คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
คำนึง อุไรรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 368 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำให้การ: หลักฐานรายงานเจ้าพนักงานศาลมีน้ำหนักกว่าคำกล่าวอ้างของจำเลยที่ไม่โต้แย้งความถูกต้อง
การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายหลังวันที่เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งหมายระบุไว้ในรายงาน โดยมิได้โต้แย้งคัดค้านหรือให้เหตุผลว่ารายงานดังกล่าวขัดต่อความเป็นจริงหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดนั้นเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ปราศจากเหตุผลอ้างอิงที่อาจจะหักล้างหลักฐานรายงานของเจ้าพนักงานศาลได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยเพื่อรับคำให้การไว้พิจารณาต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำให้การ: หลักฐานรายงานเจ้าพนักงานศาลมีน้ำหนักกว่าคำกล่าวอ้างที่ไม่โต้แย้ง
การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายหลังวันที่เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งหมายระบุไว้ในรายงาน โดยมิได้โต้แย้งคัดค้านหรือให้เหตุผลว่ารายงานดังกล่าวขัดต่อความเป็นจริงหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดนั้นเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ปราศจากเหตุผลอ้างอิงที่อาจจะหักล้างหลักฐานรายงานของเจ้าพนักงานศาลได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยเพื่อรับคำให้การไว้พิจารณาต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสืบสวนตามหน้าที่ ไม่ถือเป็นความผิดหมิ่นประมาท หากกล่าวตามข่าวลือโดยไม่มีเจตนาให้เชื่อ
การที่จำเลยให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับบัญชาของจำเลยแต่งตั้งขึ้นเพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีที่มีผู้กล่าวหา ส. ว่าประพฤติและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยกล่าวว่า จำเลยได้ยิน ข่าวเล่าลือว่า ส. กับโจทก์เดิน ด้วยกันนอกโรงเรียนและมีความสัมพันธ์ถึงขั้นได้เสียกับโจทก์นั้น เป็นการกล่าวในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปให้ถ้อยคำเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอันเป็นส่วนรวม และเป็นการกล่าวไปตามข่าวลือ ไม่ยืนยันว่าเป็นความจริง และไม่ตั้งใจให้ผู้ฟังเชื่อ ว่าโจทก์มีพฤติกรรมตามข่าวลือนั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2021/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการชำระหนี้ต้องลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม แม้ภริยาจะทำรายการบัญชีร่วมกับลูกหนี้ ก็ไม่ผูกมัดตัวผู้ให้ยืม
เอกสารที่จำเลยอ้างว่าเป็นหลักฐานการใช้เงิน โจทก์มิได้ทำขึ้นและมิได้ลงลายมือชื่อรับรู้ จำนวนเงินก็ไม่ตรงตามที่โจทก์ฟ้องทั้งไม่มีข้อความตอนใดกล่าวพาดพิงถึงตัวโจทก์เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารการคิดบัญชีระหว่างภริยาโจทก์กับจำเลยเท่านั้น ไม่มีความตอนใดที่แสดงว่าภริยาโจทก์กระทำในนามของโจทก์หรือเป็นตัวแทนของโจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นหลักฐานการชำระหนี้ที่ลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ มาตรา 653 วรรคสอง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2021/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการชำระหนี้ต้องลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม เอกสารการคิดบัญชีระหว่างคู่สมรสไม่ผูกมัดผู้ให้ยืม
เอกสารที่จำเลยอ้างว่าเป็นหลักฐานการใช้เงิน โจทก์มิได้ทำขึ้นและมิได้ลงลายมือชื่อรับรู้ จำนวนเงินก็ไม่ตรงตามที่โจทก์ฟ้องทั้งไม่มีข้อความตอนใด กล่าวพาดพิง ถึงตัวโจทก์ เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารการคิดบัญชีระหว่างภริยาโจทก์กับจำเลยเท่านั้น ไม่มีความตอนใด ที่แสดงว่าภริยาโจทก์กระทำในนามของโจทก์หรือเป็นตัวแทนของโจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นหลักฐานการชำระหนี้ที่ลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 653วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดของผู้รักษากฎหมายต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเล็กน้อย ไม่เข้าข่ายความข่มเหงร้ายแรง
ผู้ตายสั่งลงโทษกักยามจำเลยฐานละทิ้งหน้าที่ ซึ่งเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ จำเลยไม่พอใจ ต่อว่า ท้าทาย และใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
จำเลยรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน คำรับสารภาพของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ประกอบกับจำเลยเป็นผู้รักษากฎหมายทำการอุกอาจโหดเหี้ยมอำมหิตไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองและเป็นการกระทำต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุสมควรลดโทษให้แก่จำเลย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การโอนหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ
