พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญา: ความขัดแย้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 28980ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 28880 โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องดังนี้ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตาม มาตรา 28980 โดย อาศัยข้อเท็จจริงโจทก์จึงฎีกาข้อหาดังกล่าวในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ คงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เฉพาะ ข้อหาความผิดตาม มาตรา 28880 ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษากลับกันมา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าและการโต้แย้งข้อเท็จจริงในชั้นฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289,80 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,80 โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องดังนี้ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามมาตรา 289,80 โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์จึงฎีกาข้อหาดังกล่าวในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ คงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะข้อหาความผิดตามมาตรา 288,80 ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษากลับกันมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ รัฐเท่านั้นมีอำนาจฟ้อง เอกชนไม่มีสิทธิ
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527บัญญัติขึ้นเพื่อปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมรัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าวเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชน: รัฐเท่านั้นมีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงิน
พระราชกำหนดการกู้ยือมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2517บัญญัติขึ้นเพื่อปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมรัฐเท่านั้น เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าว เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารปฏิเสธจ่ายเช็ค อ้างเงินในบัญชีไม่พอ โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์ยอดเงินในบัญชีจำเลย
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คในวันเดียวกับวันออกเช็คว่า "โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย" หรือ "ยังรอเรียกเก็บอยู่ โปรดนำมายื่นใหม่" ซึ่งอาศัยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 991(1) คือเงินในบัญชีไม่พอจ่ายในวันที่ออกเช็ค กรณีเช่นนี้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเงินในบัญชีของจำเลย คดีโจทก์ก็มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารปฏิเสธจ่ายเช็ค: โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์เงินในบัญชี หากธนาคารอ้างเงินไม่พอจ่าย
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คในวันเดียวกับวันออกเช็คว่า'โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย' หรือ 'ยังรอเรียกเก็บอยู่ โปรดนำมายื่นใหม่'ซึ่งอาศัยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 991(1)คือเงินในบัญชีไม่พอจ่ายในวันที่ออกเช็ค กรณีเช่นนี้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเงินในบัญชีของจำเลยอีก.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพื่อแสดงว่าไม่มีหนี้สินและการเรียกคืนเอกสารหลักประกันหลังชำระหนี้แล้ว
แม้โจทก์ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองแต่ความจริงหนี้สินดังกล่าวได้ระงับไปแล้วตามเหตุผลในรายละเอียดที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ชอบที่จะหยิบยกเป็นข้อต่อสู้หากจะถูกจำเลยฟ้องเป็นคดีขึ้นในอนาคต มิใช่ด่วนมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีหนี้สินใด ๆ ต่อกัน กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อันจะถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิหรือจำเป็นต้องใช้สิทธิในทางศาล ส่วนข้อที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเอกสาร น.ส.3ก. นั้นโจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่า จำเลยได้ยึด น.ส.3ก. ของโจทก์ไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ได้คืน น.ส.3ก. ให้แก่โจทก์ ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอา น.ส.3ก. ของโจทก์คืน โดยอ้างว่าโจทก์ได้ชำระหนี้เงินกู้เสร็จสิ้นแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจยึด น.ส.3ก.ของโจทก์ไว้ต่อไป ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพื่อพิสูจน์การไม่มีหนี้สินและการเรียกคืนเอกสารหลักประกันหลังชำระหนี้
แม้โจทก์ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากจำเลยทั้งสอง แต่ความจริงหนี้สินดังกล่าวได้ระงับไปแล้วตามเหตุผลในรายละเอียดที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ชอบที่จะหยิบยกเป็นข้อต่อสู้หากจะถูกจำเลยฟ้องเป็นคดีขึ้นในอนาคต มิใช่ด่วนมายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีหนี้สินใด ๆ ต่อกัน กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อันจะถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิหรือจำเป็นต้องใช้สิทธิในทางศาล
ส่วนข้อที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเอกสาร น.ส.3 ก. นั้น โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่า จำเลยได้ ยึด น.ส.3 ก. ของโจทก์ไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสองแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้คืน น.ส.3 ก. ให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอา น.ส.3 ก. ของโจทก์คืน โดยอ้างว่าโจทก์ได้ชำระหนี้เงินกู้เสร็จสิ้นแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจยึด น.ส.3 ก. ของโจทก์ไว้ต่อไป ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว
ส่วนข้อที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเอกสาร น.ส.3 ก. นั้น โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่า จำเลยได้ ยึด น.ส.3 ก. ของโจทก์ไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสองแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้คืน น.ส.3 ก. ให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอา น.ส.3 ก. ของโจทก์คืน โดยอ้างว่าโจทก์ได้ชำระหนี้เงินกู้เสร็จสิ้นแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจยึด น.ส.3 ก. ของโจทก์ไว้ต่อไป ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเมื่อหนี้ระงับแล้ว และการใช้สิทธิเรียกคืนเอกสารหลักประกัน
แม้โจทก์ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองแต่ ความจริงหนี้สินดังกล่าวได้ ระงับไปแล้วตาม เหตุผลในรายละเอียดที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ชอบที่จะหยิบยกเป็นข้อต่อสู้หากจะถูก จำเลยฟ้องเป็นคดีขึ้นในอนาคต มิใช่ด่วนมายื่นฟ้องจำเลยต่อ ศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้มีหนี้สินใด ๆ ต่อ กัน กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อันจะถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิหรือจำเป็นต้อง ใช้สิทธิในทางศาล ส่วนข้อที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเอกสาร น.ส.3 ก.นั้น โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่า จำเลยได้ ยึด น.ส.3 ก. ของโจทก์ไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน ต่อ มาโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสองแล้ว แต่ จำเลยทั้งสองไม่ได้คืน น.ส.3 ก. ให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิติดตาม เอา น.ส.3 ก. ของโจทก์คืน โดยอ้างว่าโจทก์ได้ ชำระหนี้เงินกู้เสร็จสิ้นแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจยึดน.ส.3 ก. ของโจทก์ไว้ต่อไป ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในชั้นศาลก่อนการยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นกระบวนการข้ามขั้นตอน
การที่ผู้ร้องได้ปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้แจ้งยืนยันหนี้จำนวนดังกล่าวมายังผู้ร้อง ผู้ร้องหามีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลไม่ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายซึ่งต้องการให้หนี้สินดังกล่าวได้รับการสอบสวนในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นการแน่นอนเสียชั้นหนึ่งก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาล.(ที่มา-ส่งเสริม)