คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน นนทแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 521 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การนับระยะเวลาตามปฏิทินราชการ
สัญญาประนีประนอมยอมความมีสาระสำคัญว่า จำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์งวดละ 10,000 บาท งวดแรกวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530 และงวดต่อไปทุก ๆ 3 เดือน จนกว่าจะครบหนี้ ผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด ดังนี้การนับระยะเวลาตามที่กำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความจะต้องคำนวณตามปฏิทินในราชการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 ดังนั้น การชำระหนี้งวดที่ 2 จึงครบกำหนดชำระวันที่ 1 พฤษภาคม 2530 และงวดที่ 3 ครบกำหนดวันที่ 1 สิงหาคม 2530 การที่จำเลยนำเงินงวดที่ 3 ไปชำระให้โจทก์เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2530 เป็นการเลยกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ เป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และถือว่าเป็นการผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้
จำเลยอ้างว่า โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระไม่ตรงวันที่ 1 ของเดือนก็ได้ แต่ไม่ให้ข้ามงวด โจทก์ว่าไม่เป็นความจริง เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีข้อตกลงกันดังที่จำเลยอ้าง ศาลต้องถือตามที่โจทก์จำเลยได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและการผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนดเวลา
สัญญาประนีประนอมยอมความมีสาระสำคัญว่า จำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์งวดละ 10,000 บาท งวดแรกวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530และงวดต่อไปทุก ๆ 3 เดือน จนกว่าจะครบหนี้ ผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด ดังนี้ การนับระยะเวลาตามที่กำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความจะต้องคำนวณตามปฏิทินในราชการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 ดังนั้น การชำระหนี้งวดที่ 2 จึงครบกำหนดชำระวันที่ 1 พฤษภาคม 2530 และงวดที่ 3ครบกำหนดวันที่ 1 สิงหาคม 2530 การที่จำเลยนำเงินงวดที่ 3 ไปชำระให้โจทก์เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2530 เป็นการเลยกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ เป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และถือว่าเป็นการผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้ จำเลยอ้างว่า โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระไม่ตรงวันที่1 ของเดือนก็ได้ แต่ไม่ให้ข้ามงวด โจทก์ว่าไม่เป็นความจริงเมื่อโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีข้อตกลงกันดังที่จำเลยอ้าง ศาลต้องถือตามที่โจทก์จำเลยได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยของบุตรที่เกิดในไทยจากมารดาที่มีสัญชาติไทยและบิดาเป็นชาวต่างชาติ กรณีมิได้จดทะเบียนสมรส
นางป.มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดที่จังหวัดอุบลราชธานีจึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456 มาตรา 3 และนางป.เป็นบุตรคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง นางป.จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เมื่อนางป.คนสัญชาติไทยอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ก. คนญวนอพยพโดยไม่จดทะเบียนสมรสโจทก์ทั้งสามจึงมีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสามเกิดที่อำเภอเมืองอุบลราชธานีย่อมได้สัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) บุตรที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยโดยเหตุที่บิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 นั้น จะต้องปรากฏว่าคนต่างด้าวนั้นเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อนาง ป. มารดาของโจทก์ทั้งสามไม่ใช่คนต่างด้าวและนาย ก. ก็มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสาม กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337อันจะเป็นผลให้โจทก์ทั้งสามถูกถอนสัญชาติไทย โจทก์ทั้งสามจึงยังคงมีสัญชาติไทย เมื่อ พ.ศ. 2522 มารดาโจทก์ทั้งสามได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสามออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์ทั้งสามเป็นคนต่างด้าวเช่นนี้ แม้จำเลยเข้ารับตำแหน่งหัวหน้ากิจการคนญวนอพยพเมื่อเดือนพฤศจิกายน2525 ตลอดมาถึงวันฟ้องก็ตาม ตราบใดที่โจทก์ทั้งสามมีสัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพได้ให้จำเลยถอนชื่อออกแต่จำเลยไม่จัดการให้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามถูกโต้แย้งสิทธิตลอดมา จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะหัวหน้าสำนักงานกิจการคนญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานี ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ให้ดุลพินิจศาลอุทธรณ์ที่จะพิพากษายกคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปเพื่อให้พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่สุดแต่ว่าจะมีเหตอันสมควรหรือไม่ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย และการโต้แย้งสิทธิในสัญชาติจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ
นาง ป. มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดที่จังหวัดอุบลราชธานีจึงได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2456 มาตรา 3และนาง ป. เป็นบุตรคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง นาง ป.จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337เมื่อนาง ป. คนสัญชาติไทยอยู่กินฉันสามีภรรยากับนาย ก.คนญวนอพยพโดยไม่จดทะเบียนสมรส โจทก์ทั้งสามจึงมีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสามเกิดที่อำเภอเมืองอุบลราชธานีย่อมได้สัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) บุตรที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยโดยเหตุที่บิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 นั้น จะต้องปรากฏว่าคนต่างด้าวนั้นเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อนาง ป.มารดาของโจทก์ทั้งสามไม่ใช่คนต่างด้าว และนาย ก. ก็มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสาม กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 อันจะเป็นผลให้โจทก์ทั้งสามถูกถอนสัญชาติไทยโจทก์ทั้งสามจึงยังคงมีสัญชาติไทย.
