คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นผลของคำฟ้องหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะปฏิวัติ และการจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องว่าพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 4 เมษายน 2519 ไม่มีผลบังคับเพราะการนำร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวขึ้นทูลเกล้ามิได้กระทำโดยคณะรัฐมนตรี และไม่ได้รับความยินยอมจากสภาผู้แทนราษฎรเป็นการลบล้างพระบรมราชโองการเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภาขอให้พิพากษาให้สภาผู้แทนราษฎรซึ่งประกอบด้วยสมาชิกผู้ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2519 กับ คณะรัฐมนตรีซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นโมฆะให้หยุดดำเนินกิจการโดยให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ประกาศสลายตัวภายใน 7 วัน นับแต่วันมีคำพิพากษา และมอบหน้าที่ให้รัฐบาลชุดเดิมรับกลับคืนไป ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ และมีคำสั่งฉบับที่ 3 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 สิ้นสุดลง ให้รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญต่อมาวันที่ 20 ตุลาคม 2520 คณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศและเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2520 ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการปกครองประเทศแล้วดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ไม่อยู่ในวิสัยที่จะบังคับได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไปศาลฎีกามีคำสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา กรณีคดีอาญาอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 และ 337 ศาลอาญาสั่งประทับฟ้องโจทก์ จำเลยยื่นคำให้การตัดฟ้องว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศของคณะปฏิวัติ ศาลอาญาสั่งว่า กรณีไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ คำสั่งเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งในประเด็นสำคัญแห่งคดีที่ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เพียงแต่ให้นัดสืบพยานโจทก์เพื่อเริ่มการพิจารณาเท่านั้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196