คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ข้อ 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องนอกเหนือจากข้อหาเดิม เป็นการกระทำที่มิชอบ ศาลรับฟังลงโทษไม่ได้
เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์แซงขึ้นหน้ารถคันอื่นตรงบริเวณทางแยก ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือจากฟ้อง จะรับฟังลงโทษจำเลยหาได้ไม่ เพราะเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และมาตรา 192วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถทางแยก: ผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่ายประมาท แต่จำเลยต้องรับผิดชอบ
การที่จำเลยขับรถมาด้วยความเร็ว เมื่อมาถึงทางร่วมทางแยกและมีป้ายบอกทางแยกไว้อย่างชัดแจ้ง แต่จำเลยไม่ชะลอความเร็วของรถลงตามกฎหมายบัญญัติไว้ทั้งขับรถหลบไปทางด้านขวาของทางไปชนรถเก๋งซึ่งแล่นออกมาจากทางแยกและกำลังอยู่ในช่องทางของรถเก๋ง เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายถือได้ว่าจำเลยขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง แม้ผู้ตายจะเป็นฝ่ายประมาทอยู่ด้วย ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ แต่ก็เป็นเหตุอันสมควรลงโทษจำเลยสถานเบา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีความเสียหายจากอุบัติเหตุ: เจ้าของรถไม่มีอำนาจฟ้องโดยตรงหากไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทชนเฉี่ยวรถที่ บ. ขับมาได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 29,66 ตามที่แก้ไข ดังนี้ ด. เจ้าของรถคันที่ถูกชนไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกเพราะยังเรียกไม่ได้ว่าได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)แม้ศาลชั้นต้นจะได้อนุญาตให้ ด. เข้าร่วมเป็นโจทก์ และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ด. อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมยกอุทธรณ์เสียโดยเหตุที่โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเพิกถอนใบอนุญาตขับรถกรณีขับประมาท และขอบเขตการพิจารณาโทษ
มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 13 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ข้อ11 บัญญัติว่าเมื่อผู้ใดฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลมีอำนาจถอนใบอนุญาตขับรถได้และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 4(14) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2508 มาตรา 3 ให้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า ใบอนุญาตขับรถ ให้หมายความว่าใบอนุญาตให้ผู้ขับทำการขับขี่หรือลากเข็นรถหรือรถรางตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ รถจ้างรถลาก ล้อเลื่อน การจดทะเบียนคนขับรถรางและการขนส่ง ดังนี้ ใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ซึ่งนายทะเบียนการขนส่งออกให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่งจึงเป็นใบอนุญาตขับรถตามความหมายในพระราชบัญญัติจราจรทางบกเมื่อจำเลยกระทำผิดและศาลพิพากษาลงโทษจำเลย (ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 66 ที่แก้ไขแล้ว) ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถที่กล่าวนั้นเสียได้