พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,368 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10808/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับพิจารณาเนื่องจากจำเลยดำเนินกระบวนการชำระค่าธรรมเนียมศาลล่าช้าเกินสมควร และไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 22 เมษายน 2556 ขอขยายระยะเวลานำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2552 ที่ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 30 วัน โดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินได้ทัน และผู้มีชื่อนัดช่วยเหลือจำเลย
ทั้ง ๆ ที่กำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้นได้ล่วงพ้นไปแล้วประมาณ 4 ปีเศษ อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของจำเลยเองมิใช่พฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามคำขอของจำเลย และจำเลยได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาชำระภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายอันจะรับไว้พิจารณาได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ทั้ง ๆ ที่กำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้นได้ล่วงพ้นไปแล้วประมาณ 4 ปีเศษ อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของจำเลยเองมิใช่พฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาตามคำขอของจำเลย และจำเลยได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาชำระภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายอันจะรับไว้พิจารณาได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9751/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาวันที่ 20 มิถุนายน 2556 โจทก์ที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 18 กันยายน 2556 ต่อมาโจทก์ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์มาภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ชอบแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้โจทก์ที่ 1 ไม่ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1), (2) ประกอบมาตรา 247 แต่เนื่องจากโจทก์ทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงโจทก์ที่ 2 ใหม่ด้วยตามรูปคดี ศาลฎีกาจึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9174/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีละเมิดจากการฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกิน
คดีแพ่งทั้งสองคดีในคดีก่อน จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 กับโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ ให้ร่วมกันโอนที่ดินรวม 8 แปลง แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 กับโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้ง 8 แปลงดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 จึงต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลงดังกล่าวคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ โจทก์ร้องขอพิจารณาคดีใหม่ แต่ศาลยกคำร้อง คดีถึงที่สุดแล้ว คดีแพ่งทั้งสองคดีในคดีก่อนจึงมีประเด็นเพียงว่า จำเลยที่ 2 กับโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้ง 8 แปลงดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 หรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันฟ้องเท็จและเบิกความเท็จในคดีแพ่งทั้งสองคดีในคดีก่อนอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คดีนี้รูปคดีจึงเป็นเรื่องละเมิดซึ่งมีประเด็นว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันฟ้องเท็จและเบิกความเท็จหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นในภายหลังและศาลในคดีก่อนทั้งสองคดียังไม่ได้มีการวินิจฉัย ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งทั้งสองคดีดังกล่าว
อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์เป็นการโต้แย้งเรื่องอำนาจฟ้องมิได้ขอให้โจทก์ชนะคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (2) ท้าย ป.วิ.พ. แต่โจทก์เสียมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เสียเกินมาให้โจทก์ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์เป็นการโต้แย้งเรื่องอำนาจฟ้องมิได้ขอให้โจทก์ชนะคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (2) ท้าย ป.วิ.พ. แต่โจทก์เสียมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เสียเกินมาให้โจทก์ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9033/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินของบริษัทล้มละลายที่ขัดต่อคำสั่งศาล
ผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยในคดีล้มละลายซึ่งมีอำนาจรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายอ้างว่า จำเลยซึ่งถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมในคดีนี้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 และบันทึกข้อตกลง เรื่อง โอนชำระหนี้ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 กับโจทก์ โดยฝ่าฝืนคำสั่งนายทะเบียน ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ที่ให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทรับประกันวินาศภัยหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว และห้ามมิให้จำเลยเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยเว้นแต่เป็นการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างตามปกติตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 การโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 70108 พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านทาวน์เฮาส์สองชั้นเลขที่ 38/138 และ 38/139 ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะ และมีผลให้ผู้คัดค้านซึ่งรับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ไม่ใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลายโดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย เนื่องจากนิติกรรมที่จำเลยโอนให้แก่โจทก์เป็นโมฆะกรรมไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของทรัพย์และไม่มีสิทธิโอนให้แก่ผู้คัดค้านได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องว่ากล่าวตามอำนาจหน้าที่ของผู้ร้องในคดีล้มละลาย มิใช่ยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพราะมิใช่เรื่องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลซึ่งคำร้องนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง หรือเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) (4) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8805/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: จำเลยต้องวางค่าทนายความก่อนฎีกา มิเช่นนั้นฎีกาเป็นโมฆะ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 5 ใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 1,500 บาท แทนโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 5 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของโจทก์ จำเลยที่ 5 จึงต้องนำเงินค่าทนายความตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายมาวางศาลพร้อมกับฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 เมื่อจำเลยที่ 5 ไม่นำเงินค่าทนายความมาวางศาลพร้อมฎีกา แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 5 ก็ถือว่าเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8689/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีผิดบุคคล การยึดทรัพย์เจ้าของที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ศาลต้องไต่สวนและเพิกถอนการบังคับคดี
ตามคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของผู้ร้องโดยไม่ชอบเพราะผู้ร้องไม่ได้เป็นลูกหนี้โจทก์ ผู้ร้องและจำเลยที่ 1 มีชื่อและชื่อสกุลซ้ำกัน เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และมีคำขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีเสียทั้งหมดตั้งแต่มีการยึดทรัพย์ หาใช่เป็นคำร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ และตามคำร้องดังกล่าวเป็นคำร้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302
การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของผู้ร้องซึ่งมิใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีผลให้กระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการมาทั้งหมดย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว ก็ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาใช้บังคับแก่ผู้ร้องได้ เพราะผู้ร้องมิใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ การขายทอดตลาด รวมทั้งกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีเสียทั้งหมดเพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และมาตรา 296 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องโดยมิได้ไต่สวนคำร้องเสียก่อน และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องนั้น จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ชอบ
เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา จึงต้องยกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247 แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องแล้วมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป
การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของผู้ร้องซึ่งมิใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีผลให้กระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการมาทั้งหมดย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว ก็ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาใช้บังคับแก่ผู้ร้องได้ เพราะผู้ร้องมิใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ การขายทอดตลาด รวมทั้งกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีเสียทั้งหมดเพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และมาตรา 296 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องโดยมิได้ไต่สวนคำร้องเสียก่อน และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องนั้น จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ชอบ
เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา จึงต้องยกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247 แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องแล้วมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8614/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ครบถ้วน ศาลฎีกายกคำพิพากษาให้พิจารณาใหม่ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ยื่นอุทธรณ์มาคนละฉบับ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยเพียงอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 โดยไม่มีเนื้อหาวินิจฉัยถึงอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ได้วินิจฉัยคดีตามฟ้องอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 240 คดีมีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาจะยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 แล้วให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาและพิพากษาใหม่ทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8458/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีสิทธิเก็บกินที่ดินพิพาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เคยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 เรื่อง สิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาท ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 568/2553 และหมายเลขแดงที่ 229/2555 ของศาลชั้นต้น ประเด็นในคดีดังกล่าวกับคดีนี้มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อในคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7956/2557 ว่า นายแผนไม่เคยมอบสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น ประเด็นในคดีนี้ที่ว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิเก็บกินในที่ดินพิพาทหรือไม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้คดีนี้จะมีการฟ้องร้องกันก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะมีคำพิพากษาก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาชี้ขาดคดีแล้ว กรณีก็ต้องอยู่ใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8440/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้าม: ประเด็นสิทธิในที่ดินซ้ำกับคดีบังคับคดีก่อน ศาลฎีกายืนยกฟ้อง
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในคดีนี้กับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งโจทก์ขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีเอาแก่ จ. กับพวกตามคดีแพ่งของศาลชั้นต้นเป็นทรัพย์รายเดียวกัน โดยคดีดังกล่าวโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องให้ จ. กับพวกรับผิดตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนอง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี แต่ จ. กับพวกไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์จำนองในคดีดังกล่าวออกขายทอดตลาด และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ จ. กับพวกยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาล จำเลยในคดีนี้ได้ยื่นคำร้องในคดีดังกล่าวว่า จำเลยมิใช่บริวารของ จ. กับพวกและอ้างว่า จำเลยอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้ก่อนโจทก์ รวมทั้งได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ จ. ในอันที่จะบังคับให้ จ. ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้แก่จำเลย จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้มีอำนาจพิเศษ และมีคำสั่งให้ถอนการบังคับคดีแก่จำเลย โจทก์จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบด้วยมาตรา 142 (1) โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่ง คดีในชั้นบังคับคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีดังกล่าวจึงถึงที่สุด จึงต้องฟังว่าจำเลยอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้ก่อน การที่โจทก์มายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท คดีนี้จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับในคดีก่อนนั่นเอง ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามไม่ให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหลังคำพิพากษาถึงที่สุด และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยประเด็นความสงบเรียบร้อย
คำร้องของผู้ร้องที่อ้างว่ามีข้อเท็จจริงเกิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับการเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์เดิมของบริษัท พ. และมีผลให้บริษัทดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ได้ กับมีคำขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ และมีคำสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 มีผลเท่ากับเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ในเรื่องเดียวกันที่ขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และคดีถึงที่สุดแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีที่ไว้วินิจฉัยไว้แล้วนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ปัญหาที่ว่าคำร้องของจำเลยที่ 3 เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247