พบผลลัพธ์ทั้งหมด 368 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีกล้องสูบฝิ่นเมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลง: จำเลยพ้นผิดเนื่องจากกฎหมายใหม่ไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยมีกล้องสูบฝิ่นไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติฝิ่น ดังกล่าวแล้วใช้ความใหม่แทน และไม่ได้บัญญัติให้การมีกล้องสูบฝิ่นเป็นความผิด การกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิดจึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ดังนี้ จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2422/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานแวดล้อมประกอบคำรับสารภาพ คดีฆ่าผู้อื่น ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิด
แม้จะไม่มีพยานคนใดรู้เห็นขณะจำเลยใช้มีดฟันผู้ตาย แต่มีพยานประกอบแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับกรณีที่เกิดขึ้นคือ ส. ภรรยาจำเลย และ น. แม่ยายจำเลย โดยได้ความจากพยานทั้งสองว่า คืนก่อนวันเกิดเหตุจำเลยและผู้ตายดื่มสุราแล้วทะเลาะท้าทายกันรุ่งขึ้นเวลาประมาณ 8 นาฬิกา จำเลยและผู้ตายออกจากบ้านไปด้วยกันโดยจำเลยมีมีดติดตัวไปด้วย ครั้นเวลาประมาณ 12 นาฬิกาจำเลยกลับบ้าน ถือมีดดังกล่าวซึ่งเปื้อนเลือดบอกส. ว่าได้ฆ่าผู้ตายแล้ว และห้าม ส. ไม่ให้ไปแจ้งความมิฉะนั้นจะฆ่า และเวลาประมาณ 16 นาฬิกา จำเลยไปหา น. บอกว่าได้ฆ่าผู้ตายแล้วถ้าใครไปแจ้งตำรวจจะฆ่าให้หมด พยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับกรณีที่เกิดขึ้นอย่างมาก เมื่อฟังประกอบกับที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนและนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพแล้ว จึงปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยได้กระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่ามีผลสมบูรณ์แม้ยังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาเช่า หากเงื่อนไขนั้นไม่ใช่แบบของนิติกรรม
จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ให้แก่ผู้ร้องที่ 1ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึง 3 ปีเศษ โดยผู้ร้องได้รับมอบเครื่องรับโทรศัพท์ไว้ในความครอบครองตั้งแต่วันที่โอนสิทธิกัน ดังนั้นการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายนี้ย่อมมีผลสมบูรณ์ แม้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมีเงื่อนไขว่าการโอนจะต้องได้รับความยินยอมจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเสียก่อน เมื่อยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ก็ไม่ทำให้นิติกรรมการโอนเสียไปเพราะเงื่อนไขดังกล่าวไม่ใช่แบบของนิติกรรม สิทธิการเช่าโทรศัพท์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธินำยึด.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2279-2280/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะตามกฎหมาย ผู้ซื้อต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คู่ความท้ากันประเด็นเดียวว่า โจทก์ทั้งสองซื้อที่พิพาทมาโดยชอบหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองซื้อที่พิพาทโดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การซื้อที่พิพาทจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และโจทก์ทั้งสองต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228-2229/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการเพิกถอนสัญชาติกรณีบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและเป็นชาวต่างชาติ ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทย เป็นบุตรของนาย ม. คนสัญชาติญวนกับนาง บ. คนสัญชาติไทย นาย ม. กับนาง บ. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) กรณีจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จะต้องปรากฏว่าบิดาของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนาย ม.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมาปรับกับกรณีของโจทก์ไม่ได้
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้นเมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้นเมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228-2229/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการโต้แย้งสิทธิในทะเบียนบ้าน รวมถึงอายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทย เป็นบุตรของนาย ม. คนสัญชาติญวนกับนาง บ. คนสัญชาติไทย นาย ม. กับนาง บ. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) กรณีจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จะต้องปรากฏว่าบิดาของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนาย ม.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมาปรับกับกรณีของโจทก์ไม่ได้
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้น เมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมา ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้น เมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมา ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ และขอบเขตอำนาจของทนายตามใบแต่งทนาย
การถอนคำร้องขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาเห็นสมควร ในคดีความผิดต่อส่วนตัว ใบแต่งทนายของโจทก์ระบุว่าให้ทนายความมีอำนาจว่าต่าง แก้ต่าง ถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความอุทธรณ์ ฎีกา ดังนี้ ทนายโจทก์มีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนคดีถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์และขอบเขตอำนาจทนายความตามใบแต่งทนาย
การถอนคำร้องขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาเห็นสมควร
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว ใบแต่งทนายของโจทก์ระบุว่าให้ทนายความมีอำนาจว่าต่าง แก้ต่าง ถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความอุทธรณ์ ฎีกา ดังนี้ ทนายโจทก์มีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนคดีถึงที่สุด.
ในคดีความผิดต่อส่วนตัว ใบแต่งทนายของโจทก์ระบุว่าให้ทนายความมีอำนาจว่าต่าง แก้ต่าง ถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความอุทธรณ์ ฎีกา ดังนี้ ทนายโจทก์มีอำนาจถอนฟ้องได้ก่อนคดีถึงที่สุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำซัดทอดประกอบพยานหลักฐานอื่นมีน้ำหนักได้ หากผู้ซัดทอดไม่มีเหตุได้ประโยชน์จากการซัดทอด
คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 แม้เป็นคำซัดทอดก็รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ให้มีน้ำหนักได้ แต่ถ้าคำซัดทอดนั้นกระทำเพื่อให้ผู้ซัดทอดพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์ คำซัดทอดนั้นย่อมไม่มีน้ำหนัก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ได้รับประโยชน์จากการซัดทอดถึงจำเลยที่ 2 ทั้งมีเหตุผลอยู่ในตัวว่าหากจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกระทำผิดก็ไม่น่าจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ให้การพาดพิงถึงจนกระทั่งเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจวางแผนการให้จำเลยที่ 1 นัดหมายให้จำเลยที่2 ออกจากบ้านมาเพื่อพบตนและถูกจับได้ แสดงให้เห็นว่าคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่พาดพิงถึงจำเลยที่ 2 มีความจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำซัดทอดประกอบพยานหลักฐานอื่นรับฟังได้ หากไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าผู้ซัดทอดต้องการพ้นผิด
คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 แม้เป็นคำซัดทอดก็รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ให้มีน้ำหนักได้ แต่ถ้าคำซัดทอดนั้นกระทำเพื่อให้ผู้ซัดทอดพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์ คำซัดทอดนั้นย่อมไม่มีน้ำหนัก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ได้รับประโยชน์จากการซัดทอดถึงจำเลยที่ 2 ทั้งมีเหตุผลอยู่ในตัวว่าหากจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกระทำผิดก็ไม่น่าจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ให้การพาดพิงถึงจนกระทั่งเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจวางแผนการให้จำเลยที่ 1 นัดหมายให้จำเลยที่2 ออกจากบ้านมาเพื่อพบตนและถูกจัดได้ แสดงให้เห็นว่าคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่พาดพิงถึงจำเลยที่ 2 มีความจริง.