คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน นนทแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 521 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินสงเคราะห์ตกทอด: 'กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา' หมายถึงการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ยังไม่จบ
คำว่า "กำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษา" ในมาตรา 49 แห่งพระราชบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หมายถึง การศึกษาต่อจากชั้นเตรียมอุดมศึกษา แต่ยังไม่จบชั้นอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี โจทก์ร่วมเป็นบุตรของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้ตายและจบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ระดับปริญญาตรีแล้ว การที่โจทก์ร่วมสมัครเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ระดับปริญญาตรีอีก ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมเปลี่ยนแปลงฐานะกลับเป็นกำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอดตามกฎหมายดังกล่าว และข้อบังคับคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 48

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากการอายัดเช็ค การฟ้องร้อง และค่าเสียหายทางละเมิด
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายถ้วยแก้วขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าเสียหายที่โจทก์ต้องไปซื้อถ้วยแก้วจากผู้อื่นแพงขึ้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดจากการที่โจทก์ต้องชำระเงินตามเช็คที่จำเลยโอนไปให้แก่บุคคลภายนอกและเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่โจทก์ต้องแต่งตั้งทนายความสู้คดีและต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นคนละเรื่องต่างประเด็นกัน และโจทก์เพิ่งชำระเงินตามเช็คไปหลังจากศาลชั้นต้นในคดีก่อนพิพากษาคดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 คำให้การของจำเลยต่อสู้ปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ดังนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำจึงชอบแล้ว จำเลยผิดสัญญาโอนเช็คที่โจทก์จ่ายเป็นประกันการชำระราคาซื้อขายถ้วยแก้วให้บุคคลภายนอก โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องและได้ชำระเงินตามเช็คให้บุคคลภายนอกไปแล้ว ค่าดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอกผู้เป็นโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอากับจำเลยได้ เพราะไม่เป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา ความรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเรื่องละเมิดเกี่ยวกับการทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณนั้น มีแต่เฉพาะการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติยศเพราะถูกจำคุกตามคำพิพากษา ค่าจ้างทนายความต่อสู้คดีที่โจทก์ผู้สั่งจ่ายถูกผู้ทรงฟ้องไม่ใช่เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาและแม้จะเป็นเรื่องละเมิดก็นับว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเอาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่น่าเชื่อถือ ศาลฎีกายกฟ้องคดีชิงทรัพย์และฆ่าผู้อื่น
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยกระทำผิด คงมีแต่คำเบิกความและคำให้การชั้นสอบสวนของ ป. พี่ชายจำเลยว่า หลังเกิดเหตุ2 วัน จำเลยบอก ป. ว่า จำเลยฆ่าผู้ตายและได้เก็บทรัพย์ที่ชิงไปจากผู้ตายไว้ที่บ้าน ลำพังคำเบิกความและคำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าวจะนำมารับฟังเพื่อลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำเบิกความของพยานที่ไม่ใช่พยานผู้เห็นเหตุการณ์เพื่อลงโทษจำเลยในคดีอาญา
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยกระทำผิด คงมีแต่คำเบิกความและคำให้การชั้นสอบสวนของ ป. พี่ชายจำเลยว่า หลังเกิดเหตุ 2 วัน จำเลยบอก ป. ว่า จำเลยฆ่าผู้ตายและได้เก็บทรัพย์ที่ชิงไปจากผู้ตายไว้ที่บ้าน ลำพังคำเบิกความและคำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าวจะนำมารับฟังเพื่อลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดต่อการเสียชีวิตจากกระแสไฟฟ้ารั่ว: ผู้ครอบครองสายไฟฟ้าต้องรับผิดแต่ผู้เดียว
ข้อบังคับการบริการและใช้ไฟฟ้าระบุว่า สายและอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งต่อจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามายังสถานที่ของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดเป็นทรัพย์สินของผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าต้องดูแลรับผิดชอบเอง เมื่อปรากฏว่าการไฟฟ้านครหลวง จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดตั้งสายไฟฟ้ามาบรรจบสายที่ตู้โทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 เท่านั้น และขณะเกิดเหตุ สายไฟฟ้าที่ต่อจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าซึ่งติดกับเสาไฟฟ้าส่วนที่ใกล้ขอบชายคาโทรศัพท์ชำรุดเป็นเหตุให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วผ่านตู้โทรศัพท์ลงน้ำเป็นเหตุให้ ป. ถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ครอบครองสายไฟฟ้าที่ชำรุดดังกล่าว จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดแต่ผู้เดียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และมาตรา 437 วรรค 2 โดยที่จำเลยที่ 1ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3660/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่บนที่ดินแบ่งแยก: ไม่เป็นฟ้องซ้ำหากเป็นคนละแปลง แม้เคยมีคดีขับไล่บนที่ดินเดิม
