คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน นนทแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 521 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพิเศษโกงเจ้าหนี้: การขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้ แม้มีข้อพิพาทเรื่องหนี้ ไม่ถือเป็นความผิด
ความผิดฐาน โกงเจ้าหนี้ ผู้ที่จะมีความผิดจะต้อง มีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตน หรือผู้อื่นได้ รับชำระหนี้จำเลยเป็นหนี้จำนองผู้มีชื่อ 3,000,000 บาท จึงขายทรัพย์จำนองพร้อมสิทธิการเช่า โทรศัพท์เป็นเงิน 3,500,000 บาทเพื่อชำระหนี้จำนองตาม ปกติ แม้จะเป็นการขายหลังจากทราบว่าโจทก์จะใช้ สิทธิเรียกร้องทางศาลเพื่อให้ชำระหนี้ ก็ยังเป็นการขายเพื่อชำระหนี้จำนอง ทั้งเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้จำเลยก็ต่อสู้ ว่ามิได้เป็นหนี้โจทก์ คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้หรือไม่ ยังโต้เถียง กันอยู่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐาน โกงเจ้าหนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพิเศษโกงเจ้าหนี้: การขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้ แม้มีข้อพิพาทเรื่องหนี้สิน ไม่ถือเป็นความผิด
ผู้ที่จะมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้จะต้องกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือผู้อื่นได้รับชำระหนี้ จำเลยเป็นหนี้จำนองผู้มีชื่อ จึงขายทรัพย์จำนองพร้อมสิทธิการเช่าโทรศัพท์เพื่อชำระหนี้จำนองตามปกติ แม้จะเป็นการขายหลังจากทราบว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ก็ตาม ทั้งเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ จำเลยก็ต่อสู้ว่ามิได้เป็นหนี้โจทก์คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้หรือไม่ยังโต้เถียงกันอยู่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเรา: การล่วงล้ำทางเพศแม้ไม่สำเร็จความใคร่ก็เป็นความผิดสำเร็จ
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรานั้น เมื่ออวัยวะเพศของจำเลยได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายแล้ว แม้จำเลยไม่สำเร็จความใคร่ก็เป็นความผิดสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1345/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการซื้อขายรถยนต์และการกู้ยืมเงิน การบังคับตามสัญญากู้และการพิพากษาค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และทำสัญญากู้ตามฟ้อง มูลหนี้จะเป็นการกู้ยืมเงินสดหรือเงินที่ค้างชำระในการซื้อขายรถยนต์ก็เป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้นั้นได้ ไม่เป็นการนอกฟ้อง ดอกเบี้ยก่อนทำสัญญากู้ที่ตกลงกันให้คิดจากค่างวดที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขายนั้นมีลักษณะเป็นค่าเสียหาย ไม่ใช่ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม จึงไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา การนำสืบการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสองนั้นหมายถึงต้นเงิน ไม่หมายความถึงดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ทั้งมิได้มีคำขอมาในอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ได้ เพราะการที่ศาลจะให้ฝ่ายใดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด และแม้คู่ความอีกฝ่ายจะมิได้ขอ ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1345/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีมูลหนี้จากการซื้อขายรถยนต์ และการคิดดอกเบี้ยที่ไม่เข้าข่ายผิดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และทำสัญญากู้ตามฟ้อง มูลหนี้จะเป็นการกู้ยืมเงินสดหรือเงินที่ค้างชำระในการซื้อขายรถยนต์ก็เป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้นั้นได้ ไม่เป็นการนอกฟ้อง
ดอกเบี้ยก่อนทำสัญญากู้ที่ตกลงกันให้คิดจากค่างวดที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขายนั้น มีลักษณะเป็นค่าเสียหาย ไม่ใช่ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม จึงไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญ้ติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
การนำสืบการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653วรรคสองนั้นหมายถึงต้นเงินไม่หมายรวมถึงดอกเบี้ย
การที่ศาลจะให้ฝ่ายใดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นเป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด และแม้คู่ความอีกฝ่ายจะมิได้ขอ ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโอนคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจจำกัดตามกฎหมายเฉพาะ, ไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอนุโลม
โจทก์ฟ้องต่อศาลจังหวัดปัตตานี ขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาทโจทก์จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้รวมการพิจารณาคดีที่โจทก์ฟ้องเข้ากับคดีที่โจทก์อีกคนหนึ่งฟ้องจำเลยที่ศาลแขวงพระนครเหนือ โดยขอให้โอนคดีไปพิจารณาพิพากษาที่ศาลแขวงพระนครเหนือ แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เช่นนี้จำเลยหาอาจยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6,8 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้ไม่ เพราะคดีอาญานั้นมีบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 23,26บัญญัติเรื่องการโอนคดีไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตราดังกล่าวมาปรับแก่กรณีของจำเลยได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนคดีอาญา: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าต้องใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเฉพาะ แม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน
โจทก์ฟ้องต่อศาลจังหวัดปัตตานีขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาทจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้รวมการพิจารณาคดีที่โจทก์ฟ้องเข้ากับคดีที่โจทก์อีกคนหนึ่งฟ้องจำเลยที่ศาลแขวงพระนครเหนือ โดยขอให้โอนคดีไปพิจารณาพิพากษาที่ศาลแขวงพระนครเหนือ แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เช่นนี้จำเลยหาอาจยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 6,8ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ได้ไม่เพราะคดีอาญานั้นมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 23,26บัญญัติเรื่องการโอนคดีไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตราดังกล่าวมาปรับแก่กรณีของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาฎีกา: เหตุล่าช้าจากการเปลี่ยนทนายความไม่ถือเป็นเหตุพิเศษ
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2530ต่อมาวันที่ 17 มีนาคม 2530 จำเลยได้มอบฉันทะให้ อ. มายื่นคำร้องขอคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยจะเปลี่ยนทนายใหม่และอยู่ในกรุงเทพมหานครก็สามารถยื่นฎีกาได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เหตุล่าช้าของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นเพราะมีพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายเวลายื่นฎีกาให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลายื่นฎีกา: เหตุพิเศษที่ศาลพิจารณา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2530ต่อมาวันที่ 8 เมษายน 2530 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 30 วัน อ้างว่าจำเลยเพิ่งตามตัวทนายความที่ต้องการพบและทนายความคนใหม่ไม่สามารถยื่นฎีกาได้ทัน แม้จำเลยจะเปลี่ยนทนายความใหม่และอยู่ในกรุงเทพมหานครก็สามารถยื่นฎีกาได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เหตุล่าช้าของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นเพราะมีพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายเวลายื่นฎีกาให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214-1219/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกัน และการพิจารณาโทษบรรเทาตามมาตรา 78
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ กระทำผิดในเรื่องเดียวกันหกสำนวน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกันและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน การฟังพยานหลักฐานก็ต้องฟังรวมเป็นคดีเดียว กันเมื่อศาลฎีกาได้ ยกปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมสำนวนที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ขึ้นวินิจฉัยแม้ฎีกา ของจำเลยในข้ออื่นจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในสำนวนของโจทก์ร่วมดังกล่าวได้ และย่อมมีอำนาจพิจารณาไปถึงข้อเท็จจริงในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ด้วย หากการกระทำของจำเลยในสำนวนใดไม่เป็นความผิดศาลฎีกาก็ย่อมยกฟ้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
of 53