คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
คำนึง อุไรรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 368 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องเช่าช่วงและการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาเดิม
ข้อความตามสัญญาเช่าช่วงที่ระบุว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ชี้ขาดนั้น เป็นข้อตกลงระหว่างผู้เช่ากับจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงไม่เกี่ยวกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าเดิม ผู้เช่าและโจทก์ผู้ให้เช่าเดิมจะทำการโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่กันไม่ได้เว้นแต่จะได้รับยินยอมเป็นหนังสือจากจำเลยโดยชัดแจ้ง และการโอนจะต้องทำเป็นหนังสือตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306การตั้งตัวแทนเพื่อการโอนดังกล่าวจึงต้องกระทำเป็นหนังสือด้วย
เมื่อไม่ได้ความว่า ผู้เช่าได้โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าช่วงแก่โจทก์ผู้ให้เช่าเดิม การที่โจทก์เสนอข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตามสัญญาเช่าช่วงต่ออนุญาโตตุลาการ และอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบจะนำคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมาบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามมิได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพิจารณาคดีล้มละลาย: การตรวจสอบหนี้จริงเพื่อปฏิเสธคำฟ้อง
การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตาม มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483ว่าคดีมีเหตุควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ฉะนั้น แม้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาคดีจะไม่มีประเด็นโต้เถียงกันโดยตรงว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 90,000 บาท จริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจพิจารณาไปถึงประเด็นดังกล่าวได้ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้เงินกู้โจทก์เพียง 8,000 บาท จึงไม่เข้าองค์ประกอบที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 9(2) ที่แก้ไขแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลายต้องพิจารณาความจริงตามกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของลูกหนี้
การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2463 ว่าคดีมีเหตุควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ฉะนั้น แม้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาคดีจะไม่มีประเด็นโต้เถียงโดยตรงว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 90,000บาท จริงหรือไม่ ศาลก็มีอำนาจพิจารณาไปถึงประเด็นดังกล่าวได้เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้เงินกู้โจทก์เพียง8,000 บาท จึงไม่เข้าองค์ประกอบที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 9(2) ที่แก้ไขแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลายต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามมาตรา 14 พ.ร.บ.ล้มละลาย แม้ไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องหนี้ในชั้นอุทธรณ์
การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตาม มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483ว่าคดีมีเหตุควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ฉะนั้น แม้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาคดีจะไม่มีประเด็นโต้เถียงกันโดยตรงว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 90,000 บาท จริงหรือไม่ศาลก็มีอำนาจพิจารณาไปถึงประเด็นดังกล่าวได้ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้เงินกู้โจทก์เพียง 8,000 บาท จึงไม่เข้าองค์ประกอบที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 9(2) ที่แก้ไขแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โดยพิจารณาจากสิทธิของคู่สมรสและผู้รับมรดก
เจ้ามรดกกับจำเลยได้อยู่กินเป็นสามีภริยากันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 จึงต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย คือสามีได้ 2 ส่วน ภริยาได้ 1 ส่วนเจ้ามรดกจึงมีสิทธิในทรัพย์สิน 2 ส่วนใน 3 ส่วน จำเลยซึ่งเป็นภริยาเจ้ามรดกได้เพียง 1 ใน 3 ส่วน แต่เมื่อเจ้ามรดกได้ระบุในพินัยกรรมให้แบ่งสินสมรสออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ตกแก่จำเลย1 ส่วน อีก 1 ส่วนเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ทั้งสองคนละ 1 ส่วน ดังนี้จึงต้องแบ่งทรัพย์สินร่วมกันของเจ้ามรดกกับจำเลยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งตกแก่จำเลย อีกส่วนหนึ่งให้ตกเป็นของโจทก์ทั้งสองคนละส่วนเท่ากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาข้อเท็จจริงยุติ – การยกประเด็นใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยร่วมกันกระทำผิดฐานชิงทรัพย์และฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตายและลงโทษจำเลย โจทก์เพียงฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นตามฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ว่าตนมิได้กระทำผิดศาลอุทธรณ์พิพากษายืน การที่จำเลยฎีกาว่าตนไม่ได้ฆ่าผู้ตายขอให้ลงโทษสถานเบาจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว และเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาในรับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเมื่อจำเลยไม่โต้แย้งข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์ และฎีกาในประเด็นที่ยุติแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยร่วมกันกระทำผิดฐานชิงทรัพย์และฆ่าผู้อื่นถึงแก่ความตายและลงโทษจำเลย โจทก์เพียงฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นตามฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ว่าตนมิได้กระทำผิด ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนการที่จำเลยฎีกาว่า ตนไม่ได้ฆ่าผู้ตาย ขอให้ลงโทษสถานเบาจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว และเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด แม้จะกำหนดจำนวนได้ แต่ยังไม่สมควรสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หากข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ
หนี้ตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ถือได้ว่าเป็นหนี้ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน อันโจทก์อาจนำมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ แต่หนี้ดังกล่าวอาจถูกกลับหรือแก้โดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ ข้อเท็จจริงยังไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ จึงยังไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ไม่เป็นเหตุให้ล้มละลายจนกว่าจะสิ้นสุด
หนี้ตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ถือได้ว่าเป็นหนี้ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน อันโจทก์อาจนำมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ แต่หนี้ดังกล่าวอาจถูกกลับหรือแก้โดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ข้อเท็จจริงยังไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ จึงยังไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 14.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนจากการจัดหางานต่างประเทศ: ตัวการ vs ผู้สนับสนุน, จำนวนกระทง
ก่อนที่ผู้เสียหายทั้งเก้าคนจะไปสมัครงานที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม.เอ็ม.พี พนักงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวคนหนึ่งได้ไปชักชวนผู้เสียหายทั้งเก้าคนให้มาสมัครงานกับห้างหุ้นส่วน เมื่อผู้เสียหายทั้งเก้าคนมาพบจำเลยทั้งสองซึ่งทำงานอยู่ที่ห้างหุ้นส่วนนั้น ได้ร่วมกันชักชวนผู้เสียหายให้ไปทำงานต่างประเทศ อ้างว่างานดี ค่าจ้างดี ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวมีความมั่นคงไม่หลอกลวง ทั้งจำเลยทั้งสองได้ทดสอบฝีมือผู้เสียหายทั้งเก้าคน พาไปตรวจโรคและทำหนังสือเดินทาง จำเลยทั้งสองได้รับค่าบริการจากผู้เสียหายคนละ 31,830 บาท พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวส่อให้เห็นได้ว่า จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยต่างแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงประชาชน
จำเลยได้พูดชักชวนผู้เสียหายทั้งเก้าคนสมัครงานกับห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม.เอ็ม.พี โดยพูดชักชวนและเรียกค่าบริการจาก ฉ.บ.และถ. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2526 ป. กับ ม. เมื่อวันที่ 9ธันวาคม 2526 ฉ.กับส.เมื่อวันที่29พฤศจิกายน2526ฐ. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2526 และ ต. เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2526 รวม 5 วัน จึงเป็นความผิด 5 กระทง
การที่จำเลยพูดจาหลอกลวงชักชวนผู้เสียหายและประชาชนให้มาสมัครงานกับห้างหุ้นส่วน เอ็ม.เอ็ม.พี ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสำนักจัดส่งคนงานไปต่างประเทศ การกระทำของจำเลยมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่พวกผู้เสียหายแต่อย่างใด เพียงแต่อ้างเอาเหตุที่จะส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น กรณีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตอันจะเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 37