พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ในการขนส่งสิ่งของสูญหาย และขอบเขตการประกันภัย
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ดังนี้เป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์เดิมส่วนโจทก์มีสิทธิและหน้าที่อยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นนั้นและต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการโจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้ จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักรจำเลยที่1จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่1ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา29ไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ141. จำเลยที่2มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่2มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่1ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่1ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใดถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่2รับไปจำเลยที่2ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อสิ่งของสูญหาย: ข้อจำกัดความรับผิดตามระเบียบและข้อยกเว้น
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหาย ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าแทนที่โจทก์ ดังนี้ เป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์เดิม ส่วนโจทก์มีสิทธิและหน้าที่อยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นนั้น และต้องผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการ โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์ มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 ไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 141
จำเลยที่ 2 มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 48 ตามที่จำเลยที่1 กำหนดให้ส่ง ทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใด ถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่ 2 รับไป จำเลยที่ 2 ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหาย จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการไปรษณีย์ มีหน้าที่ตามกฎหมายในการรับขนส่งไปรษณียภัณฑ์ ของผู้ฝากส่งไปทั้งในและนอกราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นการฝากส่งไปรษณียภัณฑ์รับประกันเมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 ไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 141
จำเลยที่ 2 มิได้รับขนส่งให้โจทก์และมิใช่การขนส่งหลายทอดแต่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องขนส่งให้จำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 48 ตามที่จำเลยที่1 กำหนดให้ส่ง ทั้งไม่ได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบให้และไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายไปจากที่แห่งใด ถุงไปรษณียภัณฑ์ที่จำเลยที่ 2 รับไป จำเลยที่ 2 ได้ขนส่งไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการขนจนเป็นเหตุให้ของหาย จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393-2394/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดไปรษณียภัณฑ์ตามกฎหมายและข้อบังคับ: การรับประกันสูงสุด 3,950 บาท
อำนาจหน้าที่และความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการขนไปรษณียภัณฑ์ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2515และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520มิใช่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. จากข้อบังคับของไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ131,141,143,146และ147สิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณียภัณฑ์รับประกันมีเฉพาะจดหมายรับประกันซึ่งจดหมายรับประกันนี้จะจดแจ้งราคาหรือไม่ก็ได้การขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งของที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุอยู่หากมีราคามากกว่า3,950บาทขอรับประกันได้ไม่เกิน3,950บาท. ความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีไปรษณียภัณฑ์รับประกันแตกหักสูญหายต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ141ส่วนมาตรา30แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับไปรษณียภัณฑ์อื่นอันมิใช่จดหมายรับประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393-2394/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดไปรษณีย์: รับประกันภัยตามจริง, ไม่เกิน 3,950 บาท, ผู้ขนส่งชั้นสองไม่ต้องรับผิด
