พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังหลักฐานนอกเหนือจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
การพิจารณาคำร้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 41, 121, 124 ต้องปรับด้วยมาตรา 43 มิใช่มาตรา 28 ซึ่งเป็นการพิจารณาข้อพิพาทของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 43 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารการปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 41 แต่มาตราทั้งสองก็หาได้บัญญัติว่า ข้อเท็จจริงที่ได้มาตามมาตรา 43 ถือเป็นยุติไม่ และเมื่อผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหานำคดีไปสู่ศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้ายแล้วคู่ความย่อมนำสืบข้อเท็จจริงได้ทุกอย่างทุกประการ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์และให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีตามความต้องการของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 44, 45
การสืบพยานในคดีแรงงานมีข้อแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคสองให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานการที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงทั้งหลายในคดีได้ย่อมถือได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตแล้วแม้ว่าโจทก์จะมิได้นำสืบข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ โจทก์ก็นำสืบข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่อศาลได้ และจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้าง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 43 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารการปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 41 แต่มาตราทั้งสองก็หาได้บัญญัติว่า ข้อเท็จจริงที่ได้มาตามมาตรา 43 ถือเป็นยุติไม่ และเมื่อผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหานำคดีไปสู่ศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้ายแล้วคู่ความย่อมนำสืบข้อเท็จจริงได้ทุกอย่างทุกประการ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์และให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีตามความต้องการของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 44, 45
การสืบพยานในคดีแรงงานมีข้อแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคสองให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานการที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงทั้งหลายในคดีได้ย่อมถือได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตแล้วแม้ว่าโจทก์จะมิได้นำสืบข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ โจทก์ก็นำสืบข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่อศาลได้ และจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335-1336/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้แทนดำเนินคดีแรงงาน และการสิ้นสุดสภาพการจ้าง การจ่ายเงินสะสม-สมทบ
การที่โจทก์หลายคนแต่งตั้งโจทก์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้แทนดำเนินคดีแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ข้อ 1 เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดวิธีการแต่งตั้งไว้โดยเฉพาะ แตกต่างจากการที่คู่ความในคดีแพ่งธรรมดามอบอำนาจหรือตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีอันจะต้องปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร เอกสารแสดงการแต่งตั้งดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินสะสม เงินสมทบและค่าจ้างที่ค้างชำระ เมื่อคำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงสิทธิของโจทก์และหน้าที่ของจำเลย รวมทั้งข้อโต้แย้งที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน และคำขอบังคับในจำนวนเงินที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับ แม้จะไม่ระบุว่าจะเลยหักเงินสะสมไว้อย่าไร เพียงใด และรายละเอียดของเงินสมทบมีมาอย่างไร คำฟ้องของโจทก็แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว
ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ทุกคนได้ลาออกจากบริษัทจำเลยซึ่งหมายความว่าสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบให้โจทก์หรือไม่จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินสะสม เงินสมทบและค่าจ้างที่ค้างชำระ เมื่อคำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงสิทธิของโจทก์และหน้าที่ของจำเลย รวมทั้งข้อโต้แย้งที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน และคำขอบังคับในจำนวนเงินที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับ แม้จะไม่ระบุว่าจะเลยหักเงินสะสมไว้อย่าไร เพียงใด และรายละเอียดของเงินสมทบมีมาอย่างไร คำฟ้องของโจทก็แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว
ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ทุกคนได้ลาออกจากบริษัทจำเลยซึ่งหมายความว่าสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบให้โจทก์หรือไม่จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับซื้อทรัพย์สินราคาถูกผิดปกติจากแหล่งที่น่าสงสัย มีเหตุเชื่อได้ว่าเป็นการรับของโจร
จำเลยเป็นเจ้าของร้านซ่อมรถจักรยานยนต์และขายอะไหล่ รับซื้อหัวเทียนของกลางจำนวนมากในราคาที่ถูกกว่าราคาขายส่งในท้องตลาดจากคนแปลกหน้าโดยไม่มีใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานในการซื้อขาย แล้วนำไปซุกซ่อนในชั้นที่สองของร้าน พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อได้ว่าจำเลยรับซื้อหัวเทียนของกลางโดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคสอง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา: การพิจารณาเจตนาของคู่สัญญาและข้อความในสัญญาเป็นสำคัญ
สัญญาใดจะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ต้องพิจารณาจากเจตนาของนายจ้างและลูกจ้างขณะทำสัญญาประกอบข้อความในสัญญานั้นเป็นประการสำคัญ ส่วนการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะดำเนินกิจการชั่วคราวอันอาจเลิกกิจการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งได้หรือไม่หาใช่ข้อสำคัญในการนำมาวินิจฉัยไม่ เมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาแน่นอน และสัญญาจ้างสิ้นสุดลงตามกำหนดเวลานั้นแล้ว เช่นนี้ต้องถือว่าไม่ใช่กรณีที่จำเลยเลิกจ้างอันจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นข้อเท็จจริงอันต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคแรก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นข้อเท็จจริงอันต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคแรก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าจ้างหลังประนีประนอมยอมความเลิกจ้าง: ศาลตัดสินตามคำขอเดิมของจำเลย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยให้มีผลตั้งแต่วันยื่นคำร้องคือวันที่ 20มกราคม 2530 ก่อนโจทก์ยื่นคำคัดค้านจำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉิน ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตโดยให้จำเลยนำเงินค่าจ้างไปวางศาลเมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลิกจ้างโจทก์ได้ก็ให้จำเลยขอรับเงินค่าจ้างคืนไป แต่ถ้าไม่อนุญาตให้เลิกจ้างก็ให้โจทก์รับเงินค่าจ้างไปได้ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530 การที่ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่งโดยให้โจทก์ไปขอรับจากศาลแรงงานกลางตามที่จำเลยได้วางไว้ ส่วนที่เหลือให้จำเลยรับคืนไป และโจทก์ไม่ติดใจในเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมค่าเสียหายและค่าชดเชยเกี่ยวกับการเลิกจ้าง ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ตามที่ตกลงกันแต่ข้อตกลงไม่แจ้งชัดว่าจะให้เลิกจ้างเมื่อใด เช่นนี้คำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างดังกล่าวย่อมเป็นไปตามคำขอของจำเลยโดยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าจ้างจากการเลิกจ้าง: ศาลฎีกาวินิจฉัยตามคำขอเดิมของจำเลยที่ยื่นก่อนทำสัญญาประนีประนอม
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยให้มีผลตั้งแต่วันยื่นคำร้องคือวันที่ 20 มกราคม 2530ก่อนโจทก์ยื่นคำคัดค้าน จำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉิน ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตโดยให้จำเลยนำเงินค่าจ้างไปวางศาล เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลิกจ้างโจทก์ได้ ก็ให้จำเลยขอรับค่าจ้างคืนไป แต่ถ้าไม่อนุญาตให้เลิกจ้าง ก็ให้โจทก์รับเงินค่าจ้างไปได้ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530 การที่ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่งโดยให้โจทก์ไปขอรับจากศาลแรงงานกลางตามที่จำเลยได้วางไว้ ส่วนที่เหลือให้จำเลยรับคืนไปและโจทก์ไม่ติดใจในเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหายและค่าชดเชยเกี่ยวกับการเลิกจ้างศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ตามที่ตกลงกันแต่ข้อตกลงไม่แจ้งชัดว่าจะให้เลิกจ้างเมื่อใด เช่นนี้คำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างดังกล่าวย่อมเป็นไปตามคำขอของจำเลย โดยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างย้อนหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิค่าจ้างและความชอบธรรมในการเลิกจ้าง
