คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ส่อง สุขะปุณณพันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 451 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ศาลดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย แม้โจทก์มิได้ขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อทางพิจารณาปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวอันควรตกเป็นบุคคลล้มละลายดังกล่าว ศาลต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลดำเนินไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติหาใช่เป็นเรื่องที่ศาลมีคำสั่งนอกเหนือเกินเลยไปจากคำขอตามฟ้อง กรณีจึงไม่ต้องด้วย มาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมีอำนาจสั่งพิทักษ์ทรัพย์เมื่อมีเหตุล้มละลาย แม้โจทก์มิได้ขอโดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อทางพิจารณาปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวอันควรตกเป็นบุคคลล้มละลายดังกล่าว ศาลต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลดำเนินไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติหาใช่เป็นเรื่องที่ศาลมีคำสั่งนอกเหนือเกินเลยไปจากคำขอตามฟ้อง กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ และการมอบอำนาจฟ้องคดีที่ไม่ต้องขออนุญาต
ปัญหาที่ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยไม่ขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะหรือไม่ และโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนประกอบการงานของจำเลยจะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในการกระทำที่จัดการงานให้จำเลยได้หรือไม่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
ตามบทบัญญัติ มาตรา 44 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ที่กำหนดให้การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน นั้น หมายความเฉพาะการตั้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั้น ส่วนการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี แม้จะถือว่าเป็นการตั้งตัวแทน ก็ไม่ต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะเป็นอำนาจทั่วไปที่บุคคลมีอยู่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลาย ในจำนวนหนี้ซึ่งเกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์เนื่องจากการเป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายอันเนื่องมาจากหนี้สินที่มีอยู่นั้นได้บทบัญญัติมาตรา 175(4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นเรื่องความรับผิดทางอาญาของตัวแทนในกิจการที่ได้กระทำในขณะที่เป็นผู้ประกอบการงานของลูกหนี้ จำเลยจะนำมากล่าวอ้างเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดดังกล่าวหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ และขอบเขตการขออนุญาตตัวแทนตาม พ.ร.บ.ธุรกิจหลักทรัพย์
ปัญหาที่ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยไม่ขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะหรือไม่ และโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนประกอบการงานของจำเลยจะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในการกระทำที่จัดการงานให้จำเลยได้หรือไม่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามบทบัญญัติ มาตรา 44 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ที่กำหนดให้การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน นั้น หมายความเฉพาะการตั้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั้นส่วนการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี แม้จะถือว่าเป็นการตั้งตัวแทน ก็ไม่ต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะเป็นอำนาจทั่วไปที่บุคคลมีอยู่ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายในจำนวนหนี้ซึ่งเกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์เนื่องจากการเป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายอันเนื่องมาจากหนี้ที่มีอยู่นั้นได้ บทบัญญัติมาตรา175(4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นเรื่องความรับผิดทางอาญาของตัวแทนในกิจการที่ได้กระทำในขณะที่เป็นผู้ประกอบการงานของลูกหนี้ จำเลยจะนำมากล่าวอ้างเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ และการมอบอำนาจฟ้องคดีที่ไม่ต้องขออนุญาต
ปัญหาที่ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยไม่ขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะหรือไม่ และโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนประกอบการงานของจำเลยจะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในการกระทำที่จัดการงานให้จำเลยได้หรือไม่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
ตามบทบัญญัติ มาตรา 44 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ที่กำหนดให้การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน นั้น หมายความเฉพาะการตั้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั้น ส่วนการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี แม้จะถือว่าเป็นการตั้งตัวแทน ก็ไม่ต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะเป็นอำนาจทั่วไปที่บุคคลมีอยู่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลาย ในจำนวนหนี้ซึ่งเกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์เนื่องจากการเป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายอันเนื่องมาจากหนี้สินที่มีอยู่นั้นได้บทบัญญัติมาตรา 175(4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นเรื่องความรับผิดทางอาญาของตัวแทนในกิจการที่ได้กระทำในขณะที่เป็นผู้ประกอบการงานของลูกหนี้ จำเลยจะนำมากล่าวอ้างเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินในคดีล้มละลาย: ศาลหยิบยกอายุความได้แม้ลูกหนี้ไม่ยก
