พบผลลัพธ์ทั้งหมด 368 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาสมรสไม่ปรากฏ เงินที่ให้ถือเป็นของขวัญ ไม่ใช่ของหมั้นสินสอด โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ประกอบพิธีสมรสโดยมิได้ มีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่โจทก์อ้างว่าได้มอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงหาได้ให้ฐานะเป็นของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายไม่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาสมรสตามกฎหมายสำคัญกว่าพิธี หากไม่มีเจตนา เงินที่ให้ถือเป็นของขวัญ ไม่ใช่หมั้นสินสอด
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ประกอบพิธีสมรสโดยมิได้มีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่โจทก์อ้างว่าได้มอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงหาได้ให้ในฐานะเป็นของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากคดีเดิมที่จำเลยเคยเป็นจำเลยร่วม การพิจารณาคดีอาญา
จำเลยกับพวกถูกฟ้องในคดีก่อนว่ากระทำความผิดที่โจทก์ฟ้อง ในคดีนี้ แต่เมื่อสืบพยานโจทก์ดังกล่าวไปแล้วศาลชั้นต้นสั่งให้แยกฟ้องจำเลยซึ่งให้การปฏิเสธและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ กรณี จึงถือได้ว่าเป็นการพิจารณาและสืบพยานโดยเปิดเผยต่อหน้า จำเลยแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องพยานที่ได้สืบไว้แล้วอีกและให้นำสำนวนคดีเดิมมารวมกับคดีนี้เพื่อจะได้พิจารณาประกอบกับคดีนี้ จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวศาลหยิบยกเอาคำเบิกความของพยานในคดีเดิมขึ้นวินิจฉัย ประกอบพยานหลักฐานอื่น ๆ ของโจทก์ในคดีนี้แล้วฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอายัดเงินถูกยกเลิกเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดี แม้มิได้ระบุถึงวิธีการชั่วคราว
คำว่า 'ศาล' ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1) มิได้หมายความถึงศาลที่มีคำพิพากษาชั้นที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดีอันเป็นต้นเหตุแห่งการอายัดเงินรายนี้ และไม่ปรากฏว่าคำพิพากษานั้นได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณาแต่อย่างใด คำสั่งอายัดนั้นจึงเป็นอันยกเลิกไปในตัว.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ค้ำประกันลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้สุจริตก็ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามกฎหมายล้มละลาย
เจ้าหนี้รู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ยังยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้น โดยเจ้าหนี้จำนองที่ดินค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้แม้เจ้าหนี้กระทำไปโดยตั้งใจจะพยุงฐานะของลูกหนี้ และกระทำโดยสุจริตก็ถือได้ว่าเป็นการยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้เพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษและล้างมลทินในคดีจำหน่ายยาเสพติด โดยพิจารณาจากพฤติการณ์และกฎหมายพิเศษ
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ฉบับนี้บัญญัติว่าให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคมพ.ศ. 2530 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆปรากฏว่า ความผิดฐานมีเฮโรอีนที่โจทก์ถือเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น จำเลยได้กระทำก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2530 และได้พ้นโทษไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับดังนี้จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาวินิจฉัยคดี: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องแม้ทุนทรัพย์น้อย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3จำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิเสธว่ามิได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 แต่ก่อนสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 รับว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนี้ โจทก์ต้องนำสืบต่อไปว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ดังที่ฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบเช่นนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวน แม้ทุนทรัพย์คดีไม่เกิน 20,000 บาท ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การร่วมรับผิดของนายจ้างและผู้ประกอบการขนส่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจาะจงตัวจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ส.จำกัด ไม่ต้องระบุว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์นั่งรถยนต์รับจ้างสามล้อที่ ก.เป็นผู้ขับขี่แล่นมาถึงบริเวณใกล้ที่พักผู้โดยสารประจำทางใกล้สะพานสท้านนภา โฉมหน้าจากสถานีขนส่งสายใต้ไปทางสามแยกท่าพระถูกรถยนต์โดยสารประจำทางสาย 81 คันหมายเลขทะเบียน กท. จ.3991 พุ่งเข้าชนนั้นย่อมชัดแจ้งเข้าใจได้แล้วว่ารถชนกันที่ใด ส่วนค่าเสียหายโจทก์ก็บรรยายฟ้องแยกชนิดประเภทความเสียหายว่าเป็นเงินส่วนละเท่าใด ความเสียหายที่ทำให้โจทก์เสียฆานประสาทก็บรรยายว่าไม่อาจรับความรู้สึกในการดมกลิ่นอีกฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิด ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสินสมรถเป็นการฟ้องตามสิทธิที่มีอยู่เป็นการเฉพาะตัว จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในมูลละเมิดภายในกำหนดอายุความ แต่ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องที่เกี่ยวกับค่าเสียหายในภายหลัง คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายดังกล่าวไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ได้นำรถยนต์โดยสารประจำทางคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 มาวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 พนักงานเก็บเงินค่าโดยสารของรถยนต์โดยสารประจำทางดังกล่าวก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 จึงถือได้ว่าการนำรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 เข้ามาแล่นในเส้นทางสัมปทานที่จำเลยที่ 3 ได้รับจากรัฐบาลเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิด ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสินสมรถเป็นการฟ้องตามสิทธิที่มีอยู่เป็นการเฉพาะตัว จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในมูลละเมิดภายในกำหนดอายุความ แต่ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องที่เกี่ยวกับค่าเสียหายในภายหลัง คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายดังกล่าวไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ได้นำรถยนต์โดยสารประจำทางคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 มาวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 พนักงานเก็บเงินค่าโดยสารของรถยนต์โดยสารประจำทางดังกล่าวก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 จึงถือได้ว่าการนำรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 เข้ามาแล่นในเส้นทางสัมปทานที่จำเลยที่ 3 ได้รับจากรัฐบาลเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุรถโดยสารประจำทาง: นายจ้างทั้งสองต้องรับผิดร่วมกัน
โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เป็นการเฉพาะตัว ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสแต่อย่างใด แม้โจทก์จะมีสามีก็ไม่จำต้องให้สามีให้ความยินยอม
โจทก์ได้ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในมูลละเมิดภายในกำหนดอายุความ การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายเกิน 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้ที่จะใช้ค่าเสียหายแล้ว โดยอ้างว่ายังมิได้เรียกค่ายาและค่ารักษาพยาบาลไว้ หาทำให้คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายนั้นขาดอายุความไม่
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถโดยสารประจำทางคันเกิดเหตุและนำมาวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 และปรากฏว่าพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารเป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 จึงถือได้ว่าการนำรถโดยสารของจำเลยที่ 2 เข้ามาแล่นในเส้นทางสัมปทานที่จำเลยที่ 3 ได้รับจากรัฐบาลเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ก็เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย จำเลยที่ 3 จะปฏิเสธความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
โจทก์ได้ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในมูลละเมิดภายในกำหนดอายุความ การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายเกิน 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้ที่จะใช้ค่าเสียหายแล้ว โดยอ้างว่ายังมิได้เรียกค่ายาและค่ารักษาพยาบาลไว้ หาทำให้คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายนั้นขาดอายุความไม่
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถโดยสารประจำทางคันเกิดเหตุและนำมาวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 และปรากฏว่าพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารเป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 จึงถือได้ว่าการนำรถโดยสารของจำเลยที่ 2 เข้ามาแล่นในเส้นทางสัมปทานที่จำเลยที่ 3 ได้รับจากรัฐบาลเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ก็เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย จำเลยที่ 3 จะปฏิเสธความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การพิสูจน์ความประมาท และขอบเขตความรับผิดของนายจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องเจาะจงตัวจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ส. จำกัด ไม่ต้องระบุว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ นั่งรถยนต์รับจ้างสามล้อที่ ก. เป็นผู้ขับขี่แล่นมาถึงบริเวณใกล้ที่พักผู้โดยสารประจำทางใกล้สะพานสท้านนภา โฉมหน้าจากสถานีขนส่งสายใต้ไปทางสามแยกท่าพระถูกรถยนต์โดยสารประจำทางสาย 81 คันหมายเลขทะเบียน กท.จ.3991 พุ่งเข้าชนนั้นย่อมชัดแจ้งเข้าใจได้แล้วว่ารถชนกันที่ใด ส่วนค่าเสียหายโจทก์บรรยายฟ้องแยกชนิดประเภทความเสียหายว่าเป็นเงินส่วนละเท่าใด ความเสียหายที่ทำให้โจทก์เสียฆานประสาทก็บรรยายฟ้องว่าไม่อาจรับความรู้สึกในการดมกลิ่นอีก ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิด ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสเป็นการฟ้องตามสิทธิที่มีอยู่เป็นการเฉพาะตัว จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามี โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในมูลละเมิดภายในกำหนดอายุความ แต่ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องที่เกี่ยวกับค่าเสียหายในภายหลัง คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายดังกล่าวไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ได้นำรถยนต์โดยสารประจำทางคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 มาวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 พนักงานเก็บเงินค่าโดยสารของรถยนต์โดยสารประจำทางดังกล่าวก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 จึงถือได้ว่ารถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 เข้ามาแล่นในเส้นทางสัมปทานที่จำเลยที่ 3 ได้รับจากรัฐบาลเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย