คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมบูรณ์ ฤกษ์สำราญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 263 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4468/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งแก้ไขอาคารหลังก่อสร้างเสร็จ และขอบเขตความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
บทบัญญัติมาตรา 41 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ที่ว่าในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24หรือมีการก่อสร้าง ดัดแปลงหรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี ระงับการกระทำนั้นได้นั้น มีความมุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีที่การดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายยังคงมีอยู่ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อไป จึงให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนนั้นเสีย ในกรณีที่การกระทำหรือการก่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติในมาตรา 42 วรรคแรก และมาตรา 43 วรรคแรกได้หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา 42 แต่ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของระงับการก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรมและพักอาศัยที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแก้ไขอาคารที่ทำการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตภายใน 45 วันนั้น เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 43 วรรคแรก เมื่อมีคำสั่งภายหลังจากที่จำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จไปแล้ว ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใด การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4468/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งแก้ไขอาคารหลังก่อสร้างเสร็จ และการไม่เป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง
บทบัญญัติมาตรา 40 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ว่าในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24 หรือมีการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี ระงับการกระทำนั้นได้นั้นมีความมุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีที่การดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายยังคงมีอยู่ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อไป จึงให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนนั้นเสีย
ในกรณีที่การกระทำหรือการก่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติในมาตรา 42 วรรคแรก และมาตรา 43 วรรคแรกได้หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา 42 แต่ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป
เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของระงับการก่อสร้างอาคารเพื่อพานิชยกรรมและพักอาศัยที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแก้ไขอาคารที่ทำการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตภายใน 45 วันนั้น เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคแรก เมื่อมีคำสั่งภายหลังจากที่จำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จไปแล้ว ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใด การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงคดีอาญา, การนอกฟ้อง, และข้อจำกัดการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(5)ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 มีเพียงโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับอีกวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนมิใช่เป็นบทกำหนดโทษปรับเกินกว่า 60,000 บาท แม้โทษปรับรายวันเมื่อรวมกันแล้วจะเกิน 60,000 บาท ศาลแขวงก็ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ดังนั้นที่ศาลพิพากษาให้ปรับรายวันจนกว่าจะรื้อถอนอาคารโดยไม่คำนึงว่าเมื่อรวมค่าปรับทั้งหมดแล้วจะเกิน 60,000 บาทหรือไม่ จึงชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษาแก้โทษปรับให้ถูกต้องตามกฎหมายได้แม้จะเป็นการเพิ่มโทษก็หามีบทกฎหมายห้ามไว้ไม่ ฟ้องโจทก์มุ่งหมายจะให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เฉพาะความผิดฐานชัดคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 42 วรรคสอง และมาตรา 65 เท่านั้นหาได้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 21 ด้วยไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ เพราะเป็นการนอกเหนือหรือเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์ จำเลยเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาว่า จำเลยเข้าครอบครองที่สาธารณะโดยการปลูกสร้างอาคารก่อนที่ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522จะใช้บังคับ กรณีต้องด้วยมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องกำหนดเวลารื้อถอนให้จำเลยไม่น้อยกว่า6 เดือน เช่นนี้ข้อฎีกาของจำเลยเป็นการเถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้คู่ความต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาดังกล่าวของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบา เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาการมึนเมามีผลต่อเจตนาชิงทรัพย์ การกระทำโดยผู้มึนเมาไม่ถือเป็นการชิงทรัพย์หากไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
จำเลยซึ่งกำลังมึนเมาสุราดึงลูกกุญแจรถจักรยานยนต์ไปจากรถ ผู้เสียหายขอคืน จำเลยไม่ยอมคืน ผู้เสียหายจึงปล้ำแย่งเอาคืนมาจากจำเลยได้แล้วควบคุมตัวจำเลยไว้รอให้เจ้าพนักงานตำรวจมาจับจำเลยไป ดังนี้ไม่เป็นการกระทำโดยเจตนาชิงทรัพย์เพราะจำเลยกระทำไปในขณะมึนเมาและไม่อยู่ในสภาพที่จะชิงรถจักรยานยนต์ไปจากผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเด็กและเยาวชนหลังพ้นกำหนดระยะเวลา ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
