พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2188/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่อง/ขาดช่วง, การเลิกจ้าง, สิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เมื่อระยะเวลาตามสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์คงจ้าง ต่อมาอีก กรณีต้องถือว่าจำเลยจ้างโจทก์ต่อไปใหม่ โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะบอกเลิกสัญญาเสียได้ด้วยการบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 581 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยมีปัญหาด้านการเงินดังนี้เป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด และไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ สัญญาจ้างที่มีระยะเวลาการจ้างขาดช่วงไม่ต่อเนื่องกันต้องถือว่าจำเลยจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาการจ้างของสัญญาแต่ละฉบับ ปัญหาว่าสัญญาจ้างเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานทำร้ายร่างกาย แม้โจทก์อ้างบทผิดฐานอื่น ศาลมีอำนาจลงโทษตามบทที่ถูกต้องได้
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2ซึ่งมีอาวุธมีดกับพวกอีกสองคนมีมีดคัตเตอร์ 1 เล่มกับเหล็กอีก 1 ท่อนบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันควร แล้วร่วมกันประทุษร้ายร่างกายของผู้เสียหายจนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายถึงบาดเจ็บ และชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบพยานหลักฐานรับฟังได้ตามคำบรรยายฟ้อง แต่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364,365(1)(2) โดยไม่ได้อ้างมาตรา 295 มาด้วยดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า ศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้แทนเรือในฐานะผู้ขนส่งสินค้าช่วงสุดท้าย
โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศบรรทุกมาทางเรือ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือมีหน้าที่ต้องติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เรือได้เข้าเทียบท่า และติดต่อกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าของสินค้าในเรือให้ไปรับใบปล่อยสินค้าจากจำเลยและจำเลยต้องขนสินค้าจากเรือเข้าคลังสินค้าโดยจำเลยได้รับบำเหน็จจากตัวการ ดังนี้พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะร่วมกันขนสินค้ารายนี้อันเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอดโดยมีจำเลยรับขนในช่วงสุดท้าย จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่ง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงานที่ไม่ผูกพันคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงาน หาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165 (9)
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง แรงงาน: ศาลแรงงานพิจารณาจากข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณา ไม่ผูกติดคำพิพากษาคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงานหาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165(9).
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165(9).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงานที่แยกจากคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงาน หาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าซื้อและเจตนาในการกระทำผิด: ผู้ให้เช่าซื้อรู้เห็นเป็นใจกับการใช้รถขนไม้ผิดกฎหมาย ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนรถ
จ.เช่าซื้อรถยนต์ของกลางจากผู้ร้อง สัญญาเช่าซื้อข้อหนึ่งกำหนดไว้ว่า ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกริบ ฯ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดฝ่ายเดียวและยอมชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบ ดังนี้ผู้ร้องมีเจตนาเพียงที่จะได้รับชำระเงินค่าเช่าซื้อตามสัญญาเท่านั้น เมื่อ จ. ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง รถยนต์ของกลางก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. และทางฝ่าย จ.เป็นผู้แจ้งให้ผู้ร้องทราบว่ารถถูกยึด จึงเห็นได้ว่าการร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของ จ. ซึ่งเป็นผู้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยใช้รถของกลางไปกระทำความผิด เข้าลักษณะที่ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการรับพยานเพิ่มเติมและการปฏิบัติตามหลักวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งรับเอกสารตามบัญชีเพิ่มเติมของจำเลยเป็นพยานหลังจากโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนสืบพยานเสร็จแล้ว เป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคแรก เอกสารดังกล่าวถือว่าเป็นพยานศาลจึงย่อมรับฟังได้
เมื่อศาลแรงงานกลางยอมให้นำสืบเอกสารดังกล่าวและจำเลยแถลงหมดพยานแล้ว โจทก์มิได้แถลงขอสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารนั้นทั้งศาลแรงงานกลางคงได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรจะเรียกพยานมาสืบอีกตามความในตอนท้ายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 วรรคสามจึงมิได้ใช้อำนาจดังกล่าว เช่นนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางชอบแล้ว.
เมื่อศาลแรงงานกลางยอมให้นำสืบเอกสารดังกล่าวและจำเลยแถลงหมดพยานแล้ว โจทก์มิได้แถลงขอสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารนั้นทั้งศาลแรงงานกลางคงได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรจะเรียกพยานมาสืบอีกตามความในตอนท้ายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 วรรคสามจึงมิได้ใช้อำนาจดังกล่าว เช่นนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการสืบพยานเอกสารและการไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิคู่ความ
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งรับเอกสารตามบัญชีเพิ่มเติมของจำเลยเป็นพยานหลังจากโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนสืบพยานเสร็จแล้วเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา45 วรรคแรก เอกสาร ดังกล่าว ถือ ว่า เป็น พยานศาล จึง ย่อม รับฟังได้ เมื่อศาลแรงงานกลางยอมให้นำสืบเอกสารดังกล่าวและจำเลยแถลงหมดพยานแล้ว โจทก์มิได้แถลงขอสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารนั้นทั้งศาลแรงงานกลางคงได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรจะเรียกพยานมาสืบอีกตามความในตอนท้ายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 89 วรรคสาม จึงมิได้ใช้อำนาจดังกล่าว เช่นนี้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาการสอบสวนทางวินัย
ความที่ว่า 'การเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง'ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา49 มีความหมายว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุที่จะเลิกจ้างได้เลย หรือแม้จะมีเหตุแห่งการเลิกจ้างอยู่บ้างก็เป็นเหตุเพียงเล็กน้อยไม่สมควรถึงกับจะเลิกจ้างลูกจ้าง ดังนั้น เมื่อการปฏิบัติงานของโจทก์ล่าช้า ไม่ติดตามผลงานและผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประเด็นที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นอย่างไร มีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ โดยมิพักต้องพิจารณาว่าก่อนการเลิกจ้างได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้วหรือไม่ การสอบสวนของคณะกรรมการได้กระทำไปโดยชอบหรือไม่ เพราะมิใช่เหตุที่จะทำให้การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
ประเด็นที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นอย่างไร มีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ โดยมิพักต้องพิจารณาว่าก่อนการเลิกจ้างได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้วหรือไม่ การสอบสวนของคณะกรรมการได้กระทำไปโดยชอบหรือไม่ เพราะมิใช่เหตุที่จะทำให้การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)