คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 ม. 15

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดกระทงความผิดซ้ำซ้อนในคดีสัตว์ป่าคุ้มครอง: แยกกระทงหรือรวมกระทง
การมีไว้ในครอบครองซึ่งขาเลียงผา ซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าสงวนตามฟ้อง ข้อ ก. เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2503 มาตรา 14 และมาตรา 38 ส่วนการมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งซากสัตว์อื่นซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามฟ้องข้อ ง.เป็นความผิดตาม มาตรา 16 และ มาตรา 40 แยกไว้คนละมาตราเป็นคนละฐานความผิดแสดงว่าเป็นเจตนารมณ์ ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละความผิดต่างกระทงกัน การกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ส่วนการค้าลิ่นซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามฟ้อง ข้อ ข.กับการมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งงูเหลือม ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามฟ้อง ข้อ ค.เป็นความผิดตาม มาตรา 15 และมาตรา 40 บทมาตราเดียวกันแสดงว่ากฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน เป็นวัตถุประเภทเดียวกัน ทั้งจำเลยกระทำผิดดังกล่าวในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท ตามกฎหมายอาญามาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกความผิดฐานมีซากสัตว์ป่าสงวนกับซากสัตว์ป่าคุ้มครอง และการรวมกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท
การมีไว้ในครอบครองซึ่งขาเลียงผาซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าสงวนเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2503 มาตรา 14 และมาตรา 38 ส่วนการมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งซากสัตว์อื่นซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นความผิดตามมาตรา 16 และมาตรา 40 แยกไว้คนละมาตราเป็นคนละฐานความผิดแสดงว่าเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละความผิดต่างกระทงกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 การค้าลิ่น ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองกับการมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งงูเหลือมซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นความผิดตามมาตรา 15 และ มาตรา 40 บทมาตราเดียวกัน แสดงว่ากฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน เป็นวัตถุประเภทเดียวกัน ทั้งจำเลยกระทำผิดดังกล่าวในคราวเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดซ้ำซ้อนใน พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า: แยกกระทง vs. รวมกรรม
ความผิดฐานมีซากสัตว์ป่าสงวนไว้ในความครอบครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 มาตรา 14 และ มาตรา 38 กับฐานมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งซากสัตว์อื่น ซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามมาตรา 16 และมาตรา 40 กฎหมายแยกไว้คนละมาตราเป็นคนละฐานความผิด แสดงว่าเป็นเจตนารมณ์ ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละความผิดต่างกระทงกัน การกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ส่วนความผิดฐานค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง กับฐานมีไว้ในครอบครองและค้าสัตว์ป่าคุ้มครองเป็นความผิดตามมาตรา 15 และมาตรา 40บทมาตราเดียวกัน แสดงว่ากฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน เป็นวัตถุประเภทเดียวกัน ทั้งจำเลยกระทำผิดดังกล่าวในคราวเดียวกัน การกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 90.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองต้องเป็นไปตามจำนวนในใบอนุญาต การฝากเลี้ยงไม่ทำให้จำนวนที่ครอบครองถูกต้อง
ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีไว้ในความครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง ไม่อาจครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองเกินกว่าที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต และการครอบครองดังว่านี้ย่อมหมายความถึงการมีไว้ในครอบครองตามจำนวนในใบอนุญาตของตนเอง หาใช่หมายถึงการมีสิทธิครอบครอง ซึ่งอาจฝากให้ผู้อื่นดูแลแทนกันได้ไม่ เมื่อจำเลยมีไว้ในครอบครองเกินกว่าปริมาณทีจำเลยได้รับอนุญาต จึงต้องมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตใบอนุญาตค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง: ใบอนุญาตใช้ได้ทั่วไปในจังหวัดที่ออก ไม่จำกัดสถานที่ค้า
ใบอนุญาตระบุข้อความว่า ให้จำเลยค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมีสถานการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองชื่อห้องภาพสุราษฎร์ ฯลฯ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และระบุว่าจำเลยตั้งสถานการค้าอยู่ ณที่ใดเท่านั้น แต่จะใช้คุ้มครองได้ภายในเขตท้องที่ใดเพียงใดไม่มีระบุไว้ ทั้งไม่มีข้อห้ามว่าจำเลยจะทำการค้านอกสถานที่ดังกล่าวไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และกฎกระทรวงฉบับที่ 3(พ.ศ. 2505) ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าวก็มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเขตของใบอนุญาตหรือมีข้อห้ามประการใดเกี่ยวกับวิธีการทำการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองนอกสถานที่ ทั้งค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองก็กำหนดไว้เพียงอัตราเดียว มิได้กำหนดให้แบ่งแยกเขตไว้อย่างใบอนุญาตให้ล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง ใบอนุญาตให้ค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองจึงใช้ได้ทั่วไปในจังหวัดที่ได้รับใบอนุญาต การที่จำเลยไปซื้อนกขุนทองและถูกจับพร้อมด้วยนกขุนทองที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดเดียวกัน จึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตใบอนุญาตค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง: ใช้ได้ทั่วไปในจังหวัดที่ออกใบอนุญาต ตราบเท่าที่ไม่มีข้อจำกัดตามกฎหมาย
ใบอนุญาตระบุข้อความว่า ให้จำเลยค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยมีสถานการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองชื่อห้องภาพสุราษฎร์ ฯลฯ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และระบุว่าจำเลยตั้งสถานการค้าอยู่ ณ ที่ใดเท่านั้น แต่จะใช้คุ้มครองได้ภายในเขตท้องที่ใดเพียงใดไม่มีระบุไว้ ทั้งไม่มีข้อห้ามว่าจำเลยจะทำการค้า นอกสถานที่ดังกล่าวไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และกฎกระทรวงฉบับที่ 3(พ.ศ. 2505) ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าวก็มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเขตของใบอนุญาตหรือมีข้อห้ามประการใดเกี่ยวกับวิธีการทำการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองนอกสถานที่ ทั้งค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองก็กำหนดไว้เพียงอัตราเดียวมิได้กำหนดให้แบ่งแยกเขตไว้อย่างใบอนุญาตให้ล่าสัตว์ป่าคุ้มครองใบอนุญาตให้ค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองจึงใช้ได้ทั่วไปในจังหวัดที่ได้รับใบอนุญาต การที่จำเลยไปซื้อนกขุนทองและถูกจับพร้อมด้วยนกขุนทองที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดเดียวกัน จึงไม่มีความผิด