คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ส่อง สุขะปุณณพันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำกัดสิทธิในทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส: การสละสิทธิและผลกระทบต่อมรดก
ศ.กับจำเลยทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างเป็นสามีภรรยากันว่า ศ.จะไม่นำเอาสินบริคณห์ใด ๆ ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือจะมีขึ้นในอนาคตไปจำหน่ายหรือทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ในการอุปการะเลี้ยงดูครอบครัวและการศึกษาของบุตรอันเกิดจากจำเลย จะไม่เกี่ยวข้อง สร้างภาระผูกพัน หรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลย สัญญาดังกล่าวไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญามีอำนาจกระทำได้เพียงแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกล้างในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันทั้งการทำสัญญาจำกัดสิทธิบางอย่างในระหว่างกันเองในเรื่องทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของครอบครัวด้วยความสมัครใจและการสละทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสามีภริยาด้วยความสมัครใจ ก็ไม่เป็นการขัดกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114และเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามมาตรา 1336 จึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้ ทรัพย์พิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งตามสัญญาระหว่างศ.กับจำเลยระบุว่าศ.จะไม่เข้าเกี่ยวข้องหรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่า ศ.ได้สละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยแล้วทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ศ.ไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดและไม่เป็นมรดกของ ศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยไม่ปลดเปลื้องความรับผิดสัญญาซื้อขาย หากหาข้าวสารจากแหล่งอื่นได้
สัญญาซื้อขายข้าวสารระหว่างโจทก์กับจำเลย มิได้กำหนดให้จำเลยจัดหาข้าวสารเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์จากที่ใด การที่จำเลยทำสัญญาซื้อข้าวสารจากโรงสีชุมนุมสหกรณ์ที่จังหวัดนครนายก โจทก์ไม่ได้รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องด้วย เมื่อเกิดเพลิงไหม้โรงสีและข้าวเปลือกที่เตรียมไว้สีเป็นข้าวสารถูกเพลิงไหม้ไปด้วย จำเลยก็สามารถจัดหาข้าวสารจากที่อื่นส่งมอบให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยไม่ปลดเปลื้องความรับผิดสัญญาซื้อขายข้าวสาร หากจำเลยสามารถหาข้าวสารจากแหล่งอื่นได้
สัญญาซื้อขายข้าวสารระหว่างโจทก์กับจำเลย มิได้กำหนดให้จำเลยจัดหาข้าวสารเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์จากที่ใด การที่จำเลยทำสัญญาซื้อข้าวสารจากโรงสีชุมนุมสหกรณ์ที่จังหวัดนครนายก โจทก์ไม่ได้รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องด้วย เมื่อเกิดเพลิงไหม้โรงสีและข้าวเปลือกที่เตรียมไว้สีเป็นข้าวสารถูกเพลิงไหม้ไปด้วย จำเลยก็สามารถจัดหาข้าวสารจากที่อื่นส่งมอบให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4307/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำทางจำเป็น: ศาลฎีกาตัดสินว่าการฟ้องขอทางจำเป็นอีกครั้งไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ หากประเด็นแตกต่างจากคดีเดิม
คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางจำเป็น ในชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยตกลงให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า ที่ดินตกอยู่ในภาระจำยอมหรือไม่และศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าทางพิพาทไม่เป็นทางภาระจำยอมดังนี้ ถือได้ว่าประเด็นเรื่องทางจำเป็นนั้นคู่ความได้สละแล้วจึงไม่เป็นประเด็นอีกต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เปิดทางพิพาทโดยอ้างว่าเป็นทางจำเป็นได้อีก เพราะประเด็นต่างกับคดีเดิมไม่เป็นฟ้องซ้ำ เมื่อทางพิพาทเป็นทางจำเป็น และโจทก์ได้ใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทมาเป็นเวลาหลายปี โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นดังกล่าวกว้าง 2 เมตรเพื่อให้รถยนต์ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบันเข้าออกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349และสิทธิใช้ทางดังกล่าวเป็นผลโดยอำนาจของกฎหมายไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4307/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ฟ้องซ้ำหรือไม่, สิทธิใช้ทาง, การจดทะเบียน และการรื้อถอนสิ่งกีดขวาง
คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางจำเป็น ในชั้นพิจารณาโจทก์จำเลยตกลงให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า ที่ดินตกอยู่ในภาระจำยอมหรือไม่และศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าทางพิพาทไม่เป็นทางภาระจำยอม ดังนี้ ถือได้ว่าประเด็นเรื่องทางจำเป็นนั้นคู่ความได้สละแล้วจึงไม่เป็นประเด็นอีกต่อไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เปิดทางพิพาทโดยอ้างว่าเป็นทางจำเป็นได้อีก เพราะประเด็นต่างกับคดีเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
