พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการบุกรุก: เจ้าพนักงานมีอำนาจจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก่อน
ความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคหนึ่ง,310 วรรคหนึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ เว้นแต่จะมีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามมาตรา 193 ตรีแต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างเหตุว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาไม่สุจริต อาศัยข้อกฎหมายเป็นเครื่องกำบังร่วมกันจับกุมโจทก์เพื่อกลั่นแกล้ง ข่มขู่ให้โจทก์เกรงกลัวไม่กล้าไปเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกฟ้องในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของบริษัท ย. เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรีอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อหาความผิดต่อเสรีภาพจึงต้องห้ามตามกฎหมายการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดต่อเสรีภาพต่อไป ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1), 92(5) มีความหมายโดยสรุปว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าไปจับกุมบุคคลหนึ่งบุคคลใดในที่รโหฐานได้ต่อเมื่อมีหมายจับกุมบุคคลผู้นั้นและมีหมายค้นที่รโหฐานนั้นด้วย เว้นแต่ในกรณีที่มีผู้ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาและแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้วเจ้าพนักงานตำรวจจึงจะมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานโดยแจ้งว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตามระเบียบแล้ว กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1),92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไปแต่ประการใดจำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และการที่จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ก็เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5802/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมโดยไม่มีหมายจับและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: จำเลยไม่รู้ตัวว่าผู้จับกุมเป็นเจ้าพนักงาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 ห้ามมิให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับเว้นแต่กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตามบทมาตราดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าวันที่ไปจับกุมจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายในคดีที่ถูกทำร้ายร่างกายร่วมไปกับจ่าสิบตำรวจส.และพลตำรวจท.ด้วย และเป็นผู้ชี้แจ้งให้เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งสองกรณีจึงต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4) เจ้าพนักงานตำรวจที่ไปจับกุมจำเลยที่ 1 ไม่มีผู้ใดแต่งเครื่องแบบตำรวจหรือแสดงหลักฐานให้เห็นได้ว่าตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจทำการตามหน้าที่การที่เจ้าพนักงานตำรวจสวมกางเกงสีกากีเสื้อคอกลม บางคนก็สวมกางเกงยีนจะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจเอาเองว่าบุคคลที่เข้ามาจับกุมนั้นเป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมเป็นไปไม่ได้ ที่พลตำรวจ ท. เบิกความว่าขณะวิ่งไล่ตามจำเลยที่ 1ได้ร้องบอกว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจขอจับกุม แต่ลักษณะการเข้าจับกุมจำเลยที่ 1 มีพวกญาติของผู้เสียหายหลายคนวิ่งกรูเข้าไปร่วมจับกุมด้วย จึงอาจทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าจะเข้ามาทำร้ายเมื่อจำเลยทั้งสองไม่เคยรู้จักหรือเคยเห็นหน้าจ่าสิบตำรวจ ส.และพลตำรวจ ท. กับพวกมาก่อน แม้จะได้ต่อสู้ขัดขวางไม่ให้จับกุม จำเลยทั้งสองก็หามีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายจับและไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของผู้ถูกจับเป็นการป้องกันโดยชอบ
โรงค้าไม้มีรั้วรอบของชิดและนอกจากใช้เป็นสถานประกอบการค้าแล้ว ยังใช้เป็นที่พักอาศัยด้วย ในยามที่โรงค้าไม้หยุดดำเนินกิจการภายในบริเวณโรงค้าไม้ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่สาธารณสถานแต่กลับเป็นที่รโหฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(13) แม้โจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะมีอำนาจจับกุมจำเลยในกรณีที่มีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78(4) ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ต้องมิใช่เป็นการจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตามมาตรา 81 บัญญัติว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐานซึ่งพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมซึ่งกระทำไปไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าว การที่โจทก์ร่วมกับพวกทำการจับกุมจำเลยในที่รโหฐานจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบทั้งปราศจากอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมในที่รโหฐานต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการกระทำที่เกินอำนาจ
โรงค้าไม้มีรั้วรอบขอบชิดและนอกจากใช้เป็นสถานประกอบการค้าแล้ว ยังใช้เป็นที่พักอาศัยด้วย ในยามที่โรงค้าไม้หยุดดำเนินกิจการภายในบริเวณโรงค้าไม้ ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังย่อมไม่ใช่สาธารณสถาน แต่กลับเป็นที่รโหฐานตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (13) แม้โจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะมีอำนาจจับกุมจำเลยในกรณีที่มีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าจำเลยได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78 (4) ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ต้องมิใช่เป็นการจับกุมในที่รโหฐาน เพราะตามมาตรา 81 บัญญัติว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน ซึ่งพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมซึ่งกระทำไปไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าว การที่โจทก์ร่วมกับพวกทำการจับกุมจำเลยในที่รโหฐานจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบทั้งปราศจากอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้จำเลยจะต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยก็เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน: การจับกุมต้องเป็นไปตามกฎหมายและไม่มีการควบคุมตัวโดยมิชอบ
ในวันเกิดเหตุ จำเลยกับพวกพาผู้เสียหายกับพวกไปสถานีตำรวจเพื่อเจรจากับตัวแทนของ จ.ในคดีที่ จ. ร้องทุกข์ว่าผู้เสียหายฉ้อโกง และทำบันทึกการจับกุมไว้ แต่จำเลยยังมิได้จับกุมผู้เสียหายส่งต่อพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีเพราะตัวแทนของ จ. มิได้ขอให้จับกุมเพียงแต่ขอให้จำเลยช่วยทวงเงินคืนจากผู้เสียหายเท่านั้นหลังจากนั้นได้พากันไปเจรจากันต่อที่ห้องพักของจำเลยที่แฟลตเจ้าพนักงานตำรวจ และผู้เสียหายได้ค้างคืนที่ห้องพักของจำเลยโดยสมัครใจ มิได้ถูกควบคุมตัว จึงถือไม่ได้ว่ามีการจับกุมผู้เสียหายในวันดังกล่าว แม้จะมีการทำบันทึกการจับกุมไว้แล้ว แต่เมื่อยังมิได้มีการจับกุมผู้เสียหายตามบันทึกการจับกุมนั้น การที่จำเลยมิได้ส่งตัวผู้เสียหายต่อพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีในวันดังกล่าว แต่เพิ่งจะจับกุมผู้เสียหายในภายหลังเมื่อคดีตกลงกันไม่ได้จึงได้มีการแก้ไขวันที่จับกุมผู้เสียหายให้ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมในที่รโหฐานต้องเป็นไปตามขั้นตอน หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกจับมีสิทธิขัดขวางได้
การจับโดยไม่ต้องมีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4) นั้น ถ้าเป็นกรณีจับบุคคลในที่รโหฐาน จะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 81(1) ประกอบกับมาตรา 92 ด้วย
จำเลยทำร้ายร่างกาย ด. ด.ไปแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้านขอให้จับ แต่วันนั้นจับไม่ได้เพราะมืด รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านพา ด.ไปแจ้งความต่อผู้บังคับกอง ผู้บังคับกองให้ตำรวจไปกับผู้ใหญ่บ้านเพื่อจับ แต่ไม่พบจึงพากันกลับ ผู้บังคับกองได้สั่งด้วยวาจาว่า ถ้าพบให้จับจำเลยมาดำเนินคดี ตอนเย็นวันนั้นเองผู้ใหญ่บ้านกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพากันไปจับจำเลยโดยคนทั้งสองไม่มีหมายจับ พบจำเลยอยู่ใต้ถุนบ้าน ท. ผู้ใหญ่บ้านแจ้งแก่จำเลยว่า ตำรวจต้องการตัวเรื่องทำร้ายร่างกาย ด. จำเลยไม่ยอมให้จับและต่อสู้ขัดขวาง การเข้าไปจับจำเลยถึงใต้ถุนบ้าน ท. อันเป็นที่รโหฐานเช่นนี้ เป็นกรณีซึ่งอยู่ในบังคับของมาตรา 81(1) ประกอบกับมาตรา 92 ด้วย เมื่อกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92 การเข้าไปจับนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยขัดขวางการจับกุมจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
จำเลยทำร้ายร่างกาย ด. ด.ไปแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้านขอให้จับ แต่วันนั้นจับไม่ได้เพราะมืด รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านพา ด.ไปแจ้งความต่อผู้บังคับกอง ผู้บังคับกองให้ตำรวจไปกับผู้ใหญ่บ้านเพื่อจับ แต่ไม่พบจึงพากันกลับ ผู้บังคับกองได้สั่งด้วยวาจาว่า ถ้าพบให้จับจำเลยมาดำเนินคดี ตอนเย็นวันนั้นเองผู้ใหญ่บ้านกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพากันไปจับจำเลยโดยคนทั้งสองไม่มีหมายจับ พบจำเลยอยู่ใต้ถุนบ้าน ท. ผู้ใหญ่บ้านแจ้งแก่จำเลยว่า ตำรวจต้องการตัวเรื่องทำร้ายร่างกาย ด. จำเลยไม่ยอมให้จับและต่อสู้ขัดขวาง การเข้าไปจับจำเลยถึงใต้ถุนบ้าน ท. อันเป็นที่รโหฐานเช่นนี้ เป็นกรณีซึ่งอยู่ในบังคับของมาตรา 81(1) ประกอบกับมาตรา 92 ด้วย เมื่อกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92 การเข้าไปจับนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยขัดขวางการจับกุมจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่