อายุความฟ้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินมีกำหนด 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 และการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้น อายุความการขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจะเริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา 3 ปี แล้วคดีจึงขาดอายุความ
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ลูกหนี้ไม่จำต้องให้การต่อสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญ ทั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพ์ได้เสนอความเห็นต่อศาลว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วแม้ลูกหนี้ไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลก็มีอำนาจหยิบยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่างตอบแทน สิทธิและหน้าที่ตกทอดแก่ทายาท ฟ้องแย้งจดทะเบียนได้แต่มีอายุความ
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ตามข้อตกลง และถือไม่ได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้คู่สัญญาจะตาย สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็ต้องตกทอดไปยังทายาท สัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ฉ. ผู้ให้เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา และมีข้อตกลงให้เช่าช่วงได้ เมื่อจำเลยเช่ายังไม่ครบกำหนดและให้เช่าช่วงตามข้อตกลง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และไม่มีอำนาจฟ้องและที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของฉ. จดทะเบียนการเช่า เป็นการให้ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้จดทะเบียนการเช่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนี้ จำเลยจึงฟ้องแย้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าได้ การจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของผู้ให้เช่าที่จะต้องกระทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าเมื่อผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมหน้าที่ดังกล่าวย่อมตกทอดไปยังทายาท การที่ผู้เช่าฟ้องบังคับให้จดทะเบียนสิทธิการเช่าถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง จึงต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่ผู้เช่าทราบว่าผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าเช่า, สิทธิทายาท, อายุความฟ้องแย้ง, การจดทะเบียนเช่า
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ตามข้อตกลงและถือไม่ได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้คู่สัญญาจะตาย สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็ต้องตกทอดไปยังทายาท
สัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ฉ. ผู้ให้เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา และมีข้อตกลงให้เช่าช่วงได้ เมื่อจำเลยเช่ายังไม่ครบกำหนดและให้เช่าช่วงตามข้อตกลง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และไม่มีอำนาจฟ้อง และที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. จดทะเบียนการเช่า เป็นการให้ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้จดทะเบียนการเช่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้นดังนี้ จำเลยจึงฟ้องแย้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าได้
การจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของผู้ให้เช่าที่จะต้องกระทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าเมื่อผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมหน้าที่ดังกล่าวย่อมตกทอดไปยังทายาท การที่ผู้เช่าฟ้องบังคับให้จดทะเบียนสิทธิการเช่าถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง จึงต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่ผู้เช่าทราบว่าผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447-2448/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยมีด: การพิจารณาจากบาดแผลและพฤติการณ์การกระทำ
จำเลยที่ 2 ใช้มีดบังตอ ตัวมีดยาว 8 นิ้ว กว้าง 4 นิ้ว ฟันโจทก์ที่ 2 โดยจะฟันที่ศีรษะซึ่งเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย โจทก์ที่2 ยกมือรับไว้ได้รับบาดแผลที่มือขวาบริเวณระหว่างง่ามนิ้วชี้กับนิ้วกลางด้านหน้าขนาด 1X5 เซนติเมตร ด้านหลังขนาด 1X4เซนติเมตรแสดงว่าจำเลยที่ 2 ใช้มีดฟันโดยแรงและจำเลยที่ 2 ยังเงื้อมีดขึ้นใหม่ฟันซ้ำอีก พอดีมีผู้อื่นไปห้ามกระชากโจทก์ที่ 2 ออกไปคงถูกคมมีดเฉี่ยวที่สะโพก ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ใช้มีดฟันโดยมีเจตนาฆ่าโจทก์ที่ 2 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอคืนของกลาง: ผู้มิใช่เจ้าของไม่มีสิทธิ แม้ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด
ผู้ร้องร้องขอคืนของกลาง ศาลชั้นต้นฟังว่าของกลางเป็นของผู้ร้องแต่ผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดของจำเลยจึงสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์และแม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในข้อที่ว่าผู้ร้องมิใช่เจ้าของของกลาง ศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษาให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ด้วยเหตุที่ของกลางมิใช่ของผู้ร้องได้ เมื่อผู้ร้องฎีกาต่อมา และศาลฎีกาเห็นว่าผู้ร้องมิใช่เจ้าของของกลาง ย่อมพิพากษายืนให้ยกคำร้องของผู้ร้องได้เช่นกัน เพราะผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอคืน
of 46