พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการสิ้นสุดคดีล้มละลาย ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุพลั้งเผลอ
การยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันที่ไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โดยอ้างว่าเกิดขึ้นเพราะความพลั้งเผลอตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 97 ซึ่งศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขโดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่งหรือกำหนดการอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรนั้น คำว่าให้คนส่วนแบ่ง แสดงว่าผู้ขอได้รับชำระหนี้ไปแล้ว จึงต้องมีการคืน และการได้รับชำระหนี้ แสดงว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้รับชำระหนี้แล้ว ดังนั้น การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ย่อมทำได้จนกว่าจะได้จัดการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุด แม้คำสั่งให้รับชำระหนี้จะถึงที่สุดไปแล้ว หรือเจ้าหนี้ผู้นั้นจะได้เคยยื่นคำขอแก้ไขมาแล้วและได้ขอถอนคำร้องไปก็ตาม
ความพลั้งเผลออันเกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ของผู้ร้อง และเกิดขึ้นในระหว่างมีการสับเปลี่ยนหน่วยงานของผู้ร้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ผู้ร้องจะต้องปกปิดเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น จึงไม่เหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้แก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ได้
ความพลั้งเผลออันเกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ของผู้ร้อง และเกิดขึ้นในระหว่างมีการสับเปลี่ยนหน่วยงานของผู้ร้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ผู้ร้องจะต้องปกปิดเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น จึงไม่เหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้แก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยตัวผู้ต้องขังโดยมิชอบ เจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๔
การที่พนักงานสอบสวนรับตัวผู้ต้องหาควบคุมไว้โดยมิให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ย่อมมีผลให้การควบคุมนั้นเป็นการผิดกฎหมายซึ่งบุคคลดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยได้แต่การควบคุมนั้นก็ยังคงเป็นการควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวน อยู่ ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ต้องคุมขังตามอำนาจของพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ต้องคุมขังไป จึงเป็นการกระทำให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขัง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204
( วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2531)
( วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยตัวผู้ต้องขังโดยเจ้าพนักงานตำรวจสิบเวร แม้ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมาย ยังคงเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
แม้การที่พนักงานสอบสวนจะรับตัวผู้ต้องหาควบคุมไว้โดยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ก็ตาม แต่การควบคุมนั้นก็ยังคงเป็นการควบคุมตามอำนาจของพนักงานสอบสวนอยู่ ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ต้องขังตามอำนาจของพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ต้องขังไป จึงเป็นการกระทำให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขัง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติดในเรือนจำ: การ 'จ่ายแจก' ถือเป็นการจำหน่ายตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ซื้อเฮโรอีนตามที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ใช้แล้วโยนเฮโรอีนข้ามกำแพงเรือนจำไปให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งต้องขังอยู่ยังจุดนัดหมาย แต่เจ้าพนักงานเรือนจำมาพบเสียก่อนถือได้ว่าเป็นการจ่ายแจก ตามความหมายของคำว่า "จำหน่าย"ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเฮโรอีนและจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายยาเสพติดในเรือนจำ: การจ่าย/แจกยาข้ามกำแพงถือเป็นการจำหน่ายตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ซื่อเฮโรอีนตามที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ใช้แล้วโยนเฮโรอีนข้ามกำแพงเรือนจำไปให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งต้องขังอยู่ยังจุดนัดหมายแต่เจ้าพนักงานเรือนจำมาพบเสียก่อน ถือได้ว่าเป็นการจ่าย แจก ตามความหายของคำว่า " จำหน่าย " ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเฮโรอีนและจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้จำเลยี่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายิงโดยตรง, พยายามฆ่า, และการชิงทรัพย์: การพิเคราะห์หลักฐานและการร่วมกระทำผิด
