให้ราชการได้รับความเสียหาย แม้จะมีบุคคลหลายคนร่วมกันทำเป็นขบวนการ แต่ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 17 ไม่สามารถป้องกันได้ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 17 ทราบอยู่แล้วว่า มีเงินที่จะต้องเบิกจากคลังจังหวัดเป็นประจำทุกเดือนและจ่ายให้แก่ผู้รับในวันสิ้นเดือนนั้น มีฎีกาเบิกเงินเดือน และฎีกาเบิกเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ที่จะต้องทำฎีกาเบิกจากคลังจังหวัดภายในทุกวันที่ 15 ของเดือน แต่ละประเภทเดือนละ 1 ครั้ง และนำไปจ่ายให้แก่ข้าราชการในวันสิ้นเดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2527 ซึ่งจำเลยที่ 17 เข้าดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี มีการทุจริตทำฎีกาไม่ปกติเบิกเงินเดือนและเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ทุกเดือนเสนอสลับไปกับฎีกาปกติเบิกเงินเดือน และเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ตามปกติ ทำให้จำนวนฎีกาที่นำเสนอเบิกเงินจากคลังจังหวัดมีมากขึ้น จำนวนเงินที่ขอเบิกในแต่ละเดือนก็เพิ่มมากขึ้นกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ก่อนเข้ารับตำแหน่งจำเลยที่ 17 ก็ทราบบ้างแล้วถึงความไม่ชอบมาพากลของเจ้าหน้าที่แผนการเงินและบัญชี จึงทำเรื่องเสนอขอให้กรมตำรวจย้ายจำเลยที่ 3 ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสารวัตรการเงินและบัญชีออกไป แต่ก็ไม่อาจย้ายได้โดยทันที ดังนั้น จำเลยที่ 17 จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการตรวจสอบและลงลายมือชื่อเป็นผู้เบิกในแต่ละฎีกาให้เข้มงวดมากขึ้น แม้ข้อความและหลักฐานในฎีกาเบิกเงินที่เสนอให้จำเลยที่ 17 ลงลายมือชื่ออาจไม่พบข้อพิรุธหรือความผิดปกติ แต่จำเลยที่ 17 ควรต้องระแวงสงสัยว่าจำนวนฎีกาและจำนวนเงินรวมที่เสนอขอเบิกจากคลังจังหวัดมีจำนวนมากและสูงผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 17 ยังต้องรับผิดชอบตรวจสอบบัญชีเงินสดและบัญชีเงินคงเหลือเพื่อดูแลรักษาเงินที่เบิกจากคลังจังหวัดว่ายังมีเงินค้างจ่ายในแต่ละวัน แต่ละเดือน ที่ไม่มีหลักฐานการจ่ายอันจะต้องส่งคืนคลังจังหวัดมากน้อยเพียงใด หากจำเลยที่ 17 ได้ทำการตรวจสอบเป็นปกติตามระเบียบการเก็บรักษาและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ย่อมต้องทราบว่าเงินที่เบิกจากคลังจังหวัดมาแล้วยังไม่มีการจ่ายมีมากน้อยเพียงใด เจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมไม่อาจกระทำการทุจริต ทำฎีกาเท็จเบิกเงินซ้ำซ้อนแล้วเบียดบังไปเป็นประโยชน์ของตนได้โดยง่าย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 17 ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่วิสัยและพฤติการณ์ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวแล้ว ถือว่าจำเลยที่ 17 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ที่จำเลยที่ 17 ฎีกาว่า หลังจากทราบการกระทำผิด จำเลยที่ 17 ได้ติดตามยึดทรัพย์คืนได้จากผู้กระทำผิดจำนวนถึง 30 ล้านบาทเศษ จึงต้องนำจำนวนเงินดังกล่าวหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 17 ต้องรับผิด และหากรวมค่าเสียหายที่จำเลยแต่ละคนต้องรับผิดจะเกินกว่าทุนทรัพย์ตามฟ้องนั้น เป็นกรณีที่ความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไม่เกินไปกว่าหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนการจะติดตามทรัพย์สินคืนได้เพียงใดก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 17 ชอบที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดี
จำเลยที่ 11 เป็นคลังจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตรวจอนุมัติฎีกาเบิกเงินทุกประเภทแทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในวันหนึ่ง ๆ คลังจังหวัดต้องลงลายมือชื่ออนุมัติฎีกาประมาณ 100 ถึง 200 ฎีกา เป็นที่เห็นได้ว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจอนุมัติฎีกานั้น จำเลยที่ 11 ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วเพื่อให้การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในจังหวัดอุบลราชธานีนำเงินไปใช้ในการบริหารงานในส่วนราชการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การตรวจอนุมัติฎีกาของจำเลยที่ 11 เป็นการกระทำในขั้นตอนสุดท้ายของการเสนอขอเบิกเงินจากคลังจังหวัดซึ่งแต่ละฎีกากว่าจะทำเสนอให้จำเลยที่ 11 ตรวจและลงลายมือชื่ออนุมัตินั้น ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบจากข้าราชการระดับล่างหลายขั้นตอนจนถึงผู้ช่วยคลังจังหวัด ซึ่งจะต้องตรวจสอบความถูกต้องเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะนำเสนอให้จำเลยที่ 11 อนุมัติ เห็นว่า การตรวจสอบก่อนลงลายมือชื่ออนุมัติ จำเลยที่ 11 จะต้องตรวจสอบว่ามีการลงลายมือชื่อครบถ้วนและถูกต้องในฎีกาเป็นลำดับหรือไม่ มีการแก้ไขจำนวนเงินหรือไม่ และจำนวนเงินที่ขอเบิกตรงกันกับใบหน้างบและเอกสารแนบท้ายฎีกาหรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามวิสัยและพฤติการณ์ของผู้อนุมัติฎีกาแล้ว การที่จำเลยที่ 11 ลงลายมือชื่ออนุมัติในฎีกาที่มีการตรวจผ่านตามลำดับขั้นตอน