พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกโดยไม่สืบพยาน เมื่อจำเลยรับสารภาพ และโทษไม่มีอัตราขั้นต่ำ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคแรกถือเอาอัตราโทษอย่างต่ำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เป็นเกณฑ์ที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ คดีนี้มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท โดยไม่มีอัตราโทษอย่างต่ำ การที่ศาลลงโทษจำคุก 6 ปี ลดแล้วเหลือ 3 ปี เป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จำเลยจะต้องรับ มิใช่เป็นโทษที่กฎหมายกำหนดว่าจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์ ศาลลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี ไม่เข้าหลักเกณฑ์จะรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทขับรถจักรยานยนต์ ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายทางกาย ศาลฎีกาพิจารณาความร้ายแรงของบาดแผลเพื่อลงโทษตามกฎหมาย
ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และ พ. ได้รับอันตรายสาหัส ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า 20 วัน แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า พ.ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า 20 วันอย่างไรอันจะถือว่า พ.ได้รับอันตรายสาหัส แม้จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1ได้รับอันตรายสาหัส แต่ก็เป็นผลมาจากการกระทำของจำเลยที่ 1เอง จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ไม่ได้การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงคงเป็นความผิดตามมาตรา 390 เท่านั้นและแม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส: การพิสูจน์ความเสียหายและขอบเขตความรับผิด
ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และ พ.ได้รับอันตรายสาหัส ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า20 วัน แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า พ.ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า 20 วันอย่างไร อันจะถือว่าพ.ได้รับอันตรายสาหัส แม้จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส แต่ก็เป็นผลมาจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เอง จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 300 ไม่ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงคงเป็นความผิดตามมาตรา 390 เท่านั้น และแม้ปัญหานี้ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา พิจารณาจากอัตราโทษของความผิดที่ศาลลงโทษ แม้ฟ้องตามข้อหาอื่น
อายุความฟ้องคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษของความผิดที่พิจารณาได้ความ เมื่อได้ความเป็นยุติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 390 ซึ่งมีอายุความฟ้องภายใน 1 ปี ตามมาตรา 95(5) และปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน1 ปี นับแต่วันกระทำผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากความประมาทเลินเล่อที่ไม่ช่วยเหลือบุตรที่คลอดก่อนกำหนดและถูกโยนลงจากที่สูง
จำเลยที่ 2 สำคัญผิดว่าบุตรแรกเกิดของตนถึงแก่ความตายแล้วจึงโยนลงมาจากหน้าต่างโรงแรม แม้โจทก์จะไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ร่วมลงมือกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 แต่การที่ จำเลยที่ 1 อยู่ร่วมห้องเดียวกับจำเลยที่ 2 ตามลำพัง ในขณะที่จำเลยที่ 2 คลอดบุตร จำเลยที่ 2 ย่อมต้องมีความเจ็บปวด ซึ่งจะต้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ช่วยเหลือตน ตามพฤติการณ์จึงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นในการคลอดบุตรของจำเลยที่ 2 แม้จะเป็นการคลอดก่อนกำหนดประมาณ 2 เดือนเศษก็หาใช่ว่าเด็กทารกจะไม่มีชีวิต รอดอยู่เสมอไปไม่ จำเลยที่ 1 ในฐานะบิดาย่อมมีหน้าที่ต้องเอาใจใส่ดูแล บุตรด้วยการใช้ความระมัดระวังตรวจดู ให้ถ้วนถี่เสียก่อนว่าบุตรที่เกิดมายังมีชีวิต รอดอยู่หรือไม่ มิใช่ปล่อยให้จำเลยที่ 2 โยนบุตรทิ้งไปโดยมิได้ห้ามปรามทั้ง ๆ ที่ จำเลยที่ 1สามารถใช้ความระมัดระวังในกรณีเช่นนี้ได้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 390.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ: ผู้ขับรถที่แซงขึ้นจากไหล่ทางด้วยความเร็วสูงเป็นฝ่ายประมาทแต่เพียงผู้เดียว
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารแล่นตามกันไปในขบวนซึ่งมีรถวิทยุตำรวจทางหลวงเปิดไฟสัญญาวับวาบ แล่นนำหน้า เชื่อได้ว่ารถที่จำเลยที่ 1 ขับนั้นแล่นด้วยความเร็วตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและอยู่ในช่อง ทางเดินรถที่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแซง ขบวนรถไปอยู่ที่ไหล่ถนนด้านซ้าย แล้วขับขึ้นจากไหล่ถนนโดย กระชั้นชิด และด้วยความเร็วสูง โดยไม่ระมัดระวังเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่อาจคาดหมายหรือให้สัญญาณเพื่อให้ใช้ความระมัดระวังอย่างใดได้ทัน เหตุชนกันจึงมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่ถือว่าเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 2แต่เพียงฝ่ายเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ: ผู้ขับรถที่แซงขึ้นจากไหล่ทางด้วยความเร็วสูงเป็นฝ่ายประมาทแต่เพียงผู้เดียว
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารแล่นตามกันไปในขบวนซึ่งมีรถวิทยุตำรวจทางหลวงเปิดไฟสัญญาวับวาบแล่นนำหน้า เชื่อได้ว่ารถที่จำเลยที่ 1 ขับนั้นแล่นด้วยความเร็วตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและอยู่ในช่องทางเดินรถที่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแซงขบวนรถไปอยู่ที่ไหล่ถนนด้านซ้าย แล้วขับขึ้นจากไหล่ถนนโดยกระชั้นชิด และด้วยความเร็วสูง โดยไม่ระมัดระวัง เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่อาจคาดหมายหรือให้สัญญาณเพื่อให้ใช้ความระมัดระวังอย่างใดได้ทัน เหตุชนกันจึงมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่ถือว่าเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่เพียงฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถฝ่าไฟแดงทำให้เกิดอุบัติเหตุและเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตามถนนพหลโยธินจากสามแยกเกษตรมุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึงสี่แยกพหลโยธินตัดกับถนนรัชดาภิเษก สัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดงเข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึงกลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่งแล่นมาด้วยความเร็วจากถนนรัชดาภิเษก ด้านถนนวิภาวดีรังสิตมุ่งหน้าไปตามถนนรัชดาภิเษก เข้าไปในสี่แยก รถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักหลบเฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรในถนนรัชดาภิเษก ด้านที่มาจากลาดพร้าว และชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถฝ่าไฟแดงเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตามถนนพหลโยธินจากสามแยกเกษตรมุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึงสี่แยกพหลโยธินตัดกับถนนรัชดาภิเษก สัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดงเข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึงกลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่งแล่นมาด้วยความเร็วจากถนนรัชดาภิเษกด้านถนนวิภาวดีรังสิตมุ่งหน้าไปตามถนนรัชดาภิเษกเข้าไปในสี่แยก รถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักหลบเฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรในถนนรัชดาภิเษกด้านที่มาจากลาดพร้าว และชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถฝ่าไฟแดงทำให้เกิดอุบัติเหตุและผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตาม ถนนพหลโยธิน จากสามแยกเกษตรมุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึง สี่แยกพหลโยธินตัด กับ ถนนรัชดาภิเษก สัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดง เข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึง กลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่ง แล่นมาด้วยความเร็วจาก ถนนรัชดาภิเษก ด้าน ถนนวิภาวดีรังสิต มุ่งหน้าไปตาม ถนนรัชดาภิเษก เข้าไปในสี่แยก รถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักหลบเฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรใน ถนนรัชดาภิเษก ด้าน ที่มาจากลาดพร้าว และชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2ขับรถด้วย ความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส.