คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ส่อง สุขะปุณณพันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์หลังพ้นกำหนดในคดีล้มละลาย ถือเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา คู่ความจะต้องอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนสัญชาติและเชื้อชาติพม่า ได้ เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายหลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษา จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ล้มละลายพ้นกำหนด - ศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา คู่ความจะต้องอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายแล้ว จำเลยที่ 2อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนสัญชาติและเชื้อชาติ พม่า ได้ เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 2ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องการดำเนิน กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนด 1เดือนนับแต่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายหลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษา จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา ต้องอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน หากพ้นกำหนดเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความจะต้องอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายแล้ว จำเลยที่ 2อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนสัญชาติและเชื้อชาติพม่า ได้เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 2ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 2 อุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่ศาลอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายหลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามแบบการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็งกำไร
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มีระเบียบวิธีปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะไว้แล้ว และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของจำเลยเป็นการเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนหุ้นกันจริงจัง จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129วรรคสอง ดังนั้น การซื้อขายและโอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามแบบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากมีวัตถุประสงค์เป็นการเก็งกำไร
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มีระเบียบวิธีปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะไว้แล้ว และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของจำเลยเป็นการเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนหุ้นกันจริงจัง จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง ดังนั้นการซื้อขายและโอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของอาคารต้องรื้อถอน หากก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน
อาคารพิพาทก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยเป็นเจ้าของอาคารพิพาท แม้ว่าจะมิได้เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพิพาทก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งสั่งให้จำเลยแก้ไขอาคารพิพาทให้ถูกต้อง แล้วยื่นขอรับใบอนุญาตใหม่ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อไม่ปฏิบัติตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลายก่อนมีคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไม่อำนาจสั่งยึดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวตามมาตรา 17ซึ่งจะขอได้ก็ แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วมาตรา 19 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้ และบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและโจทก์อุทธรณ์โจทก์จะขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีล้มละลาย: ไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหากมีกฎหมายเฉพาะ
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวตามมาตรา 17 ซึ่งจะขอได้ก็แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วมาตรา 19 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุดบัญญชี และเอกสารของลูกหนี้ และบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและโจทก์อุทธรณ์ โจทก์จะขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีล้มละลาย ศาลไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากมีวิธีพิจารณาเฉพาะใน พ.ร.บ.ล้มละลาย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้บัญญัติวิธีการชั่วคราวไว้โดยเฉพาะแล้วคือการพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งจะขอได้ก็แต่ในกรณีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น ดังนั้น ในกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์จะขอให้ศาลอุทธรณ์ยึดทรัพย์ของจำเลยก่อนพิพากษาโดยนำบทบัญญัติว่าด้วยการยึดทรัพย์ของจำเลยก่อนพิพากษาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดทางอาญา: ความขัดแย้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 28980ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 28880 โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องดังนี้ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตาม มาตรา 28980 โดย อาศัยข้อเท็จจริงโจทก์จึงฎีกาข้อหาดังกล่าวในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ คงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เฉพาะ ข้อหาความผิดตาม มาตรา 28880 ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษากลับกันมา.
of 46