ที่ดินโฉนดเลขที่ 44558 ได้มีการแบ่งแยกในนามเดิมออกไป 12 แปลง คงเหลือเนื้อที่ 28 ตารางวา คดีก่อน ส.ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 44558 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่า จำเลยทั้งสองปลูกบ้านอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 44558 พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ต่อมา ส. ได้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 127496 เนื้อที่ 50 ตารางวา ซึ่งเป็นโฉนดใหม่ที่แบ่งแยกออกมาดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสองขณะที่ ส. ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง ที่ดินโฉนดเลขที่ 44558 กับโฉนดเลขที่ 127496 เป็นที่ดินคนละแปลงกันอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 127496 มาจาก ส. และยื่นฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า การแจ้งความร้องทุกข์ และการยึดของกลางของเจ้าพนักงานตำรวจ
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าฮาริสของบริษัท อ. ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ต่างประเทศ โจทก์เคยสั่งซื่อสินค้าดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ย่อมรู้จักรอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของสินค้าที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายได้ดี การที่โจทก์ที่ 1 สั่งสินค้ามาตรวัดความดันแก๊สของกลางซึ่งมีเครื่องหมายการค้าฮาริสปลอมเข้ามาจำหน่ายโดยเจตนาให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสินค้าของบริษัท อ. จึงทำให้บริษัทดังกล่าวเสียหายเป็นการละเมิดดังนั้น จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อ. ให้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ละเมิดสิทธิดังกล่าว จึงมีสิทธิมอบให้จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินการตามกฎหมายกับโจทก์ได้
การที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเมื่อได้รับแจ้งความแล้วได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ตามอำนาจหน้าที่และโดยสุจริต กล่าวคือทำการตรวจค้น เมื่อได้ความว่าสินค้าของกลางมีการนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันเข้าลักษณะความผิดทางอาญา จึงได้ยึดสินค้าดังกล่าวเป็นของกลาง แล้วมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจดำเนินคดีต่อไป การกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยโนตารีบับลิก และกงสุลไทยแห่งเมืองนั้นรับรองอีกชั้นหนึ่งว่าเป็นลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การยึดสินค้าปลอมและการดำเนินการตามกฎหมายโดยเจ้าพนักงาน
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าฮาริสของบริษัทอ. ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ต่างประเทศ โจทก์เคยสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากจำเลยที่ 1ย่อมรู้จัก รอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของสินค้าที่จำเลยที่ 1เป็นตัวแทนจำหน่ายได้ดี การที่โจทก์ที่ 1 สั่งสินค้ามาตรวัดความดันแก๊สของกลางซึ่งมีเครื่องหมายการค้าฮาริสปลอมเข้ามาจำหน่ายโดยเจตนาให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสินค้าของบริษัทอ.จึงทำให้บริษัทดังกล่าวเสียหายเป็นการละเมิด ดังนั้น จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อ.ให้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ละเมิดสิทธิดังกล่าว จึงมีสิทธิมอบให้จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินการตามกฎหมายกับโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเมื่อได้รับแจ้งความแล้วได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมายตามอำนาจหน้าที่และโดยสุจริต กล่าวคือทำการตรวจค้น เมื่อได้ความว่าสินค้าของกลางมีการนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันเข้าลักษณะความผิดทางอาญา จึงได้ยึดสินค้าดังกล่าวเป็นของกลางแล้วมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจดำเนินคดีต่อไปการกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยโนตารีปับลิกและกงสุลไทยแห่งเมืองนั้นรับรองอีกชั้นหนึ่งว่าเป็นลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริงเป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุจากการถูกทำร้ายและพยายามข่มขืน
ผู้ตายกับพวกร่วมกันดื่มสุราโดยมีจำเลยนั่งอยู่ด้วย ผู้ตายจับไหล่นมและแขนจำเลย จำเลยโกรธเดินออกจากบ้านผู้ตาย ผู้ตายยังเดินตามเข้ามา กอด จำเลยทางด้านหลัง ฉุดและกอดปล้ำจนจำเลยล้มลงผู้ตายขึ้นนั่งทับหน้าท้องจำเลยพร้อมกับปลดกระดุมเสื้อของตนและของจำเลย จำเลยจึงใช้มีดที่ติดตัวมาแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย แม้มีบาดแผลถึง 30 แผล แต่เป็นการแทงติดต่อกันไปซึ่งจำเลยไม่อาจทราบได้ว่าภยันตรายดังกล่าวหมดไปแล้วหรือไม่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันแต่กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเองเกินสมควรแก่เหตุ กรณีถูกทำร้ายทางเพศและร่างกาย
ผู้ตายกับพวกร่วมกันดื่มสุราโดยมีจำเลยนั่งอยู่ด้วย ผู้ตายจับไหล่ นมและแขนจำเลย จำเลยโกรธเดินออกจากบ้านผู้ตาย ผู้ตายยังเดินตามเข้ามากอดจำเลยทางด้านหลัง ฉุดและกอดปล้ำจนจำเลยล้มลง ผู้ตายขึ้นนั่งทับหน้าท้องจำเลยพร้อมกับปลดกระดุมเสื้อของตนและของจำเลย จำเลยจึงใช้มีดที่ติดตัวมาแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย แม้มีบาดแผลถึง 30 แผล แต่เป็นการแทงติดต่อกันไปซึ่งจำเลยไม่อาจทราบได้ว่าภยันตรายดังกล่าวหมดไปแล้วหรือไม่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันแต่กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 69
of 53