พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินคำอุทธรณ์เรื่องระยะเวลาชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์
โจทก์ยื่นฟ้องอุทธรณ์ว่า ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์เดือนละ1,500 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์เป็นเดือนละ 4,500 บาท มิได้อุทธรณ์ว่าให้สิ้นสุดลงตั้งแต่เมื่อใด ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นอุทธรณ์ ประเด็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์ควรจะวินิจฉัยก็คือสมควรจะให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ในอัตราใดระหว่างตั้งแต่1,500 บาท ถึง 4,500 บาท แต่ไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเรื่องวันที่สิ้นสุดของการชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า อัตราค่าชดใช้ที่โจทก์ขอมานั้นสูงเกินไปส่วนอัตราค่าชดใช้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้นั้นต่ำเกินไป จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2 ใช้ในอัตราเดือนละ 3,000 บาท ซึ่งเป็นประเด็นอยู่ในคำฟ้องอุทธรณ์จึงชอบแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไปอีกว่าการที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยที่ 2 จะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทนนั้นนานเกินไปเพราะมิได้กำหนดระยะเวลาไว้เห็นสมควรกำหนดให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์นับจากวันฟ้องไปเพียงอีก 2 เดือน ข้อนี้เป็นการวินิจฉัยเกินจากคำฟ้องอุทธรณ์ เพราะไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ประเด็นเรื่องวันที่ของการสิ้นสุดชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้จึงไม่ชอบ สมควรแก้ไขให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าขาดประโยชน์อันเกิดจากการใช้ทรัพย์นับจากวันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์: ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์และการกำหนดระยะเวลาชดใช้
โจทก์ยื่นฟ้องอุทธรณ์ว่า ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2ใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์เดือนละ 1,500 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์เป็นเดือนละ 4,500 บาทมิได้อุทธรณ์ว่าให้สิ้นสุดลงตั้งแต่เมื่อใด ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นอุทธรณ์ ประเด็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์ควรจะวินิจฉัยก็คือสมควรจะให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ในอัตราใดระหว่างตั้งแต่ 1,500 บาท ถึง 4,500 บาทแต่ไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเรื่องวันที่สิ้นสุดของการชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า อัตราค่าชดใช้ที่โจทก์ขอมานั้นสูงเกินไปส่วนอัตราค่าชดใช้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้นั้นต่ำเกินไป จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2ใช้ในอัตราเดือนละ 3,000 บาท ซึ่งเป็นประเด็นอยู่ในคำฟ้องอุทธรณ์จึงชอบแล้วแต่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2ชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยที่ 2 จะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทนนั้นนานเกินไปเพราะมิได้กำหนดระยะเวลาไว้เห็นสมควรกำหนดให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์นับจากวันฟ้องไปเพียงอีก 2 เดือน ข้อนี้เป็นการวินิจฉัยเกินจากคำฟ้องอุทธรณ์ เพราะไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ประเด็นเรื่องวันที่ของการสิ้นสุดชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้จึงไม่ชอบ สมควรแก้ไขให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าขาดประโยชน์อันเกิดจากการใช้ทรัพย์นับจากวันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้มีคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้
โจทก์นำยึดที่ดินมีโฉนดของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินใช้หนี้เงินกู้ตามคำพิพากษา. ปรากฏว่าที่ดินแปลงนี้จำเลยได้ขายให้ผู้ร้องขัดทรัพย์แล้วตั้งแต่ พ.ศ.2511 แต่การโอนขัดข้อง ผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ฟ้องจำเลย ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง หากจำเลยไม่จัดการโอน ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย คดีถึงที่สุดแล้ว แม้ศาลได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงินให้แก่โจทก์ และโจทก์ยึดทรัพย์จำเลยก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีจำเลยดังกล่าว และกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดนี้ยังไม่ได้เปลี่ยนมือและยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้สิทธิที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้โดยผลแห่งคำพิพากษาคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินให้ซึ่งถึงที่สุดแล้วเช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้ก่อนโจทก์ ซึ่งเพียงแต่ยึดที่ดินแปลงนี้ไว้เพื่อบังคับคดีเท่านั้น ผู้ร้องย่อมจะขอให้เพิกถอนการยึดของโจทก์ได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เช่นกัน กรณีต่างกับมาตรา 1299 ซึ่งเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิซึ่งยังไม่บริบูรณ์จนกว่าจะได้จดทะเบียนทรัพย์สิทธินั้นๆ แล้ว
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานผู้ร้องและพยานโจทก์และพิพากษายกคำร้องของผู้ร้องขัดทรัพย์ แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์จะอุทธรณ์ขอให้มีการสืบพยานใหม่เท่านั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะตรวจดูได้เพียงพอที่จะชี้ขาดได้แล้วศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะชี้ขาดพิพากษาคดีไปได้เลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240 วรรคแรก
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานผู้ร้องและพยานโจทก์และพิพากษายกคำร้องของผู้ร้องขัดทรัพย์ แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์จะอุทธรณ์ขอให้มีการสืบพยานใหม่เท่านั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะตรวจดูได้เพียงพอที่จะชี้ขาดได้แล้วศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะชี้ขาดพิพากษาคดีไปได้เลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240 วรรคแรก