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่1มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการไปรษณีย์เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชนจึงมิใช่ผู้ขนส่งตามป.พ.พ.และตามป.พ.พ.มาตรา609การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยต้องบังคับตามพ.ร.บ.ไปรษณีย์พุทธศักราช2477พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2519และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520 ตามข้อบังคับของไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ของที่ฝากส่งทางไปรษณีย์รับประกันมีได้เฉพาะจดหมายรับประกันการขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุหากมีราคามากกว่า3,950บาทก็ขอให้รับประกันได้ไม่เกินกว่านั้นฉะนั้นเมื่อผู้ฝากส่งได้ฝากส่งของประเภทจดหมายรับประกันและของที่ฝากส่งสูญหายจำเลยที่1คงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในไปรษณียนิเทศเท่าที่รับประกันไว้เท่านั้นหาต้องรับผิดจนเต็มราคาสิ่งของที่ฝากส่งไม่ บริษัทสายการบินอลิตาเลีย จำกัดจำเลยที่2ขนส่งของให้จำเลยที่1ตามพ.ร.บ.ไปรษณีย์พุทธศักราช2477มาตรา48ตามที่จำเลยที่1กำหนดให้ส่งและมิได้รับแจ้งถึงสภาพและราคาของไปรษณียภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในถุงไปรษณีย์จำเลยที่2จึงมิใช่ผู้รับขนส่งให้ผู้ฝากส่งและกรณีมิใช่การขนส่งหลายทอดเมื่อจำเลยที่2ขนส่งของไปถึงปลายทางในสภาพเรียบร้อยโดยไม่ปรากฏว่าได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้ของหายจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393-2394/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจำกัดของไปรษณีย์ในการขนส่งของรับประกันตามกฎหมายและข้อบังคับ
อำนาจหน้าที่และความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการขนไปรษณียภัณฑ์ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2515 และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช 2520 มิใช่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จากข้อบังคับของไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 131, 141,143, 146 และ 147 สิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณียภัณฑ์รับประกันมีเฉพาะจดหมายรับประกัน ซึ่งจดหมายรับประกันนี้จะจดแจ้งราคาหรือไม่ก็ได้ การขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งของที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุอยู่หากมีราคามากกว่า 3,950 บาท ขอรับประกันได้ไม่เกิน 3,950 บาท
ความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีไปรษณียภัณฑ์รับประกันแตกหักสูญหายต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 141 ส่วนมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช 2477 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับไปรษณียภัณฑ์อื่นอันมิใช่จดหมายรับประกัน
จากข้อบังคับของไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 131, 141,143, 146 และ 147 สิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณียภัณฑ์รับประกันมีเฉพาะจดหมายรับประกัน ซึ่งจดหมายรับประกันนี้จะจดแจ้งราคาหรือไม่ก็ได้ การขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งของที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุอยู่หากมีราคามากกว่า 3,950 บาท ขอรับประกันได้ไม่เกิน 3,950 บาท
ความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีไปรษณียภัณฑ์รับประกันแตกหักสูญหายต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 141 ส่วนมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช 2477 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับไปรษณียภัณฑ์อื่นอันมิใช่จดหมายรับประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อสินค้าสูญหาย: การลงทะเบียนไม่ประกัน, การแจ้งราคา, และผู้รับขน
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนไม่มีการประกันแต่อย่างใด เมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 คือตามข้อบังคับ ที่ใช้อยู่เวลานั้นหาใช่ต้องรับผิดตามมาตรา 30 ไม่ เพราะตาม มาตราดังกล่าวต้องเป็นไปรษณียภัณฑ์ ที่ผู้ฝากได้ระบุแจ้งราคาไว้แล้วเท่านั้น การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราลงใน ใบขนสินค้าขาออกซึ่งแจ้งราคาสินค้าไว้ด้วย โดยผ่านพิธีการศุลกากร มาแล้วและมิต้องเปิดตรวจสอบให้ตรงกันก่อนเป็นเพียงแสดงว่า ไปรษณียภัณฑ์นั้นผ่านเข้าไปรษณีย์แล้วเท่านั้นและโจทก์มิได้ส่ง เอกสารใบขนสินค้าไว้แก่จำเลยที่ 1 ให้เป็นกิจจะลักษณะจึงถือว่า เป็นการแจ้งราคาไว้แก่จำเลยที่1 แล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนพิเศษที่จะต้องแยกไปปฏิบัติและบังคับ ตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับการไปรษณีย์โดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 จึงนำบทบัญญัติ เรื่องการรับขนของในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้และจะถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยที่1 เท่านั้นเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามมาตรา 618 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของสิ่งของลงทะเบียนที่ไม่ได้รับการประกัน
การฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนไม่มีการประกันแต่อย่างใด เมื่อไปรษณียภัณฑ์สูญหายจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด ตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 29 คือตามข้อบังคับ ที่ใช้อยู่เวลานั้นหาใช่ต้องรับผิดตามมาตรา 30 ไม่ เพราะตาม มาตราดังกล่าวต้องเป็นไปรษณียภัณฑ์ ที่ผู้ฝากได้ระบุแจ้งราคาไว้แล้วเท่านั้น
การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราลงในใบขนสินค้าขาออกซึ่งแจ้งราคาสินค้าไว้ด้วย โดยผ่านพิธีการศุลกากร มาแล้วและมิต้องเปิดตรวจสอบให้ตรงกันก่อนเป็นเพียงแสดงว่า ไปรษณียภัณฑ์นั้นผ่านเข้าไปรษณีย์แล้วเท่านั้นและโจทก์มิได้ส่งเอกสารใบขนสินค้าไว้แก่จำเลยที่ 1 ให้เป็นกิจจะลักษณะจึงถือว่า เป็นการแจ้งราคาไว้แก่จำเลยที่ 1 แล้วหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนพิเศษที่จะต้องแยกไปปฏิบัติและบังคับ ตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับการไปรษณีย์โดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 จึงนำบทบัญญัติ เรื่องการรับขนของในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้และจะถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามมาตรา 618 ไม่ได้
การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราลงในใบขนสินค้าขาออกซึ่งแจ้งราคาสินค้าไว้ด้วย โดยผ่านพิธีการศุลกากร มาแล้วและมิต้องเปิดตรวจสอบให้ตรงกันก่อนเป็นเพียงแสดงว่า ไปรษณียภัณฑ์นั้นผ่านเข้าไปรษณีย์แล้วเท่านั้นและโจทก์มิได้ส่งเอกสารใบขนสินค้าไว้แก่จำเลยที่ 1 ให้เป็นกิจจะลักษณะจึงถือว่า เป็นการแจ้งราคาไว้แก่จำเลยที่ 1 แล้วหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับขนพิเศษที่จะต้องแยกไปปฏิบัติและบังคับ ตามกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับการไปรษณีย์โดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 จึงนำบทบัญญัติ เรื่องการรับขนของในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้และจะถือว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามมาตรา 618 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการละเมิดจากพนักงาน กรณีตั๋วแลกเงินสูญหายหรือถูกขโมย
โจทก์ที่ 1 ส่งตั๋วแลกเงินจำนวน 40,000 บาทของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาเบตงให้แก่โจทก์ที่ 2 โดยบรรจุตั๋วแลกเงินในซองจดหมายลงทะเบียนจ่าหน้าซองถึงโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานบุรุษไปรษณีย์ ได้รับมอบหมายให้นำไปรษณียภัณฑ์ดังกล่าวไปส่งให้แก่ผู้รับ แต่ในการส่งนั้นจำเลยที่ 2 ได้ทำหลักฐานใบรับปลอมขึ้นว่ามีบุคคลในบ้านเดียวกันกับโจทก์ที่ 2 รับแทน แล้วแอบอ้างตัวเองเป็นโจทก์ที่ 2 นำตั๋วแลกเงินไปรับเงินจากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาราชปรารภ อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ แม้ พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 จะบัญญัติถึงความรับผิดของกรมไปรษณีย์ไว้เป็นพิเศษก็ตาม แต่เมื่อกรณีนี้เป็นเรื่องละเมิด มิใช่เป็นการทำผิดสัญญารับขน พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 จึงไม่เป็นประโยชน์แก่กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อทรัพย์สินที่โจทก์ต้องเสียไปเพราะการละเมิดนั้นคือเงินจำนวน 40,000 บาทตามตั๋วแลกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 2 เอาไป ซึ่งเป็นความเสียหายโดยตรงจากการละเมิดของจำเลยที่ 2 กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ราคาทรัพย์จำนวนดังกล่าวให้โจทก์
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2518 )
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2518 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการละเมิดของพนักงานจากความประมาทในการส่งตั๋วแลกเงิน
โจทก์ที่ 1 ส่งตั๋วแลกเงินจำนวน 40,000 บาทของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาเบตงให้แก่โจทก์ที่ 2 โดยบรรจุตั๋วแลกเงินในซองจดหมายลงทะเบียนจ่าหน้าซองถึงโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานบุรุษไปรษณีย์ ได้รับมอบหมายให้นำไปรษณียภัณฑ์ดังกล่าวไปส่งให้แก่ผู้รับ แต่ในการส่งนั้นจำเลยที่ 2 ได้ทำหลักฐานใบรับปลอมขึ้นว่ามีบุคคลในบ้านเดียวกันกับโจทก์ที่ 2 รับแทน แล้วแอบอ้างตัวเองเป็นโจทก์ที่ 2 นำตั๋วแลกเงินไปรับเงินจากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาราชปรารภ อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ แม้พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 จะบัญญัติถึงความรับผิดของกรมไปรษณีย์ไว้เป็นพิเศษก็ตาม แต่เมื่อกรณีนี้เป็นเรื่องละเมิด มิใช่เป็นการทำผิดสัญญารับขน พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ 2477 จึงไม่เป็นประโยชน์แก่กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อทรัพย์สินที่โจทก์ต้องเสียไปเพราะการละเมิดนั้นคือเงินจำนวน 40,000 บาทตามตั๋วแลกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 2 เอาไป ซึ่งเป็นความเสียหายโดยตรงจากการละเมิดของจำเลยที่ 2 กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ราคาทรัพย์จำนวนดังกล่าวให้โจทก์ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2518)