คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน นนทแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 521 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214-1219/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมสำนวน - อำนาจวินิจฉัยศาลฎีกา - ข้อเท็จจริง - ยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ กระทำผิดในเรื่องเดียว กันหกสำนวนซึ่ง เกี่ยวเนื่องกันและศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียว กัน การฟังพยานหลักฐานก็ต้อง ฟังรวมเป็นคดีเดียว กันเมื่อศาลฎีกาได้ ยกปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมสำนวนที่ 3 ที่ 4และที่ 6 ขึ้นวินิจฉัยแม้ฎี กาของจำเลยในข้ออื่นจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในสำนวนของโจทก์ร่วมดังกล่าวได้ และย่อมมีอำนาจพิจารณาไปถึง ข้อเท็จจริงในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ซึ่ง ต้องห้าม ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ด้วย หากการกระทำของจำเลยในสำนวนใด ไม่เป็นความผิดศาลฎีกาก็ย่อมยกฟ้องได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214-1219/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมสำนวนความผิดเกี่ยวเนื่องกัน ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาข้อเท็จจริงในทุกสำนวน และวินิจฉัยการบรรเทาโทษ
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้กระทำผิดในเรื่องเดียวกันหกสำนวน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกันและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน การฟังพยานหลักฐานก็ต้องฟังรวมเป็นคดีเดียวกันเมื่อศาลฎีกาได้ยกปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมสำนวนที่ 3 ที่ 4และที่ 6 ขึ้นวินิจฉัย แม้ฎีกาของจำเลยในข้ออื่นจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในสำนวนของโจทก์ร่วมดังกล่าวได้ และย่อมมีอำนาจพิจารณาไปถึงข้อเท็จจริงในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ด้วย หากการกระทำของจำเลยในสำนวนใดไม่เป็นความผิด ศาลฎีกาก็ย่อมยกฟ้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งแบ่งสินสมรสมีเงื่อนไข ศาลไม่รับ หากยังมิได้วินิจฉัยเหตุหย่า
การที่โจทก์ฟ้องขอหย่าโดยอ้างเหตุตามกฎหมาย จำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำการดังโจทก์กล่าวหา ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้แบ่งสินสมรสนั้น เมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีเหตุหย่า ศาลจะต้องวินิจฉัยว่ามีเหตุหย่าตามฟ้องหรือไม่ ถ้าไม่มีเหตุหย่าก็ต้องพิพากษายกฟ้อง โดยไม่ต้องพิจารณาตามฟ้องแย้งของจำเลย ฉะนั้นฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่า ถ้าศาลพิพากษาให้หย่าก็ให้แบ่งสินสมรสจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ศาลชอบที่จะไม่รับฟ้องแย้ง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขการฟ้องแย้งในคดีหย่า: ศาลไม่รับฟ้องแย้งหากไม่มีเหตุหย่า
โจทก์ฟ้องขอหย่าโดยอ้างเหตุตามกฎหมาย จำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำการดังโจทก์กล่าวหา ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้แบ่งสินสมรส ดังนี้ศาลจะต้องวินิจฉัยว่ามีเหตุหย่าตามฟ้องหรือไม่ถ้าไม่มีเหตุหย่า ศาลก็พิพากษายกฟ้องไป ไม่ต้องพิจารณาตามฟ้องแย้งของจำเลย การที่จำเลยฟ้องแย้งว่าถ้าศาลพิพากษาหย่าก็ให้แบ่งสินสมรส จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ศาลรับคำให้การแต่ไม่รับฟ้องแย้ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องแบ่งสินสมรสเป็นฟ้องที่มีเงื่อนไข ศาลไม่ต้องรับ หากศาลยังไม่พิพากษาให้หย่า
โจทก์ฟ้องขอหย่าโดยอ้างเหตุตามกฎหมาย จำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำการดังโจทก์กล่าวหา ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้แบ่งสินสมรส ดังนี้ศาลจะต้องวินิจฉัยว่ามีเหตุหย่าตามฟ้องหรือไม่ ถ้าไม่มีเหตุหย่า ศาลก็พิพากษายกฟ้องไป ไม่ต้องพิจารณาตามฟ้องแย้งของจำเลย การที่จำเลยฟ้องแย้งว่าถ้าศาลพิพากษาหย่าก็ให้แบ่งสินสมรส จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ศาลรับคำให้การแต่ไม่รับฟ้องแย้ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งแบ่งสินสมรสมีเงื่อนไข: ศาลไม่รับ หากยังไม่มีเหตุหย่า
โจทก์ฟ้องขอหย่าโดยอ้างเหตุตามกฎหมาย จำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำการดังโจทก์กล่าวหา ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้แบ่งสินสมรส ดังนี้ ศาลจะต้องวินิจฉัยว่ามีเหตุหย่าตามฟ้องหรือไม่ถ้าไม่มีเหตุหย่า ศาลก็พิพากษายกฟ้องไป ไม่ต้องพิจารณาตามฟ้องแย้งของจำเลย การที่จำเลยฟ้องแย้งว่าถ้าศาลพิพากษาหย่าก็ให้แบ่งสินสมรส จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ศาลรับคำให้การแต่ไม่รับฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมขายฝากมีผลผูกพันตามสัญญา แม้จำเลยอ้างเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง โจทก์มีสิทธิขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
โจทก์และจำเลยต่างมอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ไปทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ส. ได้ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้วสัญญาขายฝากที่ทำขึ้นย่อมเป็นนิติกรรมที่โจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีผลผูกพันกันตามสัญญา มิใช่มีเจตนาอำพรางแต่อย่างใด จำเลยจะอ้างว่ามีเจตนาอำพรางสัญญาจำนองหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกระทบสิทธิเจ้าหนี้ตามสัญญาจะซื้อขาย: ศาลเพิกถอนได้หากทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
จำเลยที่ 4 เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 4 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเกินกว่าส่วนที่ควรจะได้ ดังนี้ไม่ใช่คำพิพากษาแสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ย่อมไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แม้ว่าโจทก์เป็นผู้จะซื้อที่ดินแปลงนั้นจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ก็ตาม คำพิพากษาตามยอมบังคับโจทก์ไม่ได้ และไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย แต่โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก และผลกระทบต่อสิทธิในสัญญาจะซื้อขาย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์ 3โฉนด ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดหนึ่งที่ทำสัญญาจะขาย และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะบังคับเอาที่ดินจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่เต็มตามส่วนที่ควรจะได้ทำให้โจทก์เสียเปรียบและเสียหาย แต่โจทก์เป็นบุคคลภายนอกจะฟ้องขอให้หเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของคู่ความในคดีอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วไม่ได้ ทั้งสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวไม่ใช่คำพิพากษาแสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 ลูกหนี้กับจำเลยที่ 4 จึงไม่ผูกพันโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกระทบสิทธิบุคคลภายนอก: ศาลเพิกถอนได้เฉพาะสัญญา ไม่ผูกพันคำพิพากษา
จำเลยที่ 4 เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 4 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเกินกว่าส่วนที่ควรจะได้ ดังนี้ ไม่ใช่คำพิพากษาแสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แม้ว่าโจทก์เป็นผู้จะซื้อที่ดินแปลงนั้นจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ก็ตาม คำพิพากษาตามยอมบังคับโจทก์ไม่ได้ และไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย แต่โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอม
of 53