พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับกองทุนบำเหน็จเปลี่ยนแปลงแก้ไข การอุทธรณ์เรื่องข้อบังคับที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลแรงงานต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จที่ยังขาดอยู่แก่โจทก์โดยอ้างว่าจำเลยมีข้อบังคับให้จ่ายเงินบำเหน็จ แต่อุทธรณ์ว่าเดิมจำเลยมีข้อบังคับโรงพิมพ์ตำรวจว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2528โดยไม่ระบุว่าเงินบำเหน็จสูงกว่าค่าชดเชยจะเป็นอย่างไร ต่อมาจำเลยออกข้อบังคับโรงพิมพ์ตำรวจว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2529ยกเลิกฉบับปี พ.ศ. 2528 เพื่อประโยชน์แก่จำเลยข้อบังคับฉบับหลังนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้ ทั้งกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นเรื่องที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ หากโจทก์ตกลงด้วยก็มีผลใช้บังคับได้อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามข้อบังคับโรงพิมพ์ตำรวจว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2529 กำหนดว่าในกรณีที่พนักงานออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ซึ่งมีความหมายว่าพนักงานของจำเลยคนใดที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานอยู่แล้วหากค่าชดเชยนั้นมีจำนวนต่ำกว่าเงินบำเหน็จ จำเลยก็จะจ่ายค่าชดเชยให้เต็มจำนวนกับยังจ่ายเงินบำเหน็จให้อีกตามจำนวนที่แตกต่างกันเฉพาะส่วนที่มีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยนั้น เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยเกินกว่าจำนวนค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเงินที่โจทก์ได้รับจึงเป็นค่าชดเชยเต็มจำนวนแล้ว โจทก์คงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่เท่านั้น.
ตามข้อบังคับโรงพิมพ์ตำรวจว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2529 กำหนดว่าในกรณีที่พนักงานออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ซึ่งมีความหมายว่าพนักงานของจำเลยคนใดที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานอยู่แล้วหากค่าชดเชยนั้นมีจำนวนต่ำกว่าเงินบำเหน็จ จำเลยก็จะจ่ายค่าชดเชยให้เต็มจำนวนกับยังจ่ายเงินบำเหน็จให้อีกตามจำนวนที่แตกต่างกันเฉพาะส่วนที่มีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยนั้น เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยเกินกว่าจำนวนค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเงินที่โจทก์ได้รับจึงเป็นค่าชดเชยเต็มจำนวนแล้ว โจทก์คงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187-189/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง: ถือเป็นหนี้เงิน, ผิดนัดไม่ต้องทวงถาม, คิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่จ่าย ย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่จำต้องทวงถาม
ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.(ที่มา-ส่งเสริม)
ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางเรื่องการงดสืบพยาน เนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงบันทึกคำแถลงของคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณารวบรัด ฝ่าฝืนมาตรา 31 และ 39 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อนุญาตอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีแรงงาน และยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ให้คืนเงินประกัน
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงบันทึกคำแถลงของคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณารวบรัด ฝ่าฝืนมาตรา 31 และ 39 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วม ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: การแบ่งหน้าที่กระทำความผิดและความรับผิดทางอาญา
จำเลยกับ ช.และม.ร่วมกันไปที่บ้านส.โดยจำเลยทราบดีว่าช.และ ม. ต้องการฆ่าผู้ตาย ช.และม.บังคับส. ให้ไปลวงผู้ตายมาที่บ้าน ส.จำเลยไปกับส. ด้วยโดยไม่ปรากฏว่าถูกขู่บังคับเมื่อผู้ตายมาที่บ้าน ส. แล้วจะกลับที่พักจำเลยถือตะเกียงเดินตามหลังผู้ตายไปเพื่อให้คนร้ายยิงผู้ตายไม่ผิดตัว การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยจึงเป็นตัวการในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วางเพลิงเผาโรงเรือนที่คนอยู่อาศัย: การเล็งเห็นผลลุกลามเป็นเหตุแห่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218
การที่จำเลยจุดไฟเผาที่นอนในห้องของโรงน้ำชาเพราะไม่พอใจหญิงบริการของโรงน้ำชานั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าเมื่อที่นอนถูกเผาไหม้แล้วไฟอาจจะลุกลามไหม้เตียงนอน ฝาผนัง เพดาน จนกระทั่งโรงน้ำชาแห่งนั้นทั้งหมดได้เมื่อได้ความว่าโรงน้ำชานั้นมีคนอยู่อาศัยด้วย จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานวางเพลิงเผาโรงเรือนที่คนอยู่อาศัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วางเพลิงโรงเรือนที่มีคนอยู่อาศัย แม้ไม่มีเจตนาโดยตรง ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยเล็งเห็นผลได้
การที่จำเลยจุดไฟเผาที่นอนในห้องของโรงน้ำชาเพราะไม่พอใจหญิงบริการของโรงน้ำชานั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าเมื่อที่นอนถูกเผาไหม้แล้วไฟอาจจะลุกลามไหม้เตียงนอน ฝาผนัง เพดาน จนกระทั่งโรงน้ำชาแห่งนั้นทั้งหมดได้ เมื่อได้ความว่าโรงน้ำชานั้นมีคนอยู่อาศัยด้วย จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานวางเพลิงเผาโรงเรือนที่คนอยู่อาศัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วางเพลิงโรงน้ำชาที่มีคนอยู่อาศัย: ความผิดฐานวางเพลิงเผาโรงเรือน
การที่จำเลยจุดไฟเผาที่นอนในห้องของโรงน้ำชาเพราะไม่พอใจหญิงบริการของโรงน้ำชานั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าเมื่อที่นอนถูกเผาไหม้แล้วไฟอาจจะลุกลามไหม้เตียงนอน ฝาผนัง เพดานจนกระทั่งโรงน้ำชาแห่งนั้นทั้งหมดได้เมื่อได้ความว่าโรงน้ำชานั้นมีคนอยู่อาศัยด้วย จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานวางเพลิงเผาโรงเรือนที่คนอยู่อาศัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการคืนสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกจ้าง
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ระหว่างสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์ทำผิด จึงมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มีผลงานให้แก่จำเลยในชั่วระยะเวลานั้นมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ การยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างย่อมต้องถือเสมือนว่าคำสั่งเลิกจ้างไม่เคยมีมาก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่สะดุดหยุดลงจึงต้องคืนเข้าสู่ภาวะเดิมโดยไม่ถือว่าขาดช่วงจำเลยตัดระยะเวลาการทำงานของโจทก์ในช่วงที่ถูกเลิกจ้างออกไม่ชอบด้วยความเป็นธรรมและหามีกฎหมายหรือข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยสนับสนุนหรือให้อำนาจไม่
ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน......ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงานดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้
ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน......ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงานดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการคืนสิทธิประโยชน์: สิทธิลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างแต่ศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ระหว่างสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์ทำผิด จึงมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มีผลงานให้แก่จำเลยในชั่วระยะเวลานั้นมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ การยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างย่อมต้องถือเสมือนว่าคำสั่งเลิกจ้างไม่เคยมีมาก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่สะดุดหยุดลงจึงต้องคืนเข้าสู่ภาวะเดิมโดยไม่ถือว่าขาดช่วงจำเลยตัดระยะเวลาการทำงานของโจทก์ในช่วงที่ถูกเลิกจ้างออกไม่ชอบด้วยความเป็นธรรมและหามีกฎหมายหรือข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยสนับสนุนหรือให้อำนาจไม่
ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน......ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวับประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงานดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้.
ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน......ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวับประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงานดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้.