คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
คำนึง อุไรรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 368 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกร้องเงินทดรองซื้อหุ้น: ตัวแทน vs. ตัวการ, ใช้ พ.ร.บ.แพ่งฯ มาตรา 164
จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งโจทก์ได้ออกเงินทดรองไปตามที่จำเลยสั่งซื้อจึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 816 ซึ่งกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตาม พ.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า จำเลยต้องมีความรู้หรือควรรู้ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่น
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 'แฮร์รีส' ไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น โจทก์ร่วมมอบให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้านี้แต่ผู้เดียวในประเทศไทย เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเคยลงโฆษณาในวารสารที่จำเลยที่ 6 เป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณา จำเลยสั่งซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า 'แฮร์รีส' ไปจากตัวแทนของโจทก์ร่วมหลายครั้ง การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า 'แฮร์รีส'เข้ามาจากไต้หวัน ตามเหตุผลเป็นข้อที่ชวนให้สงสัยในพฤติการณ์ของจำเลยว่า น่าจะรู้ว่าเครื่องหมายการค้านี้ความจริงเป็นของผู้ใด มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไหน การสั่งสินค้าซึ่งเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจากไต้หวันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย น่าจะเป็นหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้แล้วว่าเป็นความผิด แต่เครื่องหมายการค้า 'แฮร์รีส' ที่ปรากฏในวารสารดังกล่าวและในใบส่งสินค้าที่ตัวแทนโจทก์ร่วมส่งมอบแก่จำเลยมิได้ระบุชัดถึงตัวผู้เป็นเจ้าของและแหล่งผลิตว่ามาจากประเทศใด ทั้งจำเลยก็ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้แล้วจนเกิดเป็นกรณีพิพาทในทางแพ่งกับโจทก์ร่วม ดังนั้นการที่จะถือเอาแต่ลำพังพฤติการณ์ตามที่ปรากฏแล้วสันนิษฐานว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดในทางอาญาจึงยังฟังไม่ถนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการกระทำผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาพฤติการณ์โดยรวม ไม่สามารถสันนิษฐานจากหลักฐานที่ไม่ชัดเจนได้
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "แฮร์รีส" ไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น โจทก์ร่วมมอบให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้านี้แต่ผู้เดียวในประเทศไทย เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเคยลงโฆษณาในวารสารที่จำเลยที่ 6 เป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณา จำเลยสั่งซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า "แฮร์รีส" ไปจากตัวแทนของโจทก์ร่วมหลายครั้งการที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า "แฮร์รีส" เข้ามาจากไต้หวัน ตามเหตุผลเป็นข้อที่ชวนให้สงสัยในพฤติการณ์ของจำเลยว่าน่าจะรู้ว่าเครื่องหมายการค้านี้ความจริงเป็นของผู้ใด มีแหล่ง กำเนิดจากประเทศไหน การสั่งสินค้าซึ่งเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจากไต้หวันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย น่าจะเป็นหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้แล้วว่าเป็นความผิด แต่เครื่องหมายการค้า "แฮร์รีส"ที่ปรากฏในวารสารดังกล่าวและในใบส่งสินค้าที่ตัวแทนโจทก์ร่วมส่งมอบแก่จำเลยมิได้ระบุชัด ถึงตัวผู้เป็นเจ้าของและแหล่งผลิตว่ามาจากประเทศใด ทั้งจำเลยก็ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้แล้วจนเกิดเป็นกรณีพิพาทในทางแพ่งกับโจทก์ร่วม ดังนั้นการที่จะถือเอาแต่ลำพังพฤติการณ์ตามที่ปรากฏแล้วสันนิษฐานว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดในทางอาญาจึงยังฟังไม่ถนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าหลังพ้นภัยอันตราย การกระทำเกินกว่าป้องกันตนเอง เป็นความผิดฐานฆ่าคนตาย
ผู้ตายใช้มีดยาวประมาณ 1 ช่วงแขนไล่ฟันจำเลยที่ 1 จำเลยที่1 จึงใช้ปืนแก็ปยิงผู้ตาย 1 นัดขณะที่อยู่ห่างกันประมาณ 4 วา ผู้ตายวิ่งหนีไป 2 วาก็ล้มลง จำเลยที่ 1 เอาปืนลูกซองยาวจากจำเลยที่ 2 มายิงซ้ำอีก 1 นัด แต่ไม่ถูกแล้วจำเลยทั้งสองนำผู้ตายไปทิ้งลงเหว ดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายหลังจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ล่วงพ้นไปแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
การชันสูตรพลิกศพเป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมพยานหลักฐานตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว แม้ไม่มีการชันสูตรพลิกศพก็หาเป็นเหตุให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าหลังพ้นอันตราย การกระทำเกินกว่าป้องกันตัว และอำนาจฟ้องกรณีไม่มีชันสูตรพลิกศพ