ขณะที่จำเลยกระทำผิดและถูกจับกุม จำเลยยังเป็นเยาวชนตามพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 4จำเลยย่อมได้รับการปฏิบัติและความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้แม้ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยมีอายุพ้นเกณฑ์เยาวชนแล้ว แต่สิทธิของจำเลยที่จะได้รับการปฏิบัติและความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าวยังมีอยู่ การที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ โจทก์ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการไม่ว่าจะเป็นการฟ้องต่อศาลใด เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาต โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตามมาตรา 24 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน: พิจารณาคดีอาญาเด็กต่ำกว่า 16 ปี แม้อายุเกิน 16 ปี ณ เวลาฟ้อง
ศาลคดีเด็กและเยาวชนมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีที่เด็กหรือเยาวชนถูกฟ้องคดีอาญาทุกประเภท เว้นแต่เยาวชนที่มีอายุเกินกว่าสิบหกปีบริบูรณ์ในขณะกระทำความผิดได้กระทำความผิดอาญาในลักษณะร้ายแรงตามมาตราต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ศาลคดีเด็กและเยาวชนจึงจะไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อปรากฏว่าขณะกระทำความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ จำเลยอายุไม่เกินกว่า 16 ปีบริบูรณ์ แม้ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยมีอายุ 16 ปี 3 เดือนเศษ โจทก์ต้องฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน: อายุผู้กระทำผิดและลักษณะความผิดร้ายแรงเป็นตัวกำหนด
ศาลคดีเด็กและเยาวชนมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีที่เด็กหรือเยาวชนถูกฟ้องคดีอาญาทุกประเภท เว้นแต่เยาวชนที่มีอายุเกินกว่าสิบหกปีบริบูรณ์ในขณะกระทำความผิดได้กระทำความผิดอาญาในลักษณะร้ายแรงตามมาตราต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนพ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ศาลคดีเด็กและเยาวชนจึงจะไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อปรากฏว่าขณะกระทำความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ จำเลยอายุไม่เกินกว่า 16 ปีบริบูรณ์ แม้ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยมีอายุ 16 ปี 3 เดือนเศษ โจทก์ก็ต้องฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การยึดสินค้าปลอมและการดำเนินการตามกฎหมายโดยเจ้าพนักงาน
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าฮาริสของบริษัทอ. ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ต่างประเทศ โจทก์เคยสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากจำเลยที่ 1ย่อมรู้จัก รอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของสินค้าที่จำเลยที่ 1เป็นตัวแทนจำหน่ายได้ดี การที่โจทก์ที่ 1 สั่งสินค้ามาตรวัดความดันแก๊สของกลางซึ่งมีเครื่องหมายการค้าฮาริสปลอมเข้ามาจำหน่ายโดยเจตนาให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสินค้าของบริษัทอ.จึงทำให้บริษัทดังกล่าวเสียหายเป็นการละเมิด ดังนั้น จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อ.ให้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ละเมิดสิทธิดังกล่าว จึงมีสิทธิมอบให้จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินการตามกฎหมายกับโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเมื่อได้รับแจ้งความแล้วได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมายตามอำนาจหน้าที่และโดยสุจริต กล่าวคือทำการตรวจค้น เมื่อได้ความว่าสินค้าของกลางมีการนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันเข้าลักษณะความผิดทางอาญา จึงได้ยึดสินค้าดังกล่าวเป็นของกลางแล้วมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจดำเนินคดีต่อไปการกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยโนตารีปับลิกและกงสุลไทยแห่งเมืองนั้นรับรองอีกชั้นหนึ่งว่าเป็นลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริงเป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า การแจ้งความร้องทุกข์ และการยึดของกลางของเจ้าพนักงานตำรวจ
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าฮาริสของบริษัท อ. ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ต่างประเทศ โจทก์เคยสั่งซื่อสินค้าดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ย่อมรู้จักรอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของสินค้าที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายได้ดี การที่โจทก์ที่ 1 สั่งสินค้ามาตรวัดความดันแก๊สของกลางซึ่งมีเครื่องหมายการค้าฮาริสปลอมเข้ามาจำหน่ายโดยเจตนาให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสินค้าของบริษัท อ. จึงทำให้บริษัทดังกล่าวเสียหายเป็นการละเมิดดังนั้น จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อ. ให้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ละเมิดสิทธิดังกล่าว จึงมีสิทธิมอบให้จำเลยที่ 3 ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินการตามกฎหมายกับโจทก์ได้
การที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเมื่อได้รับแจ้งความแล้วได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ตามอำนาจหน้าที่และโดยสุจริต กล่าวคือทำการตรวจค้น เมื่อได้ความว่าสินค้าของกลางมีการนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันเข้าลักษณะความผิดทางอาญา จึงได้ยึดสินค้าดังกล่าวเป็นของกลาง แล้วมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจดำเนินคดีต่อไป การกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยโนตารีบับลิก และกงสุลไทยแห่งเมืองนั้นรับรองอีกชั้นหนึ่งว่าเป็นลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อก่อนตามสัญญาเช่าผูกพันเฉพาะคู่สัญญา ไม่ผูกพันเจ้าของที่ดินรายใหม่
แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยจะระบุว่า เมื่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าจะขายที่ดินและอาคารพิพาท จะตอ้งแจ้งให้จำเลยผู้เช่าทราบล่วงหน้าเพื่อให้โอกาสจำเลยซื้อก่อนก็ตามข้อตกลงนี้เป็นเพียงก่อให้เกิดบุคคลสิทธิที่มีผลผูกพันเฉพาะโจทก์ร่วมและจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าของที่ดินกับอาคารที่พิพาทนั้นในภายหลัง จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินกับอาคารที่พิพาทดังกล่าวระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม จำเลยฎีกาว่า โจทก์และโจทก์ร่วมวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในขณะยื่นอุทธรณ์ไม่ครบในเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้ตามฟ้องแย้งของจำเลยแล้ว ฎีกาข้อนี้ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระ
of 27