เมื่อทางพิพาทเป็นทางจำเป็น และโจทก์ได้ใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทมาเป็นเวลาหลายปี โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นดังกล่าวกว้าง 2 เมตรเพื่อให้รถยนต์ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบันเข้าออกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และสิทธิใช้ทางดังกล่าวเป็นผลโดยอำนาจของกฎหมายไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีล้มละลาย: เงินบำเหน็จไม่ใช่ทรัพย์สินพิพาท
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย ระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งอายัดเงินบำเหน็จของจำเลยไว้ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ ในวันที่ยื่นอุทธรณ์โจทก์ขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาโดยขอให้ศาลมีคำสั่งงดปล่อยการอายัดเงินบำเหน็จหรือให้จำเลยนำเงินดังกล่าวมาวางศาล ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องภายหลังจากจำเลยรับเงินบำเหน็จไปจากศาลแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำเลยนำเงินบำเหน็จที่รับไปแล้วมาวางศาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ดังนี้ เงินบำเหน็จดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินหรือเงินพิพาทกันโดยตรงในคดีล้มละลาย ศาลจะสั่งให้จำเลยนำเงินดังกล่าวมาวางต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องระบุเหตุผลที่ชัดเจน หากอ้างเพียงว่ามีโอกาสชนะคดีโดยไม่ระบุรายละเอียด ศาลไม่รับฟัง
คำขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยกล่าวว่า หากจำเลยได้มีโอกาสต่อสู้คดีแล้ว คดีของจำเลยมีทางชนะ แต่ทางชนะมีอยู่อย่างไรจำเลยไม่กล่าวถึง และที่คำพิพากษาไม่ชอบเป็นการพิจารณาไปฝ่ายเดียวนั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่ศาลมีคำพิพากษา ดังนี้มิใช่ข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรื้อถอนอาคารต่อเติมของผู้เช่า: สัญญาเช่าไม่ครอบคลุมการต่อเติม ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ
สัญญาเช่าอาคารไม่มีข้อความระบุว่าให้เช่าอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมด้วยสัญญาดังกล่าวจึงผูกพันเฉพาะตัวอาคารที่ทำสัญญา สิทธิครอบครองอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมยังคงอยู่กับผู้ให้เช่า และแม้ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ผู้เช่าครอบครองใช้สอยอาคารที่ดัดแปลงต่อเติม ก็เป็นเพียงการอนุญาตเป็นพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่า ถือว่าผู้ครอบครองแทนผู้ให้เช่า ดังนั้นผู้ให้เช่าจึงต้องรับผิดในการรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ วินิจฉัยภายในกำหนด 30 วัน โดยมิได้กำหนดสภาพบังคับไว้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนด ก็ยังเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายและใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3735/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขายและการปฏิเสธอำนาจฟ้องที่มิชอบ ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผู้ซื้อผิดสัญญาซื้อขายไม่ชำระราคารถยนต์ตามกำหนดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จำเลยใช้เงินที่ขาดจำนวนตามสัญญาซื้อขายหลังจากที่ขายรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นแล้วจำนวนหนึ่งกับค่าขาดประโยชน์ที่จะให้บุคคลอื่นเช่าซื้อรถยนต์อีกจำนวนหนึ่งเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เป็นผลจากการเลิกสัญญาไม่ใช่ค่าส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)และกรณีเช่นนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติในเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 คำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลหรือไม่ โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีหรือไม่ไม่ทราบ ไม่รับรอง หนังสือรับรองนิติบุคคลและใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจำเลยปฏิเสธ นั้น เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น หรือแต่บางส่วนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3735/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายผิดสัญญา: ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผู้ซื้อผิดสัญญาซื้อขายไม่ชำระราคารถยนต์ตามกำหนดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จำเลยใช้เงินที่ขาดจำนวนตามสัญญาซื้อขายหลังจากที่ขายรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นแล้วจำนวนหนึ่ง กับค่าขาดประโยชน์ที่จะให้บุคคลอื่นเช่าซื้อรถยนต์อีกจำนวนหนึ่ง เงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เป็นผลจากการเลิกสัญญา ไม่ใช่ค่าส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) และกรณีเช่นนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติในเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำให้การขอจำเลยที่ 2 ที่ต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลหรือไม่ โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีหรือไม่ ไม่ทราบ ไม่รับรองหนังสือรับรองนิติบุคคลและใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี จำเลยปฏิเสธ นั้น เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่า จำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น หรือแต่บางส่วนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
of 46