คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สีนวล คงลาภ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจากคำรับสารภาพร่วมกัน และขอบเขตอำนาจศาลในการพิจารณาโทษของจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
ในกรณีที่ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุบรรเทาโทษเพราะจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวน สมควรลดโทษให้แก่จำเลยที่ฎีกาขึ้นมาเมื่อจำเลยที่มิได้ฎีกาซึ่งกระทำความผิดร่วมกันก็ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวนเช่นเดียวกันเหตุบรรเทาโทษดังกล่าวจึงเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจากคำรับสารภาพของผู้ร่วมกระทำผิด และอำนาจศาลในการพิพากษาถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
ในกรณีที่ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุบรรเทาโทษเพราะจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวน สมควรลดโทษให้แก่จำเลยที่ฎีกาขึ้นมา เมื่อจำเลยที่มิได้ฎีกาซึ่งกระทำความผิดร่วมกันก็ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวนเช่นเดียวกัน เหตุบรรเทาโทษดังกล่าวจึงเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจากเหตุให้การรับสารภาพ และขยายผลสู่ผู้กระทำผิดร่วมกัน
ในกรณีที่ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุบรรเทาโทษเพราะจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวน สมควรลดโทษให้แก่จำเลยที่ฎีกาขึ้นมาเมื่อจำเลยที่มิได้ฎีกาซึ่งกระทำความผิดร่วมกันก็ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวนเช่นเดียวกันเหตุบรรเทาโทษดังกล่าวจึงเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529-1530/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเก็บรักษาสินค้าในโรงพักสินค้า ไม่ถือเป็นการรับฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ และไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากเพลิงไหม้
แม้การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยจะเป็นผู้ทำการเก็บรักษาสินค้า แต่ก็ปรากฏว่าการรับฝากสินค้า 3 วันแรก จำเลยไม่คิดค่าฝาก หากเจ้าของสินค้าไม่มารับสินค้านั้นภายใน 3 วัน จำเลยจะคิดค่าฝากในอัตราก้าวหน้า เพื่อเป็นการเร่งรัดให้เจ้าของสินค้ารีบนำสินค้าออกจากโรงพักสินค้าโดยเร็ว และการที่เจ้าของสินค้าฝากสินค้าดังกล่าวไว้ก็เพื่อรอผ่านพิธีทางศุลกากร เช่นนี้ การที่จำเลยรับทำการเก็บรักษาสินค้าก็เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษี หาใช่เพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตนไม่ จำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 770 จะนำมาตรา 772 ประกอบมาตรา616 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาบังคับแก่จำเลยหาได้ไม่
แม้เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงพักสินค้าของจำเลยจะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็ไม่ได้ความว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลย เนื่องจากในวันเวลาเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ของจำเลยและกรมศุลกากรได้ร่วมกันปิดประตูโรงพักสินค้าตามระเบียบของจำเลยแล้ว เมื่อเกิดเพลิงไหม้ยามสายตรวจของจำเลยก็ได้วิทยุแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ มีรถดับเพลิง 2 คันมาช่วยดับเพลิง แต่ไม่อาจดับได้ทันท่วงทีเพราะเป็นเวลาปิดโรงพักสินค้าแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่อาจเปิดประตูโรงพักสินค้าที่เกิดเหตุได้โดยลำพัง จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรร่วมเปิดด้วย จึงไม่อาจเข้าไปดับให้ถึงต้นเพลิงหรือสกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในโรงพักสินค้าได้ พฤติการณ์เช่นนี้ เป็นการที่จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์ที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้ต้องถูกไฟไหม้เสียหาย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่: เมื่อเจ้าพนักงานไม่มีความผิด ผู้สนับสนุนก็ไม่มีความผิด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์อันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเมื่อศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่3 ไม่ได้กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการแล้วจำเลยที่ 5จึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการด้วย คงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคแรกเท่านั้น แม้จำเลยที่ 5 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขเพราะเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510-1511/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงาน: เหตุผลความผิดซ้ำคำเตือนต้องชัดเจนและต่อเนื่อง หากไม่ชัดเจน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยที่ 14 หยุดงานโดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการลากิจ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับที่เคยได้รับคำเตือนในเรื่องขาดงานโดยยื่นใบลาป่วยและมาสายกับเรื่องแจ้งในใบลาเท็จดังนั้นยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 14 ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ซึ่งโจทก์ได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว อันจะเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายรถยนต์: ความรับผิดเมื่อรถหายและการคืนสู่ฐานะเดิม