การที่ลูกหนี้ (จำเลย) ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งเป็นสามีมิได้จดทะเบียนสมรสกันมอบอำนาจให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาททั้งส่วนที่เป็นมรดกของ พ. และส่วนที่เป็นของตนให้แก่ผู้คัดค้านขณะที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้(จำเลย) แล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างลูกหนี้ (จำเลย) กับผู้คัดค้านเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) ย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 22, 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) เสียได้ และเมื่อนิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาคือลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ขายและผู้คัดค้านผู้ซื้อย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมายไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้มีการชดใช้เงินในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีกและถึงแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขอให้เพิกถอนการโอนโดยอ้าง มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาด้วย และผู้คัดค้านอ้างว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน เมื่อได้ความว่าลูกหนี้ (จำเลย) โอนทรัพย์ให้ผู้คัดค้านหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับตามมาตรา 24 เพราะคำว่า การโอนทรัพย์สินหรือกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หมายถึงการโอนที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใช่การโอนที่กระทำกันหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่ลูกหนี้ (จำเลย) ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งเป็นสามีมิได้จดทะเบียนสมรสกันมอบอำนาจให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาททั้งส่วนที่เป็นมรดกของ พ. และส่วนที่เป็นของตนให้แก่ผู้คัดค้านขณะที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้(จำเลย) แล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างลูกหนี้ (จำเลย) กับผู้คัดค้านเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย)ย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) เสียได้ และเมื่อนิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาคือลูกหนี้(จำเลย) ผู้ขายและผู้คัดค้านผู้ซื้อย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมายไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้มีการชดใช้เงินในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีกและถึงแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขอให้เพิกถอนการโอนโดยอ้างมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาด้วยและผู้คัดค้านอ้างว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน เมื่อได้ความว่าลูกหนี้ (จำเลย) โอนทรัพย์ให้ผู้คัดค้านหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย)เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับตามมาตรา 24 เพราะคำว่า การโอนทรัพย์สินหรือกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หมายถึงการโอนที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใช่การโอนที่กระทำกันหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-เบิกความเท็จในคดีเช็ค: โจทก์เสียหายจากการถูกกล่าวหาว่านำเช็คไปแลกเงิน
โจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยเพื่อชำระเป็นเงินรางวัลสลากกินรวบและต่อมาได้แจ้งระงับการจ่ายเงินเพราะทราบความจริงว่าจำเลยมิได้ถูกรางวัลแต่จำเลยได้มอบอำนาจให้ ป. ไปแจ้งความ แล้วจำเลยไปให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากจำเลย เป็นเหตุให้โจทก์ถูกจับถูกควบคุมตัวระหว่างการสอบสวน และถูกฟ้องต่อศาล ทั้งจำเลยได้เบิกความเท็จดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ศาลในคดีนั้นเชื่อและลงโทษโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) และมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ และเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จและเบิกความเท็จในคดีเช็ค โจทก์เป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้อง
โจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยเพื่อชำระเป็นเงินรางวัลสลากกินรวบและต่อมาได้แจ้งระงับการจ่ายเงินเพราะทราบความจริงว่าจำเลยมิได้ถูกรางวัลแต่จำเลยได้มอบอำนาจให้ ป. ไปแจ้งความ แล้วจำเลยไปให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากจำเลย เป็นเหตุให้โจทก์ถูกจับถูกควบคุมตัวระหว่างการสอบสวน และถูกฟ้องต่อศาล ทั้งจำเลยได้เบิกความเท็จดังกล่าวซึ่งอาจทำให้ศาลในคดีนั้นเชื่อและลงโทษโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ และเบิกความเท็จ.
of 37