ผู้ตายใช้มีดยาวประมาณ 1 ช่วงแขนไล่ฟันจำเลยที่ 1 จำเลยที่1 จึงใช้ปืนแก็ปยิงผู้ตาย 1 นัดขณะที่อยู่ห่างกันประมาณ 4วา ผู้ตายวิ่งหนีไป 2 วาก็ล้มลง จำเลยที่ 1 เอาปืนลูกซองยาวจากจำเลยที่ 2 มายิงซ้ำอีก 1 นัด แต่ไม่ถูกแล้วจำเลยทั้งสองนำผู้ตายไปทิ้งลงเหว ดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายหลังจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ล่วงพ้นไปแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
การชันสูตรพลิกศพเป็นส่วนหนึ่งของการรวบรวมพยานหลักฐานตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว แม้ไม่มีการชันสูตรพลิกศพก็หาเป็นเหตุให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอตรวจสอบบัญชีและเก็บรักษาผลประโยชน์รายวันโรงแรมก่อนมีคำพิพากษา ไม่เข้าข่ายการยึด/อายัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1)
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยร่วมกันชำระเงินค่ารับเหมาก่อสร้างค่าสินจ้างและค่าเสียหาย ต่อมาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบบัญชีผู้พักและรายได้โรงแรมของจำเลยที่ 1 และนำผลประโยชน์รายวันของโรงแรมมาเก็บรักษา โดยอ้างว่าจำเลยมีหนี้สินและเจ้าหนี้จำนวนมาก หากโจทก์ชนะคดีก็ยากจะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ ดังนี้คำขอของโจทก์หาใช่ขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลย หรือเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ไม่ จึงไม่อาจยกเอาบทกฎหมายดังกล่าวมาปรับสั่งคดีโจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอตรวจสอบบัญชีโรงแรมก่อนมีคำพิพากษา ไม่ใช่การยึดหรืออายัดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254(1)
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยร่วมกันชำระเงินค่ารับเหมาก่อสร้างค่าสินจ้างและค่าเสียหาย ต่อมาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี โจทก์ยื่นคำร้องขอให้สั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบบัญชีผู้พักและรายได้โรงแรมของจำเลยที่ 1 และนำผลประโยชน์รายวันของโรงแรมมาเก็บรักษา โดยอ้างว่าจำเลยมีหนี้สินและเจ้าหนี้จำนวนมาก หากโจทก์ชนะคดีก็ยากจะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1ได้ ดังนี้คำขอของโจทก์หาใช่ขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลย หรือเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254(1) ไม่ จึงไม่อาจยกเอาบทกฎหมายดังกล่าวมาปรับสั่งคดีโจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทราบคำสั่งศาล: ผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามกำหนด และการทิ้งฎีกา
ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของผู้ร้องในวันที่ผู้ร้องยื่นฎีกานั้นเอง ให้ผู้ร้องนำเงินค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์มาชำระให้ครบถ้วนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่สั่งนั้นและในท้ายฎีกามีข้อความว่า ผู้ร้องรอฟังคำสั่งศาลอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วดังนี้ ต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของผู้ร้องเมื่อผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระภายใน 7 วันตามคำสั่ง ต้องถือว่าผู้ร้องทิ้งฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบกับมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลานำค่าขึ้นศาลมาชำระเมื่อสิ้นระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้แล้ว และไม่ใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัยนั้น ไม่มีเหตุที่ศาลจะอนุญาต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทราบคำสั่งชำระค่าขึ้นศาล และผลของการทิ้งฎีกาจากเหตุไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของผู้ร้องในวันที่ผู้ร้องยื่นฎีกานั้นเอง ให้ผู้ร้องนำเงินค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์มาชำระให้ครบถ้วนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่สั่งนั้นและในท้ายฎีกามีข้อความว่า ผู้ร้องรอฟังคำสั่งศาลอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วดังนี้ ต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของผู้ร้องเมื่อผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระภายใน 7 วันตามคำสั่ง ต้องถือว่าผู้ร้องทิ้งฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบกับมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลานำค่าขึ้นศาลมาชำระเมื่อสิ้นระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้แล้ว และไม่ใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัยนั้น ไม่มีเหตุที่ศาลจะอนุญาต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดชำระหนี้ที่ตกลงกัน อายุความไม่ขาดเมื่อฟ้องภายในกำหนด
ในการซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์ยอมให้จำเลยชำระราคาสินค้าภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับสินค้าดังนั้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระราคายังไม่อาจบังคับได้ อายุความจึงต้องเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันไปแล้ว
of 37