พบผลลัพธ์ทั้งหมด 368 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2666/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้ภารจำยอมต้องเริ่มนับอายุความหลังแบ่งแยกที่ดิน การใช้ทางก่อนแบ่งแยกไม่ถือเป็นอายุความ
เดิมที่ดินของโจทก์จำเลยเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของคนเดียวกันเมื่อแบ่งแยกแล้วทางพิพาทอยู่ในที่ดินส่วนของจำเลย แม้โจทก์จะได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะมาเกิน 10 ปีการที่โจทก์อยู่อาศัยในบ้านของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินนั้นใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะในระหว่างนั้น ย่อมเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะเป็นบริวารและใช้โดยอาศัยอำนาจของเจ้าของเดิมเมื่อที่ดินเป็นของเจ้าของรายเดียวกัน ย่อมไม่มีเจ้าของสามยทรัพย์กับเจ้าของภารยทรัพย์อันจะทำให้เกิดมีภารจำยอมขึ้นได้ ผู้อยู่ในที่ดินจะใช้ทางนานเพียงใด ทางพิพาทก็ไม่ตกอยู่ในภารจำยอม อายุความการได้ภารจำยอมหากจะมีก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่ได้แบ่งแยกที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับจากวันที่ทราบการละเมิดและตัวผู้กระทำผิด แม้จะมีการตั้งกรรมการสอบสวนเพิ่มเติม
โจทก์ได้รู้ถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยทั้งเก้าแล้ว ตามรายงานของคณะกรรมการสอบสวนที่โจทก์ตั้งขึ้นชุดแรก ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2523 แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะสรุปความเห็นว่ามีผู้ต้องรับผิดชอบเพียงสองคนคือจำเลยที่ 6 และที่ 8 ก็ตาม การที่โจทก์ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นสอบสวนในเรื่องเดิม คงเป็นเพียงวิธีการของโจทก์ เพื่อจะรู้ว่ายังมีใครอีกบ้างที่จะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่โจทก์ยังไม่รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ มิฉะนั้นอายุความหนึ่งปีที่กฎหมายกำหนดไว้ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่มูลละเมิดก็จะขยายออกไปได้เรื่อย ๆ แล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ ดังนั้นเมื่อนับจากวันที่ 30 เมษายน 2523 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ พ้นกำหนดเวลา 1 ปีแล้วฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การรู้ตัวผู้รับผิดและผลต่อการเริ่มนับอายุความ
โจทก์ได้รู้ถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าเป็นจำเลยทั้งเก้าแล้วตามรายงานของคณะกรรมการสอบสวนที่โจทก์ตั้งขึ้นชุดแรก ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2523 แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะสรุปความเห็นว่ามีผู้ต้องรับผิดชอบเพียงสองคนคือจำเลยที่ 6 และที่ 8 ก็ตามการที่โจทก์ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นสอบสวนในเรื่องเดิมคงเป็นเพียงวิธีการของโจทก์เพื่อจะรู้ว่ายังมีใครอีกบ้างที่จะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่โจทก์ยังไม่รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ มิฉะนั้นอายุความหนึ่งปีที่กฎหมายกำหนดไว้ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่มูลละเมิดก็จะขยายออกไปได้เรื่อย ๆ แล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์ ดังนั้นเมื่อนับจากวันที่ 30 เมษายน 2523 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้พ้นกำหนดเวลา 1 ปีแล้วฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นที่บริษัทรู้เห็น & ความรับผิดของผู้โอนหุ้นค้างชำระค่าหุ้น
การโอนหุ้นทำที่บริษัทจำเลยต่อหน้ากรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนแจ้งอีก การที่บริษัทจำเลยไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเองแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม จะบัญญัติถึงการโอนหุ้นที่ไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ แต่ก็หมายถึงว่าเป็นเรื่องที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้รู้เห็นด้วย กฎหมายจึงให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน เมื่อการโอนหุ้นได้โอนกันที่บริษัทจำเลยกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรู้เห็นเป็นพยาน จึงมิใช่กรณีที่จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสามมาใช้ได้ ในขณะที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้รับโอน หุ้นของผู้ร้องยังมิได้ส่งใช้เงินเต็มจำนวนค่าหุ้น ผู้ร้องในฐานะผู้โอนจึงยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ส่งใช้ให้ครบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นที่บริษัทรู้เห็น vs. การไม่จดแจ้งทะเบียน และความรับผิดในค่าหุ้นค้างชำระ
การโอนหุ้นทำที่บริษัทจำเลยต่อหน้ากรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น โดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนแจ้งอีก การที่บริษัทจำเลยไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเอง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม จะบัญญัติถึงการโอนหุ้นที่ไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ แต่ก็หมายถึงว่าเป็นเรื่องที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้รู้เห็นด้วย กฎหมายจึงให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน เมื่อการโอนหุ้นได้โอนกันที่บริษัทจำเลย กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรู้เห็นเป็นพยาน จึงมิใช่กรณีที่จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสามมาใช้ได้
ในขณะที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้รับโอน หุ้นของผู้ร้องยังมิได้ส่งใช้เงินเต็มจำนวนค่าหุ้น ผู้ร้องในฐานะผู้โอนจึงยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ส่งใช้ให้ครบ
ในขณะที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้รับโอน หุ้นของผู้ร้องยังมิได้ส่งใช้เงินเต็มจำนวนค่าหุ้น ผู้ร้องในฐานะผู้โอนจึงยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ส่งใช้ให้ครบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังผู้ชนะคดีเสียชีวิต ผู้จัดการมรดกมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิมได้ แม้จะมีการแบ่งแยกที่ดิน
ศาลฎีกาพิพาากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ต่อมาโจทก์ถึงแก่ความตามยแม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ไม่ได้ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิขอดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ เพราะกรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42
ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนเนื้อที่ 200 ตารางวาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1884 แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ ออกจำหน่ายก่อนแล้ว ในที่ดินจำนวนนี้ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้ 4 แปลงสำหรับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ายังมีที่ดินส่วนอื่นนอกจากที่ดิน 4 แปลงดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เสนอที่ดินส่วนอื่นให้โจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน 4 แปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องได้ ไม่เป็นการร้องขอให้โอนที่ดินแปลงอื่นนอกจากที่กล่าวในคำพิพากษาและคำบังคับทั้งไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้อง.
ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนเนื้อที่ 200 ตารางวาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1884 แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ ออกจำหน่ายก่อนแล้ว ในที่ดินจำนวนนี้ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้ 4 แปลงสำหรับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ายังมีที่ดินส่วนอื่นนอกจากที่ดิน 4 แปลงดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เสนอที่ดินส่วนอื่นให้โจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน 4 แปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องได้ ไม่เป็นการร้องขอให้โอนที่ดินแปลงอื่นนอกจากที่กล่าวในคำพิพากษาและคำบังคับทั้งไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกบังคับคดีหลังผู้ชนะคดีเสียชีวิต และขอบเขตการบังคับคดีที่ดินแปลงย่อย
ศาลฎีกาพิพาากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ต่อมาโจทก์ถึงแก่ความตามยแม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ไม่ได้ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิขอดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ เพราะกรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42
ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนเนื่อที่ 200 ตารางวาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1884 แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ ออกจำหน่ายก่อนแล้ว ในที่ดินจำนวนนี้ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้ 4 แปลงสำหรับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ายังมีที่ดินส่วนอื่นนอกจากที่ดิน 4 แปลงดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เสนอที่ดินส่วนอื่นให้โจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน 4แปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องได้ ไม่เป็นการร้องขอให้โอนที่ดินแปลงอื่นนอกจากที่กล่าวในคำพิพากษาและคำบังคับทั้งไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้อง.
ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนเนื่อที่ 200 ตารางวาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1884 แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ ออกจำหน่ายก่อนแล้ว ในที่ดินจำนวนนี้ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้ 4 แปลงสำหรับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ายังมีที่ดินส่วนอื่นนอกจากที่ดิน 4 แปลงดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เสนอที่ดินส่วนอื่นให้โจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน 4แปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องได้ ไม่เป็นการร้องขอให้โอนที่ดินแปลงอื่นนอกจากที่กล่าวในคำพิพากษาและคำบังคับทั้งไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกบังคับคดีหลังผู้ชนะคดีถึงแก่ความตาย และการบังคับคดีเฉพาะที่ดินที่ถูกอายัด
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ต่อมาโจทก์ถึงแก่ความตายแม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ไม่ได้ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิขอดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้เพราะกรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนเนื้อที่ 200 ตารางวาในที่ดินโฉนดเลขที่ 1884 แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆออกจำหน่ายก่อนแล้ว ในที่ดินจำนวนนี้ศาลชั้นต้นได้สั่งอายัดไว้ 4 แปลงสำหรับคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ายังมีที่ดินส่วนอื่นนอกจากที่ดิน 4 แปลงดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ไม่ได้เสนอที่ดินส่วนอื่นให้โจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน 4 แปลงดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องได้ ไม่เป็นการร้องขอให้โอนที่ดินแปลงอื่นนอกจากที่กล่าวในคำพิพากษาและคำบังคับ ทั้งไม่เป็นการพิพากษาและบังคับคดีนอกไปจากคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย โดยมีเจตนาให้เจ้าหนี้รายใหม่ได้เปรียบ
ท. รับโอนทรัพย์พิพาทจากจำเลย ในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนขอให้ล้มละลาย แม้ ท. มิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนการโอนแต่การที่ ท. ทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่พิพาทกับจำเลย ย่อมถือได้ว่า ท. เป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนทรัพย์พิพาทแก่ตนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าขณะโอนทรัพย์พิพาท จำเลยมีทรัพย์สินอย่างอื่นพอที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้คือผู้ร้องทั้งสองได้ ก็แสดงว่าจำเลยโอนทรัพย์พิพาทโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คือผู้รับโอนได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนการโอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ มาตรา 115 การที่ผู้ร้องทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนการโอน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำร้อง และผู้ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และให้เพิกถอนการโอนนั้น เมื่อศาลเห็นควรให้เพิกถอนการโอน ย่อมพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการโอนตามคำขอของผู้ร้องต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย หากมีเจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
ท.รับโอนทรัพย์พิพาทจากจำเลย ในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนขอให้ล้มละลาย แม้ ท. มิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนการโอนแต่การที่ ท. ทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่พิพาทกับจำเลย ย่อมถือได้ว่า ท. เป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนทรัพย์พิพาทแก่ตนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าขณะโอนทรัพย์พิพาท จำเลยมีทรัพย์สินอย่างอื่นพอที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้คือผู้ร้องทั้งสองได้ ก็แสดงว่าจำเลยโอนทรัพย์พิพาทโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คือผู้รับโอนได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนการโอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ มาตรา 115
การที่ผู้ร้องทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนการโอน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำร้อง และผู้ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และให้เพิกถอนการโอนนั้น เมื่อศาลเห็นควรให้เพิกถอนการโอน ย่อมพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการโอนตามคำขอของผู้ร้องต่อไป.
การที่ผู้ร้องทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนการโอน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำร้อง และผู้ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และให้เพิกถอนการโอนนั้น เมื่อศาลเห็นควรให้เพิกถอนการโอน ย่อมพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการโอนตามคำขอของผู้ร้องต่อไป.