พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6053/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การกำหนดค่าเสียหายลักษณะเบี้ยปรับ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่าเมื่อเจ้าของยึดทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนมาได้แล้ว เจ้าของอาจเลือกใช้สิทธิที่จะนำทรัพย์สินที่เช่าซื้อออกขายและผู้เช่าซื้อให้สัญญาว่าหากราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อซึ่งได้ขายไปไม่พอชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว ผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกให้กับเจ้าของจนครบ ข้อสัญญานี้เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับได้ไม่เป็นโมฆะ และปรากฏตามคำบรรยายฟ้องว่ารถยนต์ที่เช่าซื้ออยู่ในสภาพเสียหายมาก เนื่องจากการใช้โดยปราศจากความระมัดระวังเยี่ยงวิญญูชนของจำเลย จึงควรต้องสืบพยานโจทก์จำเลยฟังข้อเท็จจริงต่อไปประกอบการพิจารณาของศาลในการกำหนดเบี้ยปรับให้เป็นจำนวนพอสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้เป็นกรรมการลูกหนี้ทราบฐานะหนี้สินล้นพ้นตัว ห้ามขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นกรรมการของบริษัทลูกหนี้ย่อมจะต้องทราบถึงฐานะของลูกหนี้ได้ดีกว่าตกอยู่ในสภาพ เช่นไร การที่เจ้าหนี้ได้รับชำระดอกเบี้ยจากตั๋วสัญญาใช้เงินแต่เพียงบางส่วนตลอดจนลูกหนี้ต้องไปกู้ยืมเงินจากที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาพยุงฐานะของลูกหนี้ที่กำลังทรุดลงจนในที่สุดทางราชการได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตดำเนินธุรกิจของลูกหนี้เช่นนี้ เจ้าหนี้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารบริษัทลูกหนี้จะปฏิเสธว่าไม่ทราบถึงฐานะอันแท้จริงของลูกหนี้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหาได้ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าหนี้ได้นำเงินเข้าฝากกับลูกหนี้หลังจากที่ทราบดีว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เงินฝากดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ผู้บริหารทราบฐานะลูกหนี้ การยินยอมให้ก่อหนี้สมยอมในภาวะล้มละลาย
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นกรรมการของบริษัทลูกหนี้ย่อมจะต้องทราบถึงฐานะของลูกหนี้ได้ดีว่าตกอยู่ในสภาพเช่นไรการที่เจ้าหนี้ได้รับชำระดอกเบี้ยจากตั๋วสัญญาใช้เงินแต่เพียงบางส่วนตลอดจนลูกหนี้ต้องไปกู้ยืมเงินจากที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาพยุงฐานะของลูกหนี้ที่กำลังทรุดลงจนในที่สุดทางราชการได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตดำเนินธุรกิจของลูกหนี้เช่นนี้ เจ้าหนี้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารบริษัทลูกหนี้จะปฏิเสธว่าไม่ทราบถึงฐานะอันแท้จริงของลูกหนี้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหาได้ไม่ ดังนั้นการที่เจ้าหนี้ได้นำเงินเข้าฝากกับลูกหนี้หลังจากที่ทราบดีว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เงินฝากดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิบังคับคดีทรัพย์สินหลักประกัน แม้มีการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองของจำเลยได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวมาไว้ในคดีล้มละลายไม่ได้ เพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมไม่ว่ากล่าวในหนี้: สัญญาประนีประนอมยอมความขัดขวางการฟ้องฉ้อโกงภายหลัง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ยอมยกเลิกเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตามสัญญากู้ และที่จำเลยที่ 2 เป็นหนี้ตามสัญญาขายฝาก ให้จำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวรับผิดชดใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ดังนี้แม้โจทก์จะรู้เรื่องการฉ้อโกงตามสัญญาขายฝากและสัญญากู้ภายหลังที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมก็ตามโจทก์จะมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานฉ้อโกงไม่ได้ เพราะเป็นการยินยอมไม่ว่ากล่าวในหนี้รายนี้ต่อกันแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับการฟ้องอาญา: การยินยอมไม่ว่ากล่าวหนี้ทำให้สิทธิฟ้องอาญาขาดอายุ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ยอมยกเลิกเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตามสัญญากู้ และที่จำเลยที่ 2 เป็นหนี้ตามสัญญาขายฝาก ให้จำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวรับผิดชดใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ดังนี้ แม้โจทก์จะรู้เรื่องการฉ้อโกงตามสัญญาขายฝากและสัญญากู้ภายหลังที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมก็ตาม โจทก์จะมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานฉ้อโกงไม่ได้ เพราะเป็นการยินยอมไม่ว่ากล่าวในหนี้รายนี้ต่อกันแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็ค: ความผิดเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรก ไม่ใช่ครั้งหลัง
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2530 ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ครั้นวันที่ 6 มีนาคม 2530 โจทก์นำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน โจทก์จึงได้นำเช็คไปเข้าบัญชีใหม่อีกเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2530 และได้รับคำปฏิเสธการจ่ายเงินอีกครั้งหนึ่งเช่นนี้ เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินครั้งแรก ถือว่าความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว แต่โจทก์มิได้ร้องทุกข์หรือดำเนินคดีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นว่าโจทก์รู้ถึงการกระทำผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดในวันที่ 12 มีนาคม 2530 อันเป็นวันที่โจทก์ได้รับคำปฏิเสธการจ่ายเงินในครั้งหลัง จึงหามีผลเปลี่ยนแปลงคดีของโจทก์แต่อย่างใดไม่ ศาลชั้นต้นไม่รับคำขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์และมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้อง แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ใช้ในการซื้อยาเสพติด แม้จะไม่ได้ใช้ซื้อทั้งหมด ก็ถือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดได้
จำเลยที่ 3 เตรียมเงินจำนวน 850,000 บาท เพื่อนำมาซื้อยาเสพติดตามที่จำเลยที่ 1 ติดต่อกับผู้ขาย แต่จำเลยที่ 1 สามารถนำยาเสพติดของกลางมามอบให้จำเลยที่ 2 ได้ในปริมาณราคาเพียง600,000 บาทเท่านั้น เงินที่จำเลยที่ 3 เตรียมมาดังกล่าวจึงยังคงเหลืออีก 250,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันกับเงินที่ได้เตรียมมาซื้อยาเสพติดในตอนแรกนั่นเอง จึงถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่เตรียมไว้เพื่อซื้อยาเสพติด แม้จะไม่ได้ใช้ซื้อทั้งหมด ก็ถือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดได้
จำเลยที่ 3 เตรียมเงินจำนวน 850,000 บาท เพื่อนำมาซื้อยาเสพติดตามที่จำเลยที่ 1 ติดต่อกับผู้ขาย แต่จำเลยที่ 1 สามารถนำยาเสพติดของกลางมามอบให้จำเลยที่ 2 ได้ในปริมาณราคาเพียง 600,000 บาทเท่านั้น เงินที่จำเลยที่ 3 เตรียมมาดังกล่าวจึงยังคงเหลืออีก 250,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกันกับเงินที่ได้เตรียมมาซื้อยาเสพติดในตอนแรกนั่นเอง จึงถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5115/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงไม่ใช่ทนายความ ทำให้ศาลไม่อาจรับพิจารณาได้
จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกาและผู้เขียน โดยมี ว.นักโทษในเรือนจำเดียวกับจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียง เมื่อ ว.มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ และไม่ปรากฎว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ดังนี้ฎีกาของจำเลยจึงเกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจรับพิจารณาให้