พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ซื้อขาย vs. จ้างทำของ และสิทธิคืนภาษีที่ชำระเกิน
โจทก์จำหน่ายรองเท้าโดยผลิตเองบ้าง สั่งซื้อรองเท้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศบ้าง และสั่งทำจากร้านต่าง ๆ ในประเทศบ้าง นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับร้านผู้ทำรองเท้าสำหรับรองเท้าที่ทำในประเทศ จะเข้าลักษณะสัญญาประเภทใด ก็ย่อมต้องดูเจตนาและกริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกัน เมื่อได้ความว่าโจทก์กับร้านผู้ทำรองเท้าตกลงกันเป็นเรื่องซื้อขายและปรากฏด้วยว่าผู้ทำรองเท้าเหล่านั้นได้ยื่นรายรับแสดงการชำระภาษีการค้า ในฐานะผู้ผลิตต่อกรมสรรพากร และชำระค่าภาษีไปแล้ว จึงสนับสนุนให้เห็นเจตนาของโจทก์กับร้านเหล่านั้นว่ามุ่งที่จะก่อนิติสัมพันธ์กันในทางซื้อขาย มิใช่เรื่องเจตนาจ้างทำของ ส่วนที่มีข้อตกลงให้ร้านผู้ทำรองเท้าต้องทำรองเท้าตามชนิดขนาด ลักษณะ แบบ และวัสดุที่โจทก์กำหนด จะผลิตออกจำหน่ายแก่ผู้อื่นไม่ได้ ร้านผู้ทำร้องเท้าต้องประทับตราเครื่องหมายการค้าของโจทก์บนรองเท้า และหีบห่อและต้องยินยอมให้โจทก์เข้าไปตรวจการผลิตรองเท้า ก็เป็นเงื่อนไขที่คู่สัญญาซื้อขายอาจตกลงกำหนดเป็นข้อบังคับกันได้ ตามพาณิชโยบายของทั้งสองฝ่าย หาทำให้เจตนาของคู่สัญญาแปรเปลี่ยนไปไม่ เมื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อรองเท้าดังกล่าว ไม่ใช่ผู้ผลิต โจทก์ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตรองเท้านั้น
การที่กรมสรรพากรประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์ และโจทก์ได้ทำไปตามการประเมินนั้น ไม่ใช่เรื่องกรมสรรพากรได้ทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจำอ้างกฎหมายได้ กรณีไม่ต้องห้ามฟ้องเมื่อพ้น 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 และ เมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิอุทธรณ์ว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ถ้าหากกรมสรรพากรไม่มีสิทธิเรียกเก็บตามกฎหมาย ก็ต้องคืนให้โจทก์โดยเฉพาะคดีนี้ กรมสรรพากรเคยยอมคืนเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนให้โจทก์แล้ว โดยมอบให้หักเอาจากเงินค่าภาษี ที่โจทก์ต้องชำระแก่กรมสรรพากร ดังนี้ กรมสรรพากรจะอ้างว่าได้ครอบครองเงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระไปอย่างเป็นเจ้าของมาเกินกว่า 5 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์นั้น ย่อมรับฟังไม่ได้
การที่กรมสรรพากรประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าจากโจทก์ และโจทก์ได้ทำไปตามการประเมินนั้น ไม่ใช่เรื่องกรมสรรพากรได้ทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจำอ้างกฎหมายได้ กรณีไม่ต้องห้ามฟ้องเมื่อพ้น 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 และ เมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิอุทธรณ์ว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ถ้าหากกรมสรรพากรไม่มีสิทธิเรียกเก็บตามกฎหมาย ก็ต้องคืนให้โจทก์โดยเฉพาะคดีนี้ กรมสรรพากรเคยยอมคืนเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนให้โจทก์แล้ว โดยมอบให้หักเอาจากเงินค่าภาษี ที่โจทก์ต้องชำระแก่กรมสรรพากร ดังนี้ กรมสรรพากรจะอ้างว่าได้ครอบครองเงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระไปอย่างเป็นเจ้าของมาเกินกว่า 5 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์นั้น ย่อมรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าและแบ่งขายปุ๋ยยาปราบศัตรูพืช ไม่ถือเป็นการผลิตสินค้าตามประมวลรัษฎากร
โจทก์สั่งสินค้าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชในสภาพที่บรรจุอยู่ในถังใหญ่จากต่างประเทศมาจำหน่าย โดยมาแบ่งบรรจุภาชนะย่อยขายและใช้สลากรูปรอยตราชื่อปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชชื่อเดิมแต่เติมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้แล้วลงไปในสลากนั้นด้วย และระบุด้วยว่า โจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ดังนี้ สินค้าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชได้แปรสภาพมาจากทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีผู้จัดทำหรือผลิตขึ้นแล้วนำออกขายเป็นสินค้า โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อสินค้านี้จากผู้ผลิตในต่างประเทศ การที่โจทก์นำมาแบ่งขายในสภาพเช่นของเดิม โดยมิได้เจือปนวัตถุอื่นเพิ่มเติมลงไปอีกเพื่อขายเป็นสินค้าชนิดใหม่ และได้ขายสินค้านี้ในรูปรอยตราเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ เห็นได้ว่าเพื่อให้สะดวกแก่ผู้ซื้อที่จะซื้อเพียงเท่าที่ต้องการ และเพื่อสะดวกในการนำสินค้าติดตัวไป การระบุในสลากปิดภาชนะสินค้าที่แบ่งขายย่อยว่าโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เป็นการยืนยันว่าโจทก์ไม่ได้ผลิตสินค้าขึ้นใหม่ การที่โจทก์ตีตราเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพิ่มเติมลงไปในสลากสินค้าในรูปรอยเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าขึ้นใหม่ ไม่เป็นการ "ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ " ตามบทนิยามคำว่า "ผลิต" ในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 การแบ่งขายสินค้าซึ่งโจทก์ดำเนินการดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตลวดเหล็กและลวดหนาม: การตีความคำว่า 'ผลิต' ตามประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 บัญญัติความหมายของคำว่า "ผลิต" ไว้ว่า หมายถึง "ทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบ แปรรูป แปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ " และ "ผู้ผลิต" หมายถึง "ผู้ประกอบการค้าที่ทำการผลิต" โจทก์ทำสินค้าโดยซื้อลวดเหล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีคนเอาไปใช้อย่างอื่นนอกจากแปรรูปให้เป็นขนาดเล็กนำมาผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ 4 ขั้นตอน คือ ล้างและรีดเป็นเส้นลวดให้มีขนาดเล็กลง แล้วนำไปอบความร้อนให้มีสภาพอ่อนตัวลง และชุบสังกะสีทำเป็นลวดสังกะสีและตะปู หรือเข้าเครื่องฟั่นเครื่องตัดทำเป็นลวดหนามออกจำหน่าย ดังนี้ การทำสินค้าลวดเหล็กของโจทก์ตั้งแต่กรรมวิธีที่ 1 ถึงกรรมวิธีที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการแปรสภาพสินค้าจากลวดเหล็กขนาดใหญ่เป็นลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปู จึงเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 และเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าที่โจทก์ทำการผลิต โจทก์จึงเป็นผู้ผลิตตามมาตรา 77 ด้วย
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด 1 (ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 มาตรา 4 (1) (3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้าง แม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตาม หรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไปแล้วก็ตาม ก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งของแต่ละคนและแต่ละกรณีไป เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด 1 (ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 มาตรา 4 (1) (3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้าง แม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตาม หรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไปแล้วก็ตาม ก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งของแต่ละคนและแต่ละกรณีไป เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตลวดเหล็กและผลิตภัณฑ์แปรรูป ศาลฎีกายืนตามประเมิน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 บัญญัติความหมายของคำว่า "ผลิต" ไว้ว่า หมายถึง "ทำการเกษตรหรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบ แปรรูป แปรสภาพสินค้า หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ " และ "ผู้ผลิต" หมายถึง "ผู้ประกอบการที่ทำการผลิต" โจทก์ทำสินค้าโดยซื้อลวดเหล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่มีคนเอาไปใช้อย่างอื่นนอกจากแปรรูปให้เป็นขนาดเล็กนำมาผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ 4 ขั้นตอน คือ ล้างและรีดเป็นเส้นลวดให้มีขนาดเล็กลง แล้วนำไปอบความร้อนให้มีสภาพอ่อนตัวลง และชุบสังกะสีทำเป็นลวดสังกะสีและตะปู หรือเข้าเครื่องฟั่นเครื่องตัดทำเป็นลวดหนามออกจำหน่าย ดังนี้ การทำสินค้าลวดเหล็กของโจทก์ตั้งแต่กรรมวิธีที่ 1 ถึงกรรมวิธีที่ 4 ถือได้ว่าเป็นการแปรสภาพสินค้าจากลวดเหล็กขนาดใหญ่เป็นลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปู จึงเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 และเมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าที่โจทก์ทำการผลิต โจทก์จึงเป็นผู้ผลิตตามมาตรา 77 ด้วย
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด 1 (ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 มาตรา 4 (1) (3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้าง แม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตาม หรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไทยไปแล้วก็ตาม ก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งของแต่ละคนและแต่ละกรณีไป เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่
เมื่อโจทก์นำลวดสังกะสี ลวดหนาม และตะปูที่ตนผลิตดังกล่าวมาขาย โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 แห่งประมวลรัษฎากรประเภท 1 การขายของชนิด 1 (ก) ในฐานะผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรายรับก่อนเดือนกรกฎาคม 2513 และร้อยละ 7 สำหรับรายรับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2513 เป็นต้นมา เพราะการค้าของโจทก์มิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 มาตรา 4 (1) (3) เพราะโจทก์มิได้ส่งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกนอกราชอาณาจักร และสินค้าดังกล่าวก็มีระบุไว้ในบัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกา
โจทก์ซื้อลวดเหล็กที่นำมาผลิตเป็นลวดสังกะสี ลวดหนามและตะปูมาจากบริษัทผู้ผลิตลวดเหล็กในประเทศบ้าง และซื้อมาจากต่างประเทศบ้าง แม้บริษัทผู้ผลิตในประเทศจะได้เสียภาษีการค้าไปชั้นหนึ่งแล้วก็ตาม หรือโจทก์ได้เสียภาษีการค้าในกรณีนำลวดเหล็กเข้ามาในประเทศไทยไปแล้วก็ตาม ก็เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งของแต่ละคนและแต่ละกรณีไป เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าด้วยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าตามนั้น จะอ้างว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือเป็นการเสียภาษีซ้อนหาได้ไม่