พบผลลัพธ์ทั้งหมด 368 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนมรณะและผลกระทบต่อการแบ่งมรดก: การต่อสู้เรื่องพินัยกรรมและเจตนาโอนทรัพย์
โจทก์ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมและทายาทโดยพินัยกรรม การที่จำเลยให้การว่าที่พิพาทเจ้ามรดกยกให้แก่จำเลยก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม แม้จะให้การด้วยว่าพินัยกรรมปลอม ก็เป็นการต่อสู้ว่าไม่มีข้อกำหนดตามพินัยกรรม เพราะเจ้ามรดกได้โอนทรัพย์ตามพินัยกรรมไปในระหว่างมีชีวิตอยู่ ข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นอันเพิกถอน ซึ่งเป็นเรื่องที่ว่า ไม่มีพินัยกรรมเกี่ยวกับที่พิพาทนั่นเอง คำให้การของจำเลยจึงไม่ขัดกันแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจพนักงานอัยการในการไม่อุทธรณ์คดีอาญา ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานอัยการผู้ว่าคดี จำเลยที่ 3 เป็นอัยการจังหวัด การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นการใช้ดุลพินิจ ในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง และความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่จำเลยที่ 3 ไม่แจ้งผลคำพิพากษาและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเช่นกัน กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้ บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอัยการในการไม่อุทธรณ์คดีอาญาและการแจ้งผลคดี ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานอัยการผู้ว่าคดี จำเลยที่ 3 เป็นอัยการจังหวัด การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง และความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่จำเลยที่ 3 ไม่แจ้งผลคำพิพากษาและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเช่นกัน
กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอัยการไม่ฟ้องอุทธรณ์คดีอาญา ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานอัยการผู้ว่าคดี จำเลยที่ 3 เป็นอัยการจังหวัด การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหาย เป็นการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 กำหนดให้อำนาจไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนการแจ้งผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง และความเห็นที่ไม่อุทธรณ์นั้นก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้พนักงานอัยการต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ การที่จำเลยที่ 3 ไม่แจ้งผลคำพิพากษาและความเห็นที่ไม่อุทธรณ์ให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายทราบถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเช่นกัน
กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
กรมอัยการจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ที่ 3เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้กระทำการอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าเจ้าพนักงาน-บันดาลโทสะ: เหตุผลความไม่พอใจจากการลงโทษทางวินัย ไม่ถือเป็นเหตุบันดาลโทสะที่สมควรลดโทษ
ผู้ตายสั่งลงโทษจำเลยผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพราะจำเลยละทิ้งหน้าที่จำเลยไม่พอใจพูดต่อว่าและท้าทายผู้ตายให้ตั้งกรรมการสอบสวน ผู้ตายตอบว่าตั้งก็ตั้งแล้วหยิบกระดาษกับปากกาขึ้นมา จำเลยไม่พอใจ ชักปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายมิได้แสดงกิริยาหรือกระทำการใด ๆ ในลักษณะข่มเหงจำเลย ที่ผู้ตายสั่งลงโทษจำเลยเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบ และโทษที่ลงก็เป็นโทษสถานเบาที่สุดแล้ว จำเลยจะอ้างว่ากระทำโดยบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหาได้ไม่
เหตุเกิดในเวลาและสถานที่ราชการ มีพยานรู้เป็นในขณะเกิดเหตุแม้จำเลยจะไม่ให้การรับสารภาพ พยานหลักฐานโจทก์ก็มั่นคงพอลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง จำเลยรับสารภาพก็เพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จำเลยกระทำการอุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รักษากฎหมาย และเป็นการกระทำต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นถึงจิตใจเหี้ยมอำมหิตของจำเลยพฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุสมควรลดโทษให้จำเลย.
เหตุเกิดในเวลาและสถานที่ราชการ มีพยานรู้เป็นในขณะเกิดเหตุแม้จำเลยจะไม่ให้การรับสารภาพ พยานหลักฐานโจทก์ก็มั่นคงพอลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง จำเลยรับสารภาพก็เพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จำเลยกระทำการอุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รักษากฎหมาย และเป็นการกระทำต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นถึงจิตใจเหี้ยมอำมหิตของจำเลยพฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุสมควรลดโทษให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้บังคับบัญชาในหน้าที่ราชการด้วยปืน ไม่เข้าเหตุบันดาลโทสะ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ผู้ตายสั่งลงโทษจำเลยผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพราะจำเลยละทิ้งหน้าที่จำเลยไม่พอใจพูดต่อว่าและท้าทายผู้ตายให้ตั้งกรรมการสอบสวน ผู้ตายตอบว่าตั้งก็ตั้งแล้วหยิบกระดาษกับปากกาขึ้นมา จำเลยไม่พอใจ ชักปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายมิได้แสดงกิริยาหรือกระทำการใด ๆ ในลักษณะข่มเหงจำเลย ที่ผู้ตายสั่งลงโทษจำเลยเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบ และโทษที่ลงก็เป็นโทษสถานเบาที่สุดแล้ว จำเลยจะอ้างว่ากระทำโดยบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหาได้ไม่
เหตุเกิดในเวลาและสถานที่ราชการ มีพยานรู้เป็นในขณะเกิดเหตุแม้จำเลยจะไม่ให้การรับสารภาพ พยานหลักฐานโจทก์ก็มั่นคงพอลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง จำเลยรับสารภาพก็เพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จำเลยกระทำการอุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รักษากฎหมาย และเป็นการกระทำต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นถึงจิตใจเหี้ยมอำมหิตของจำเลยพฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุสมควรลดโทษให้จำเลย.