และตามระเบียบราชการ แม้จะเป็นฎีกาที่ไม่ปกติ ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 11 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงได้ความว่า มีหลายฎีกาที่นอกจากจำเลยที่ 11 ลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้อนุมัติฎีกา จำเลยที่ 11 ยังได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจฎีกาแทนที่ผู้ช่วยคลังจังหวัดอีกฐานะหนึ่งด้วย ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 11 ในส่วนนี้ จำเลยที่ 11 ต้องปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบความยิ่งกว่าการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อนุมัติฎีกาเพียงฐานะเดียว โดยเฉพาะฎีกาที่ไม่ปกติหลายฎีกาต่อเนื่องกัน หากตามพฤติการณ์จำเลยที่ 11 ควรทราบถึงความผิดสังเกตของฎีกาไม่ปกติแล้ว จำเลยที่ 11 ลงลายมือชื่อตรวจผ่านและลงลายมือชื่ออนุมัติในฐานะคลังจังหวัดด้วยแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 11 ถือได้ว่าเป็นการประมาทเลินเล่อ
อายุความเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดนั้น ต้องนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหมายความถึงว่าผู้เสียหายต้องรู้ถึงความเสียหายด้วย รายงานการสอบสวนและบันทึกความเห็นในการดำเนินคดีนั้น มุ่งสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดอาญาและการฟ้องร้องผู้กระทำผิดให้รับโทษทางอาญา ในรายงานการสอบสวนและบันทึกดังกล่าวไม่ปรากฏจำนวนความเสียหายว่ามากน้อยเพียงใด จึงไม่อาจเริ่มต้นนับอายุความ 1 ปี อันเป็นวันที่โจทก์ได้รับทราบรายงานการสอบสวนและบันทึกความเห็นในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำการทุจริต
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 15 รับผิดสำนวนแรกโดยมีทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 19,597,486.38 บาท ให้จำเลยที่ 17 และที่ 18 รับผิดสำนวนที่สอง โดยมีทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 40,271,015.97 บาท และให้รับผิดสำนวนที่สามโดยมีทุนทรัพย์ตามฟ้องจำนวน 27,275,927.55 บาท ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 15 ถึงที่ 18 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทุกสำนวนแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความทั้งสามสำนวนรวม 100,000 บาท นั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยแต่ละคนร่วมรับผิดตามจำนวนเงินที่ฟ้องทั้งหมดโดยไม่แบ่งแยกเป็นรายสำนวน ซึ่งมีผลให้จำเลยบางคนต้องร่วมรับผิดในสำนวนที่ไม่ถูกฟ้องหรือข้อเท็จจริงตามที่พิจารณาได้ความไม่ปรากฏความรับผิดร่วมด้วย เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) รวมทั้งเพื่อความถูกต้องในการบังคับคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5160/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้ขับขี่และผู้เอาประกันภัย รวมถึงการคิดดอกเบี้ยจากวันที่จ่ายค่าเสียหาย
ตารางกรมธรรม์เอกสารท้ายคำให้การที่จำเลยที่ 2 ทำประกันภัยกับจำเลยที่ 3 ข้อ 2.3 ระบุให้จำเลยที่ 3 รับผิดในความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไม่เกิน 250,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง จำเลยที่ 3 จึงร่วมรับผิดไม่เกินจำนวนดังกล่าว
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินไป เมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายจำนวน 500,000 บาท ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งใบสั่งจ่ายระบุวันจ่ายเงินวันที่ 27 มีนาคม 2539 จึงเห็นสมควรแก้ไขให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 27 มีนาคม 2539 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินไป เมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายจำนวน 500,000 บาท ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งใบสั่งจ่ายระบุวันจ่ายเงินวันที่ 27 มีนาคม 2539 จึงเห็นสมควรแก้ไขให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 27 มีนาคม 2539 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้, การเลิกสัญญาโดยปริยาย, อัตราดอกเบี้ย, และการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
ป.พ.พ. มาตรา 1249 บัญญัติว่า "ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี" กับมาตรา 1250 บัญญัติว่า "หน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือ ชำระสะสางการงานของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น" บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ให้นิติบุคคลซึ่งเป็นบุคคลสมมุติจะเลิกได้นั้นจะต้องมีการชำระบัญชีเพื่อมีการชำระหนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้ และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของนิติบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี จึงได้กำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ชัดแจ้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้และบังคับให้ผู้ชำระบัญชีต้องปฏิบัติอันจะส่งผลก่อเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่มีนิติสัมพันธ์กับนิติบุคคล