การที่จำเลยที่ 1 เล็งอาวุธปืนไปทางผู้เสียหาย ขณะเดียวกันได้พูดว่ามึงตายเสียเถอะ ประกอบกับภายในอาวุธปืนของจำเลยที่ 1ก็มีปลอกกระสุนปืนที่ยิงแล้ว 4 ปลอก และคำให้การของจำเลยที่ 1ในชั้นสอบสวนระบุว่าได้เล็งอาวุธปืนไปทางผู้เสียหายแล้วยิง 1 นัดแต่กระสุนปืนไม่ลั่น เมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีได้ยิงอีก 4 นัดกระสุนปืนลั่น ทั้งจำเลยที่ 1 แสดงท่าไล่ยิงเล็งอาวุธปืนตรงไปทางผู้เสียหายให้ถ่ายรูปประกอบคำรับสารภาพไว้ ดังนี้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าแต่ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายเพราะกระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสำคัญจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า จำเลยทั้งสองเป็นสามีภรรยากัน ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดกาญจนบุรีได้ไป จังหวัดสมุทรสงครามด้วยกัน จำเลยทั้งสองว่าจ้างผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปส่ง ผู้เสียหายคิดราคา 80 บาท จำเลยที่ 1ต่อราคาเพราะมีเงินเพียง 100 บาทผู้เสียหายไม่ลดราคา จำเลยที่ 1คิดไม่จ่ายค่าจ้างและชิงเอารถจักรยานยนต์ จึงลวงให้ผู้เสียหายให้ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งอีก ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 2ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้เสียหาย ไม่มีโอกาสที่จะสมคบกับจำเลยที่ 1 ได้การที่จำเลยที่ 2 หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 ด้วยรถจักรยานยนต์คันเดียวนั้นก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จำเลยที่ 2 จะต้องไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามี ดังนี้ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดชอบหนี้ของผู้ตายตามกฎหมายมรดก แม้จะยังไม่มีทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะทายาทผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ให้รับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้รับมรดกผู้ตายไม่มีทรัพย์ตกทอดแก่ทายาทและจำเลยไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดก เพื่อเป็นเหตุตัดอำนาจฟ้องของโจทก์หาได้ไม่ เพราะข้ออ้างดังกล่าวหากเป็นความจริงก็เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี ทั้งทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 อยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตาย: การสืบสิทธิในหนี้และขอบเขตความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะทายาทผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ให้รับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้รับมรดกผู้ตายไม่มีทรัพย์ตกทอดแก่ทายาทและจำเลยไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อเป็นเหตุตัดอำนาจฟ้องของโจทก์หาได้ไม่เพราะข้ออ้างดังกล่าวหากเป็นความจริงก็เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี ทั้งทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คระบุชื่อขีดฆ่าคำว่าผู้ถือและมีข้อความ AC PAYEE ONLY ผู้รับเงินเท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้อง
เช็คพิพาทเป็นเช็คระบุชื่อ ด. เป็นผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่าผู้ถือออกกับขีดคร่อมและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า ACPAYEEONLY ซึ่งแปลว่า เฉพาะบัญชีผู้รับเงินเท่านั้นจึงแสดงว่าเช็คพิพาทเปลี่ยนมือไม่ได้ ดังนี้นอกจาก ด. แล้วบุคคลอื่นใดจะอ้างตนเป็นผู้ทรงโดยได้รับโอนเช็คดังกล่าวหาได้ไม่ แม้ ด. จะโอนเช็คให้แก่โจทก์โดยการสลักหลังและส่งมอบเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้รับเงินและไม่ถือว่าเป็นผู้ทรงตามกฎหมาย โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คระบุชื่อเฉพาะผู้รับเงิน โอนสลักหลังมิชอบ ผู้โอนไม่มีอำนาจฟ้อง
เช็คพิพาทเป็นเช็คระบุชื่อ ด. เป็นผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่าผู้ถือออก กับขีดคร่อมและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า ACPAYEEONLYซึ่งแปลว่า เฉพาะบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น จึงแสดงว่าเช็คพิพาทเปลี่ยนมือไม่ได้ดังนี้ นอกจาก ด. แล้ว บุคคลอื่นใดจะอ้างตนเป็นผู้ทรงโดยได้รับโอนเช็คดังกล่าวหาได้ไม่ แม้ ด. จะโอนเช็คให้แก่โจทก์โดยการสลักหลังและส่งมอบเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้รับเงินและไม่ถือว่าเป็นผู้ทรงตามกฎหมายโจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้