เหตุเกิดในเวลาและสถานที่ราชการ มีพยานรู้เป็นในขณะเกิดเหตุแม้จำเลยจะไม่ให้การรับสารภาพ พยานหลักฐานโจทก์ก็มั่นคงพอลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง จำเลยรับสารภาพก็เพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จำเลยกระทำการอุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รักษากฎหมาย และเป็นการกระทำต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นถึงจิตใจเหี้ยมอำมหิตของจำเลยพฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุสมควรลดโทษให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่: พฤติการณ์อุกอาจ ไม่ลดโทษ
ผู้ตายสั่งลงโทษกักยามจำเลยฐานละทิ้งหน้าที่ ซึ่งเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ จำเลยไม่พอใจ ต่อว่า ท้าทาย และใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน คำรับสารภาพของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ประกอบกับจำเลยเป็นผู้รักษากฎหมายทำการอุกอาจโหด เหี้ยมอำมหิตไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองและเป็นการกระทำต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อยพฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุสมควรลดโทษให้แก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้และการงดสืบพยาน: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม แม้จำเลยขอสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ยอดหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยให้การว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และคงค้างชำระเงินบางส่วนศาลชั้นต้นงดสืบพยาน และพิพากษาให้จำเลยชำระเงินน้อยกว่าเงินที่จำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ ดังนี้การที่จำเลยฎีกาโต้แย้งเพื่อขอให้มีการสืบพยานจึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด เพราะถึงอย่างไรจำเลยไม่อาจนำสืบข้อเท็จจริงให้แตกต่างไปจากคำให้การที่ตนได้ยอมรับแล้วได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว: ความรับผิดของลูกหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน แม้ชื่อสัญญาจะเป็นค้ำประกัน
แม้สัญญาระบุชื่อว่าสัญญาค้ำประกัน แต่ข้อความในสัญญามีว่าจำเลยที่ 3 จ้างโจทก์ประกันตัวจำเลยที่ 1 ไปจากศาลแล้วจำเลยที่ 3 จะปฏิบัติตามนัดทุกครั้ง โดยการมอบตัวจำเลยที่ 1 ณ สถานที่ส่งตัว ถ้าจำเลยที่ 3 ไม่สามารถส่งตัวจำเลยที่ 1 ได้เพราะจำเลยที่ 1 หลบหนีเป็นเหตุให้โจทก์ถูกปรับเป็นเงินมากน้อยเท่าใด จำเลยที่ 3 ยอมชดใช้เงินแทนโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทนธรรมดาที่ใช้บังคับกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ชำระหนี้คือส่งตัวจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยตรง หาใช่เป็นการผูกพันตนเข้าชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้อันเป็นการค้ำประกันไม่ ฉะนั้นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 ว่าไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689, 700 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในลักษณะ 11 เรื่องค้ำประกันจะนำมาใช้กับคดีนี้หาได้ไม่
จำเลยทั้งสามทำสัญญากับโจทก์ยอมชดใช้เงินค่าปรับที่โจทก์ต้องชำระต่อศาลฐานผิดสัญญาประกันรายเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระให้โจทก์สิ้นเชิง จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วนั้น แม้โจทก์แก้ฎีกายอมรับว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วบางส่วนแต่ก็เป็นการได้รับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี หาเป็นเหตุให้หนี้ที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามสัญญา ลดลงไม่ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเต็มจำนวน.
จำเลยทั้งสามทำสัญญากับโจทก์ยอมชดใช้เงินค่าปรับที่โจทก์ต้องชำระต่อศาลฐานผิดสัญญาประกันรายเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระให้โจทก์สิ้นเชิง จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วนั้น แม้โจทก์แก้ฎีกายอมรับว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วบางส่วนแต่ก็เป็นการได้รับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี หาเป็นเหตุให้หนี้ที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามสัญญา ลดลงไม่ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเต็มจำนวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากเหตุเพลิงไหม้: ไม่มีประมาทเลินเล่อและมิได้อ้างความรับผิดตามมาตรา 437
ในคดีละเมิดเนื่องจากเหตุเกิดเพลิงไหม้ด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือลูกจ้าง เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างหรือตั้งประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง ทั้งข้อเท็จจริงในทางพิจารณาก็ไม่ได้ความว่าเครื่องอบกระป๋องในโรงงานของจำเลยเป็นทรัพย์ที่อาจจะเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์สิน คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองเครื่องอบและน้ำยาฆ่าแมลงที่บรรจุอยู่ในกระป๋องที่ต้องอบในเครื่องอบนั้นเป็นทรัพย์ที่มีอันตรายโดยสภาพหรือโดยการใช้ตามมาตรา 437 วรรคสองและเหตุที่เกิดขึ้นไม่ใช่เหตุสุดวิสัยซึ่งจำเลยต้องรับผิดหรือไม่
เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ทำให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์เสียหาย แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยแล้ว แต่เมื่อเหตุที่เพลิงไหม้มิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือลูกจ้างของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยอ้างมูลละเมิดได้.
เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ทำให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์เสียหาย แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยแล้ว แต่เมื่อเหตุที่เพลิงไหม้มิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือลูกจ้างของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิผู้เอาประกันภัยเรียกร้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์โดยอ้างมูลละเมิดได้.