พบผลลัพธ์ทั้งหมด 368 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทางภาระจำยอม: การรุกล้ำทางภาระจำยอมและการโอนกรรมสิทธิ์หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามคำพิพากษา
คดีมีประเด็นในชั้นบังคับคดีว่า จำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโดยครบถ้วนถูกต้องแล้วหรือไม่นั้น ศาลมีอำนาจไต่สวนและมีคำสั่งได้เพราะเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา148(1) จำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำทางภารจำยอมและถม ดิน ลงในลำกระโดง สาธารณะ ให้โจทก์ใช้แทนทางภารจำยอมเดิม บางส่วน เป็นการประกอบกรรมอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปตามป.พ.พ. มาตรา 1390 และเมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม และสัญญาประนีประนอมยอมความในข้อที่จำเลยยอมให้โจทก์ใช้ทางภารจำยอมได้ตลอดไป โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนตึกแถวที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำทางภารจำยอม และทำทางภารจำยอมให้อยู่ในสภาพที่โจทก์จะใช้ได้โดยสะดวกเหมือนเดิมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดกมีผลผูกพัน แม้ยังมิได้โอนทรัพย์สินทั้งหมด
พ.ทายาทของส. เจ้ามรดกตกลงรับมอบปั๊มน้ำมันอันเป็นทรัพย์มรดกจากผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินกิจการเรียบร้อยแล้ว โดยในข้อตกลง พ. ไม่ติดใจจะเรียกร้องหรือเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกของส. อีกต่อไป ดังนี้ แม้ผู้จัดการมรดกจะยังมิได้โอนปั๊มน้ำมันและสิทธิการเช่า ให้แก่ พ. ก็หาใช่เป็นสาระสำคัญของข้อตกลงไม่เพราะถือว่า พ. เป็นเจ้าของปั๊มน้ำมันและสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันทรัพย์มรดกแล้ว ภายหลัง พ. ถึงแก่กรรมโจทก์ผู้เป็นทายาทของพ.ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของส. อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความแบ่งมรดก: การสละสิทธิและผลผูกพันตามกฎหมาย
หนังสือซึ่งบิดาโจทก์ในฐานะทายาททำให้ผู้จัดการมรดกไว้มีข้อความว่าผู้จัดการมรดกตกลงยกปั๊มน้ำมันซึ่งลงทุนก่อสร้างด้วยทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกให้เป็นสิทธิดำเนินการของบิดาโจทก์ และจะได้โอนสิทธิการเช่าที่ดินที่ตั้งปั๊มน้ำมันให้แก่บิดาโจทก์ด้วยบิดาโจทก์พอใจทรัพย์สินที่ได้รับส่วนแบ่ง และไม่ติดใจจะเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกอีกต่อไปขอสละสิทธิส่วนของมรดกทุกอย่าง ดังนี้ เมื่อบิดาโจทก์เข้าดำเนินกิจการปั๊มน้ำมันแล้ว แม้จะไม่มีการโอนสิทธิการเช่าที่ดินก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสาระสำคัญข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันคู่สัญญา และเป็นการประนีประนอมยอมความในการแบ่งปันทรัพย์มรดก ย่อมมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850, 852 และ 1750 โจทก์ผู้เป็นทายาทของบิดาโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความในการแบ่งมรดก: การสละสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งมรดกโดยแลกกับทรัพย์สิน
หนังสือซึ่งบิดาโจทก์ในฐานะทายาททำให้ผู้จัดการมรดกไว้มีข้อความว่าผู้จัดการมรดกตกลงยกปั๊มน้ำมันซึ่งลงทุนก่อสร้างด้วยทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกให้เป็นสิทธิดำเนินการของบิดาโจทก์และจะได้โอนสิทธิการเช่าที่ดินที่ตั้งปั๊มน้ำมันให้แก่บิดาโจทก์ด้วยบิดาโจทก์พอใจทรัพย์สินที่ได้รับส่วนแบ่ง และไม่ติดใจจะเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกอีกต่อไปขอสละสิทธิส่วนของมรดกทุกอย่าง ดังนี้ เมื่อบิดาโจทก์เข้าดำเนินกิจการปั๊มน้ำมันแล้ว แม้จะไม่มีการโอนสิทธิการเช่าที่ดินก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสาระสำคัญข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันคู่สัญญา และเป็นการประนีประนอมยอมความในการแบ่งปันทรัพย์มรดกย่อมมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850,852 และ 1750 โจทก์ผู้เป็นทายาทของบิดาโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีล้มละลาย: จำนวนหนี้ต่ำกว่าสองหมื่นบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
กรณีที่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ที่มีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153 การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยถึงแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีล้มละลาย: จำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น
กรณีที่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ที่มีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153 การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยถึงแม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 153.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงขายคืนหลังหลุดจำนอง: คำมั่นจะขาย มิใช่ขยายเวลาไถ่ทรัพย์
ข้อตกลงที่ผู้รับซื้อฝากยินยอมที่จะขายทรัพย์คืนให้แก่ผู้ขายฝากเมื่อทรัพย์ที่ขายฝากได้หลุดเป็นสิทธิของผู้รับซื้อฝากแล้ว เข้าลักษณะเป็นคำมั่นจะขายทรัพย์ซึ่งบังคับกันได้ มิใช่เป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์อันต้องห้ามตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากครบกำหนดแล้ว ตกลงให้ไถ่ได้ภายหลัง: ไม่ใช่การขยายเวลาไถ่ แต่เป็นคำมั่นจะขาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายฝากที่ดินและบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินให้โจทก์ กำหนดไถ่ภายในหนึ่งปี ครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ไถ่ขอให้บังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านดังกล่าว จำเลยรับว่าขายฝากที่ดินและบ้านแก่โจทก์และครบกำหนดไถ่แล้วจริงแต่โจทก์ยินยอมให้จำเลยไถ่ที่ดินและบ้านได้ในภายหลัง จำเลยกำลังจะหาเงินมาไถ่ ดังนี้หากได้ความจริงตามคำให้การของจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวอาจเข้าลักษณะเป็นคำมั่นจะขายทรัพย์ซึ่งบังคับกันได้ มิใช่เป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์อันต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 ศาลชั้นต้นควรสืบพยานฟังข้อเท็จจริงต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อขายคืนหลังไถ่ทรัพย์หลุด: คำมั่นจะขาย มิใช่ขยายเวลาไถ่
ข้อตกลงที่ผู้รับซื้อฝากยินยอมที่จะขายทรัพย์คืนให้แก่ ผู้ขายฝากเมื่อทรัพย์ที่ขายฝากได้หลุดเป็นสิทธิของ ผู้รับซื้อฝากแล้ว เข้าลักษณะเป็นคำมั่นจะขายทรัพย์ซึ่ง บังคับกันได้ มิใช่เป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์อันต้องห้าม ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๙๖.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกร้องเงินทดรองซื้อหุ้น: ตัวแทน-ตัวการ, อายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งโจทก์ได้ออกเงินทดรองไปตามที่จำเลยสั่งซื้อจึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตน จากตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 ซึ่งกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.