เมื่อ พ.ศ. 2522 มารดาโจทก์ทั้งสามได้ขอให้เจ้าหน้าที่เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสามออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพแต่เจ้าหน้าที่ไม่จัดการให้โดยโต้แย้งว่าโจทก์ทั้งสามเป็นคนต่างด้าวเช่นนี้ แม้จำเลยเข้ารับตำแหน่งหัวหน้ากิจการคนญวนอพยพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2525 ตลอดมาถึงวันฟ้องก็ตาม ตราบใดที่โจทก์ทั้งสามมีสัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพได้ให้จำเลยถอนชื่อออกแต่จำเลยไม่จัดการให้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามถูกโต้แย้งสิทธิตลอดมา จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะหัวหน้าสำนักงานกิจการคนญวนอพยพ จังหวัดอุบลราชธานี.
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(1) ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปเพื่อให้พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่นั้น อยู่ในดุลพินิจว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลบังคับคดีได้
นับแต่ศาลนัดไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยครั้งแรกเป็นเวลา6 เดือน เศษ จำเลยนำพยานเข้าสืบได้เพียง 3 ปาก และจำเลยขอเลื่อนไปสืบพยานต่อ ถึง วันนัดจำเลยแถลงว่านางสาว ด. พยานจำเลยป่วยขอเลื่อน โจทก์คัดค้านว่าจำเลยประวิงคดีศาลอนุญาตให้เลื่อนไปอีกนัดหนึ่ง ถึง วันนัดจำเลยมิได้นำนางสาว ด. ไปศาลเพื่อให้ศาลทำการสืบพยานปากนี้ ทั้งมิได้แถลงเกี่ยวกับพยานที่จะนำเข้าสืบในวันนั้นแต่อย่างใด พฤติการณ์ถือว่าจำเลยประวิงคดี เมื่อศาลพิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์ได้ ไปยื่นคำร้องขอโอนกิจการโรงงานให้จำเลยตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ จำเลยไม่ยอมชำระเงินแก่โจทก์ตาม สัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
นับแต่ศาลนัดไต่สวนคำร้องของจำเลยครั้งแรกเป็นเวลา 6 เดือนเศษจำเลยนำพยานเข้าสืบได้เพียง 3 ปาก และจำเลยขอเลื่อนไปสืบพยานต่อ ถึงวันนัดจำเลยแถลงว่านางสาว ด. พยานจำเลยป่วยขอเลื่อน โจทก์คัดค้านว่าจำเลยประวิงคดี ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปอีกนัดหนึ่ง ถึงวันนัดจำเลยมิได้นำนางสาว ด. ไปศาลเพื่อให้ศาลทำการสืบพยานปากนี้ ทั้งมิได้แถลงเกี่ยวกับพยานที่จะนำเข้าสืบในวันนั้นแต่อย่างใด พฤติการณ์ถือว่าจำเลยประวิงคดี ศาลชอบที่จะงดสืบพยานจำเลยได้ เมื่อศาลพิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์ได้ไปยื่นคำร้องขอโอนกิจการโรงงานให้จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่จำเลยไม่ยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1713/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
นับแต่ศาลนัดไต่สวนคำร้องของจำเลยครั้งแรกเป็นเวลา 6 เดือนเศษ จำเลยนำพยานเข้าสืบได้เพียง 3 ปาก และจำเลยขอเลื่อนไปสืบพยานต่อถึงวันนัดจำเลยแถลงว่านางสาว ด. พยานจำเลยป่วยขอเลื่อน โจทก์คัดค้านว่าจำเลยประวิงคดีศาลอนุญาตให้เลื่อนไปอีกนัดหนึ่ง ถึง วันนัดจำเลยมิได้นำนางสาว ด. ไปศาลเพื่อให้ศาลทำการสืบพยานปากนี้ ทั้งมิได้แถลงเกี่ยวกับพยานที่จะนำเข้าสืบในวันนั้นแต่อย่างใด พฤติการณ์ถือว่าจำเลยประวิงคดี
เมื่อศาลพิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์ได้ไปยื่นคำร้องขอโอนกิจการโรงงานให้จำเลยตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่จำเลยไม่ยอมชำระเงินแก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คประกันราคาสินค้า: โจทก์ทราบถึงความเสี่ยงในการรับเช็ค จึงไม่เป็นความผิดอาญา
เช็คพิพาทเป็นเช็คประกันราคาสินค้าซึ่งโจทก์ทราบดีในขณะรับเช็คว่าเป็นเช็คที่อาจนำไปขึ้นเงินไม่ได้ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จึงไม่เป็นความผิดทางอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพิเศษโกงเจ้าหนี้: การขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้ แม้มีข้อพิพาทเรื่องหนี้สิน ไม่ถือเป็นความผิด
ผู้ที่จะมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จะต้องกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้ จำเลยเป็นหนี้จำนองผู้มีชื่อ จึงขายทรัพย์จำนองพร้อมสิทธิการเช่าโทรศัพท์เพื่อชำระหนี้จำนองตามปกติ แม้จะเป็นการขายหลังจากทราบว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ก็ตาม ทั้งเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ จำเลยก็ต่อสู้ว่ามิได้เป็นหนี้โจทก์คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้หรือไม่ยังโต้เถียงกันอยู่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพิเศษโกงเจ้าหนี้: การขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้ แม้มีข้อพิพาทเรื่องหนี้ ก็ไม่ถือเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 จะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้
จำเลยขายทรัพย์จำนองเพื่อชำระหนี้จำนองภายหลังได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้ จำเลยมิได้ยอมรับว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ เมื่อถูกฟ้อง จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้หรือไม่ยังโต้เถียงกันอยู่ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 53