ยิ่งไปกว่านั้นรัฐยังได้ตรา พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 ซึ่งมีโทษทางอาญากำกับไว้อีกด้วย โดยมาตรา 32 บัญญัติระวางโทษปรับไม่เกินแปดหมื่นบาทแก่ผู้ชำระบัญชีที่ไม่กระทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1253 ซึ่งกำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีจะต้องกระทำ เช่น ต้องส่งคำบอกกล่าวว่านิติบุคคลนั้นได้เลิกกันแล้วเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลายทุกๆ คน บรรดามีชื่อปรากฏในสมุดบัญชีหรือเอกสารของห้างหรือบริษัทนั้น ในการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และร่วมเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดโดยไม่ส่งคำบอกกล่าวการเลิกบริษัทแก่โจทก์เพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีและตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ดำเนินการชำระบัญชีโดยไม่สุจริต มีเจตนาฉ้อฉลต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ จึงต้องถือว่าการชำระบัญชียังไม่สำเร็จลงตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1270 วรรคหนึ่ง การที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนการชำระบัญชีไม่ว่าจะโดยสมรู้กับจำเลยที่ 2 หรือเป็นการหลงผิดก็ไม่ถือว่าการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ได้ถึงที่สุดแล้ว แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามมาตรา 1249 อายุความสองปีตามมาตรา 1272 จึงยังไม่เริ่มนับ คดีโจทก์ย่อมไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัตินี้ โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อจำเลยที่ 1 กลับคืนเข้าสู่ทะเบียนนิติบุคคลตามมาตรา 1246 (6) (มาตรา 1273/4 ตามที่แก้ไขใหม่) ทั้งนี้เพราะกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องนายทะเบียนบริษัทมีมูลเหตุอันสมควรเชื่อว่าบริษัทใดมิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว บทบัญญัติในมาตรา 1246 (1) (มาตรา 1273/1 ตามที่แก้ไขใหม่) จึงต้องกำหนดให้นายทะเบียนมีจดหมายไต่ถามไปยังบริษัทนั้น ซึ่งต่างกับเหตุในคดีนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแสดงเจตนาเลิกบริษัทเอง
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ แต่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชีเป็นเวลานาน โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชอบที่จะใช้สิทธิทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาโดยให้เวลาพอสมควรแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ใช้สิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาโดยตรงต่อจำเลยที่ 1 แต่พฤติการณ์ที่โจทก์เพิกเฉยมิได้ดำเนินการอย่างใดในการที่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชี จึงมีเหตุผลเพียงพอให้รับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันโดยปริยายตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งมีการหักทอนบัญชีตามสัญญาเป็นครั้งสุดท้าย
โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นระยะๆ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไปของประกาศโจทก์ จึงเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินในอัตราลอยตัว คือ ในอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 (ที่ใช้บังคับในขณะนั้น) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ แต่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชีเป็นเวลานาน โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชอบที่จะใช้สิทธิทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาโดยให้เวลาพอสมควรแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ใช้สิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาโดยตรงต่อจำเลยที่ 1 แต่พฤติการณ์ที่โจทก์เพิกเฉยมิได้ดำเนินการอย่างใดในการที่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชี จึงมีเหตุผลเพียงพอให้รับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันโดยปริยายตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งมีการหักทอนบัญชีตามสัญญาเป็นครั้งสุดท้าย
โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นระยะๆ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไปของประกาศโจทก์ จึงเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินในอัตราลอยตัว คือ ในอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 (ที่ใช้บังคับในขณะนั้น) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาไม่ครบตามกฎหมาย ทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นโมฆะ
ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัดต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้นั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีโดยมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะซึ่งไม่อยู่ในอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247