พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2469/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถชนกัน ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ศาลแก้ไขโทษจำคุกให้เหมาะสม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองขับรถยนต์ชนกันโดยประมาททำให้ผู้โดยสารในรถถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยทั้งสองประมาท แต่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 2 หนักเกินไป เห็นควรแก้ไขให้เหมาะสม และเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสองเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งอันเดียวกัน และหลังเกิดเหตุฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้นำเงินไปช่วยเป็นค่าปลงศพและค่ามนุษยธรรมแก่ฝ่ายผู้เสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาโดยกำหนดโทษให้เบาลงอีกไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2469/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถและการลดโทษจำเลยที่ไม่ฎีกา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองขับรถยนต์ชนกันโดยประมาททำให้ผู้โดยสารในรถถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์-พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยทั้งสองประมาท แต่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 2 หนักเกินไป เห็นควรแก้ไขให้เหมาะสม และเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสองเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งอันเดียวกัน และหลังเกิดเหตุฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้นำเงินไปช่วยเป็นค่าปลงศพ และค่ามนุษยธรรมแก่ฝ่ายผู้เสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาโดยกำหนดโทษให้เบาลงอีกไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาแก้ปัญหาข้อเท็จจริงนอกฎีกา และการประเมินความผิดฐานประมาท
เมื่อศาลฎีการับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยจะว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดโดยบันดาลโทสะ แล้ว แม้ฎีกาของจำเลยในข้อต่อไปที่ว่าจำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายตามคำฟ้องหรือไม่เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนฟังไม่ได้ว่าจำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายซึ่งมีผลให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาขึ้นวินิจฉัย และพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบด้วย มาตรา 215 และ 225
แม้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า เหตุที่อาวุธปืนลั่นเป็นเพราะจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยถืออาวุธปืนวิ่งไล่ตามยิงขู่ผู้เสียหายตามวิสัยและพฤติการณ์เช่นนั้น จำเลยต้องใช้ความระมัดระวังให้มาก เพราะวิถี-กระสุนปืนอาจจะไปถูกผู้เสียหายได้ แต่จำเลยหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เป็นเหตุให้อาวุธปืนลั่นไปถูกผู้เสียหายเมื่อถูกผู้เสียหายใช้มือปัดและผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บกระดูกนิ้วชี้หักต้องใช้เวลารักษาให้หายเป็นปกติประมาณ 3 เดือน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 แม้ว่าทางพิจารณาจะได้ความแตกต่างกับคำฟ้อง แต่การแตกต่างระหว่างการกระทำโดยเจตนากับประมาทนั้น กฎหมายมิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
แม้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า เหตุที่อาวุธปืนลั่นเป็นเพราะจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยถืออาวุธปืนวิ่งไล่ตามยิงขู่ผู้เสียหายตามวิสัยและพฤติการณ์เช่นนั้น จำเลยต้องใช้ความระมัดระวังให้มาก เพราะวิถี-กระสุนปืนอาจจะไปถูกผู้เสียหายได้ แต่จำเลยหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เป็นเหตุให้อาวุธปืนลั่นไปถูกผู้เสียหายเมื่อถูกผู้เสียหายใช้มือปัดและผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บกระดูกนิ้วชี้หักต้องใช้เวลารักษาให้หายเป็นปกติประมาณ 3 เดือน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 แม้ว่าทางพิจารณาจะได้ความแตกต่างกับคำฟ้อง แต่การแตกต่างระหว่างการกระทำโดยเจตนากับประมาทนั้น กฎหมายมิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความเสียหายทางกายที่ต้องป่วยเจ็บเกิน 20 วัน และความเห็นแพทย์ที่สอดคล้อง
การที่แพทย์ลงความเห็นว่า เมื่อได้รับการรักษาและไม่มีอาการแทรกซ้อนจะหายภายใน 8 สัปดาห์สำหรับผู้เสียหายที่ 2 และ 6 สัปดาห์สำหรับผู้เสียหายที่ 3 นั้น หมายความว่าผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ต้องป่วยเจ็บเป็นเวลาเกินกว่า 20 วัน การป่วยเจ็บนี้ย่อมหมายความรวมถึงอาจป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ด้วย ดังนั้นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน และจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันนั้น จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ถูกต้องสมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา158 (5) แล้ว ไม่จำเป็นที่แพทย์ต้องลงความเห็นว่า ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เพราะผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จะป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา การบรรยายฟ้องโจทก์และความเห็นของแพทย์ดังกล่าวมาข้างต้นมิได้ขัดกันหรือขัดต่อข้อเท็จจริงแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของคำฟ้องอาญาที่บรรยายอาการบาดเจ็บสาหัส: การตีความระยะเวลาป่วยเจ็บตามรายงานแพทย์
การที่แพทย์ลงความเห็นว่า เมื่อได้รับการรักษาและไม่มีอาการแทรกซ้อนจะหายภายใน 8 สัปดาห์สำหรับผู้เสียหายที่ 2 และ 6 สัปดาห์ สำหรับผู้เสียหายที่ 3นั้น หมายความว่าผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ต้องป่วยเจ็บเป็นเวลาเกินกว่า 20 วัน การป่วยเจ็บนี้ย่อมหมายความรวมถึงอาจป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ด้วย ดังนั้นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายที่ 2และที่ 3 ได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน และจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันนั้น จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว ไม่จำเป็นที่แพทย์ต้องลงความเห็นว่าผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เพราะผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จะป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา การบรรยายฟ้องโจทก์และความเห็นของแพทย์ดังกล่าวมาข้างต้นมิได้ขัดกันหรือขัดต่อข้อเท็จจริงแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกโดยไม่สืบพยาน เมื่อจำเลยรับสารภาพ และโทษไม่มีอัตราขั้นต่ำ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคแรกถือเอาอัตราโทษอย่างต่ำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เป็นเกณฑ์ที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ คดีนี้มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท โดยไม่มีอัตราโทษอย่างต่ำ การที่ศาลลงโทษจำคุก 6 ปี ลดแล้วเหลือ 3 ปี เป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จำเลยจะต้องรับ มิใช่เป็นโทษที่กฎหมายกำหนดว่าจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์ ศาลลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี ไม่เข้าหลักเกณฑ์จะรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทขับรถจักรยานยนต์ ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายทางกาย ศาลฎีกาพิจารณาความร้ายแรงของบาดแผลเพื่อลงโทษตามกฎหมาย
ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และ พ. ได้รับอันตรายสาหัส ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า 20 วัน แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า พ.ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า 20 วันอย่างไรอันจะถือว่า พ.ได้รับอันตรายสาหัส แม้จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ได้รับอันตรายสาหัส แต่ก็เป็นผลมาจากการกระทำของจำเลยที่ 1เอง จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ไม่ได้การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงคงเป็นความผิดตามมาตรา 390 เท่านั้นและแม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส: การพิสูจน์ความเสียหายและขอบเขตความรับผิด
ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และ พ.ได้รับอันตรายสาหัส ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า20 วัน แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า พ.ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า 20 วันอย่างไร อันจะถือว่าพ.ได้รับอันตรายสาหัส แม้จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส แต่ก็เป็นผลมาจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เอง จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 300 ไม่ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงคงเป็นความผิดตามมาตรา 390 เท่านั้น และแม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา พิจารณาจากอัตราโทษของความผิดที่ศาลลงโทษ แม้ฟ้องตามข้อหาอื่น
อายุความฟ้องคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษของความผิดที่พิจารณาได้ความ เมื่อได้ความเป็นยุติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 390 ซึ่งมีอายุความฟ้องภายใน 1 ปี ตามมาตรา 95(5) และปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน1 ปี นับแต่วันกระทำผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับอำนาจโจทก์ร่วมในคดีจราจร และการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 43, 45, 157 และ ป.อ. มาตรา 300 สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายโจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 300 เท่านั้น เมื่อผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตพอแปลความหมายได้ว่าอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมเฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 300
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยหลงข้อต่อสู้เพราะตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยขับรถแซงทางด้านซ้ายและเกิดเหตุเฉี่ยวชนที่ไหล่ทางจำเลยต่อสู้คดีตลอดมาว่า ไม่ได้แซงทางด้านซ้ายและไม่ได้เฉี่ยวชน ข้อเท็จจริงก็ได้ความตามที่จำเลยต่อสู้ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ ถ้าในขณะยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายแล้วก็เป็นอุทธรณ์ที่ชอบ ถึงแม้ภายหลังจะมีบทกฎหมายบัญญัติขึ้นใหม่ให้ต้องห้ามอุทธรณ์ก็ไม่ตัดสิทธิของผู้อุทธรณ์ที่จะได้รับการพิจารณาต่อไป
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยหลงข้อต่อสู้เพราะตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยขับรถแซงทางด้านซ้ายและเกิดเหตุเฉี่ยวชนที่ไหล่ทางจำเลยต่อสู้คดีตลอดมาว่า ไม่ได้แซงทางด้านซ้ายและไม่ได้เฉี่ยวชน ข้อเท็จจริงก็ได้ความตามที่จำเลยต่อสู้ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ ถ้าในขณะยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายแล้วก็เป็นอุทธรณ์ที่ชอบ ถึงแม้ภายหลังจะมีบทกฎหมายบัญญัติขึ้นใหม่ให้ต้องห้ามอุทธรณ์ก็ไม่ตัดสิทธิของผู้อุทธรณ์ที่จะได้รับการพิจารณาต่อไป