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยให้มีผลตั้งแต่วันยื่นคำร้องคือวันที่ 20มกราคม 2530 ก่อนโจทก์ยื่นคำคัดค้านจำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉิน ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตโดยให้จำเลยนำเงินค่าจ้างไปวางศาลเมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลิกจ้างโจทก์ได้ก็ให้จำเลยขอรับเงินค่าจ้างคืนไป แต่ถ้าไม่อนุญาตให้เลิกจ้างก็ให้โจทก์รับเงินค่าจ้างไปได้ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530 การที่ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่งโดยให้โจทก์ไปขอรับจากศาลแรงงานกลางตามที่จำเลยได้วางไว้ ส่วนที่เหลือให้จำเลยรับคืนไป และโจทก์ไม่ติดใจในเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมค่าเสียหายและค่าชดเชยเกี่ยวกับการเลิกจ้าง ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ตามที่ตกลงกันแต่ข้อตกลงไม่แจ้งชัดว่าจะให้เลิกจ้างเมื่อใด เช่นนี้คำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างดังกล่าวย่อมเป็นไปตามคำขอของจำเลยโดยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์สำเร็จ: การเคลื่อนย้ายทรัพย์ไปยังที่อื่น แม้จะเอาไปไม่ได้สำเร็จก็ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเอากระเป๋าเป้บรรจุสุราเครื่องคิดเลขเงินเหรียญและรองเท้าสเกตของผู้เสียหาย จากชั้นสองไปไว้บนชั้นสี่ซึ่งเป็นดาดฟ้าเป็นการพาทรัพย์เคลื่อนที่ไปและเข้าถือเอาทรัพย์นั้นแล้ว แม้จำเลยจะเอาทรัพย์ไปไม่ได้ เพราะบุตรของผู้เสียหายมาพบเสียก่อนก็เป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดทรัพย์-สิทธิเรียกร้อง: ศาลต้องไต่สวนเมื่อจำเลยร่วมโต้แย้งหนี้และสิทธิ
ในชั้นบังคับคดี จำเลยร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกยื่นคำร้องคัดค้านว่า ศาลแรงงานกลางมิได้ออกหมายอายัดส่งไปยังจำเลยร่วม จำเลยร่วมได้ใช้สิทธิตามข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญารับจ้างเหมาที่จำเลยร่วมเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยเป็นผู้รับจ้างที่จะหักเงินค่าจ้างตามที่โจทก์ลูกจ้างขออายัดนำไปจ่ายให้แก่ลูกจ้างของจำเลยคือโจทก์แล้ว และจำเลยร่วมได้แจ้งการใช้สิทธิดังกล่าวให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิการเรียกร้องเงินค่าจ้างทราบด้วย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้จากจำเลยร่วม เช่นนี้คำร้องคัดค้านของจำเลยร่วมดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยร่วมได้รับคำสั่งอายัดทรัพย์ปฏิเสธโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องและต่อสู้กับโจทก์อันเป็นการโต้แย้งหนี้ที่เรียกเอาแก่ตน หาใช่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ร้องเท่านั้นไม่ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องคัดค้านของจำเลยร่วมโดยมิได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 ก่อน ถือได้ว่ามิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำสั่งตามมาตรา243 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาย่อมยกคำสั่งศาลแรงงานกลาง และให้รับคำร้องคัดค้านของจำเลยร่วมไว้ดำเนินการไต่สวนแล้วพิจารณาพิพากษาต่อไปตามรูปคดี.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047-1048/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดซ้ำคำเตือน แม้การกระทำหลังแตกต่างจากครั้งแรก หากเป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นวินัยเดียวกัน
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กำหนดวินัยของลูกจ้างไว้ว่า ต้องไม่ปฏิบัติงานล่าช้า ละทิ้งหน้าที่ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการทำงานการที่โจทก์ทั้งสองกับพวกหยอกล้อและเล่นกันในระหว่างเวลาทำงานเป็นความผิดครั้งแรกและเล่นหมากฮอสในระหว่างเวลาทำงานเป็นความผิดครั้งหลังล้วนแต่เป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นการกระทำผิดวินัยตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวทั้งสองครั้ง เมื่อจำเลยได้ลงโทษตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ในการที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่อันเป็นความผิดครั้งแรกแล้ว โจทก์ทั้งสองกลับละทิ้งหน้าที่โดยเล่นหมากฮอสในระหว่างเวลาทำงานอันเป็นความผิดครั้งหลังอีก ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.