ในสัญญาซื้อขายระบุเงื่อนไขว่า 'แม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใด ๆ หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสีย เสียหายหรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ 'ฯลฯ' ข้อความที่ว่ายานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียนั้น ย่อมมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วย จำเลยที่ 1 ชำระค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วน จึงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์ก็ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขสิ้นสุดลง คู่สัญญาจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยที่ 1 ต้องคืนรถยนต์ให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งคืนได้เพราะรถยนต์ถูกลักไป จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ราคารถแทนเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบ
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าเมื่อจำเลยผิดนัดแล้วต้องมีหน้าที่ส่งมอบรถคืนให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการที่ไม่ส่งมอบรถคืนให้แก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความจำเป็นในการหยุดงานเพื่อดูแลภรรยาป่วย และการพิสูจน์เหตุอันสมควร
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ปรากฏว่า วันที่ 31 มีนาคม 2529 เป็นวันจ่ายค่าจ้างเมื่อโจทก์รับค่าจ้างและเลิกงานเวลาประมาณ 17 นาฬิกา โจทก์ไปรับประทานอาหารกับเพื่อนแล้วโดยสารรถยนต์กลับจังหวัดสมุทรสงครามเมื่อเวลาประมาณ 22 นาฬิกา และถึงบ้านเมื่อเวลาประมาณ 23 นาฬิกาเศษ โจทก์ไม่เคยบอกเรื่องการป่วยของภรรยาโจทก์ให้ผู้ใดทราบ โจทก์เพิ่งนำภรรยาไปให้แพทย์ตรวจเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2529 แล้วพากลับบ้าน แสดงว่ามิได้ป่วยหนักพฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่เป็นเหตุอันควรที่จำเลยจะหยุดงานได้โดยไม่ต้องขอลาหยุดต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้าง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ย่อมมีผลผูกพันหากกระทำโดยสมัครใจและปราศจากข่มขู่
โจทก์ทำใบขอรับเงินจำนวนหนึ่งจากจำเลยโดยมีข้อความว่า ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเงิน สิทธิหรือประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีกเมื่อการทำใบขอรับเงินดังกล่าวได้กระทำหลังจากที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีอิสระแก่ตน พ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาจากจำเลยโดยสิ้นเชิงการทำเอกสารสละสิทธิตามที่กล่าวข้างต้นจึงเป็นไปตามความสมัครใจโดยแท้จริงการสละสิทธิดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ การนำสืบข้อเท็จจริงในชั้นศาล และหน้าที่ในการนำสืบหักล้าง
การพิจารณาคำร้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 41,121,124 ต้องปรับด้วยมาตรา 43 มิใช่มาตรา 28ซึ่งเป็นการพิจารณาข้อพิพาทของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานพระราชบัญญัติ ญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 43 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสำหรับการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดตาม มาตรา41 แต่มาตราทั้งสองก็หาได้บัญญัติว่า ข้อเท็จจริงที่ได้ มาตามมาตรา 43 ถือเป็นยุติไม่และเมื่อผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหานำคดีไปสู่ศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้ายแล้วคู่ความย่อมนำสืบข้อเท็จจริงได้ทุกอย่างทุกประการเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์และให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีตามความต้องการ ของพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 44,45 การสืบพยานในคดีแรงงานมีข้อแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญโดยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคสองให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงทั้งหลายในคดีได้ ย่อมถือได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตแล้ว แม้ว่าโจทก์จะมิได้นำสืบข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ โจทก์ก็นำสืบข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่อศาลได้ และจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้าง
of 51