คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สีนวล คงลาภ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการคืนสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกจ้าง
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ระหว่างสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์ทำผิด จึงมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มีผลงานให้แก่จำเลยในชั่วระยะเวลานั้นมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ การยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างย่อมต้องถือเสมือนว่าคำสั่งเลิกจ้างไม่เคยมีมาก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่สะดุดหยุดลงจึงต้องคืนเข้าสู่ภาวะเดิมโดยไม่ถือว่าขาดช่วงจำเลยตัดระยะเวลาการทำงานของโจทก์ในช่วงที่ถูกเลิกจ้างออกไม่ชอบด้วยความเป็นธรรมและหามีกฎหมายหรือข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยสนับสนุนหรือให้อำนาจไม่
ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน......ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงานดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทและประพฤติเนรคุณทำให้เรียกคืนการให้ได้ ศาลพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
จำเลยด่าว่าโจทก์ผู้เป็นมารดาด้วยถ้อยคำหยาบคายว่าโจทก์เป็นสุนัขเป็นคนไม่มีศีลธรรม ให้ที่ดินแล้วยังเอาคืนเป็นคนเนรคุณคน เช่นนี้ เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถือได้ว่าประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ โจทก์เรียกคืนการให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอฟังว่าจำเลยพยายามฆ่า ศาลฎีกายกฟ้องฐานพยายามฆ่า แม้จำเลยจะฎีกาเรื่องโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ยกฟ้องข้อหาพยายามฆ่า โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดข้อหาพยายามฆ่าด้วย จำเลยฎีกาเพียงว่าศาลอุทธรณ์กำหนดโทษรุนแรงเกินไป ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอฟังลงโทษจำเลยในความผิดข้อหาพยายามฆ่าแล้ว ก็มีอำนาจยกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225 ส่วนข้อหาตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ นั้น ปรากฏว่า โจทก์จำเลยต่างไม่อุทธรณ์จึงเป็นยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยในความผิดดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5967/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินบำนาญ: เริ่มนับอายุงานเมื่อเป็นพนักงานประจำ แม้เคยเป็นลูกจ้างชั่วคราวก่อนหน้า
เมื่อข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลยกำหนดให้จ่ายเงินบำนาญตามอายุการทำงานเฉพาะแก่พนักงานและลูกจ้างประจำซึ่งพ้นจากงานเพราะเกษียณอายุ ก็ต้องเริ่มนับอายุการทำงานของโจทก์ในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นต้นไปแม้โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวก่อนได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นเวลา 10 ปีเศษก็ตาม โจทก์ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าในช่วงเวลาที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว โจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเพราะทำงานติดต่อกันเกิน 120 วัน เพื่อให้นับอายุการทำงานในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเป็นลูกจ้างชั่วคราว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5967/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินบำนาญ: อายุการทำงานลูกจ้างชั่วคราวไม่รวมกับเงินบำนาญตามข้อบังคับกองทุนสงเคราะห์
เมื่อข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลยกำหนดให้จ่ายเงินบำนาญตามอายุการทำงาน เฉพาะแก่พนักงานและลูกจ้างประจำซึ่งพ้นจากงานเพราะเกษียณอายุ ก็ต้องเริ่มนับอายุการทำงานของโจทก์ในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นต้นไป แม้โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวก่อนได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นเวลา 10 ปีเศษก็ตาม โจทก์ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าในช่วงเวลาที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว โจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเพราะทำงานติดต่อกันเกิน 120 วัน เพื่อให้นับอายุการทำงานในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเป็นลูกจ้างชั่วคราว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทดแทนจากประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไม่ใช่เงินทดแทนตามกฎหมายแรงงาน แม้จ่ายโดยนายจ้าง
บริษัท ส.นายจ้างเดิมของพ.ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันบริษัทจำเลยที่ 2 นายจ้างคนใหม่ของ พ.ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้แก่พ.กรมธรรม์ประกันภัยมิได้มีข้อความกำหนดว่าต้องเป็นอุบัติเหตุอันเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแต่เพียงประการเดียว แม้ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยจะประสบอันตรายโดยมิได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง บริษัทประกันภัยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา แม้บริษัท ส.จะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันก็เป็นเพียงการให้สวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พ.เท่านั้น ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ พ.ได้รับจากบริษัทประกันภัยจึงมิใช่เป็นเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกันไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กำหนดว่าเงินที่เอาประกันภัยเป็นเงินทดแทนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไม่ใช่เงินทดแทนตามกฎหมายแรงงาน แม้จ่ายโดยนายจ้าง
บริษัท ส. นายจ้างเดิมของ พ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันบริษัทจำเลยที่ 2 นายจ้างคนใหม่ของ พ.ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้แก่ พ.กรมธรรม์ประกันภัยมิได้มีข้อความกำหนดว่าต้องเป็นอุบัติเหตุอัน เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแต่เพียงประการเดียวแม้ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยจะประสบอันตรายโดยมิได้เกิด ขึ้นจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างบริษัทประกันภัยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแม้บริษัท ส.จะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันก็เป็นเพียงการให้สวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พ. เท่านั้นค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ พ.ได้รับจากบริษัทประกันภัยจึงมิใช่เป็นเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4 นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกันไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กำหนดว่าเงินที่เอาประกันภัยเป็นเงินทดแทนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5680/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: สิทธิในการดำเนินคดีแทนลูกหนี้
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยไว้ก่อน แล้ว หลังจากนั้น จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2530 ครั้นวันที่ 29 มิถุนายน 2530 เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่โจทก์นำยึดตามคำสั่งศาล เช่นนี้ จำเลยจะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ อำนาจในการดำเนินคดีย่อมตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาศาลในวันที่ศาลนัดไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ขอคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนจำเลย ย่อมมีอำนาจจะคุ้มครองป้องกันสิทธิของจำเลยทุกประการ ศาลจึงไม่มีหน้าที่จะต้องสอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5680/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจคุ้มครองสิทธิจำเลยแต่ผู้เดียว
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยไว้ก่อนแล้ว หลังจากนั้น จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อวันที่ 25มิถุนายน 2530 ครั้นวันที่ 29 มิถุนายน 2530 เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่โจทก์นำยึดตามคำสั่งศาล เช่นนี้ จำเลยจะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ อำนาจในการดำเนินคดีย่อมตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาศาลในวันที่ศาลนัดไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ขอคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนจำเลย ย่อมมีอำนาจจะคุ้มครองป้องกันสิทธิของจำเลยทุกประการ ศาลจึงไม่มีหน้าที่จะต้องสอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5680/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้หมดอำนาจ
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยไว้ ต่อมาวันที่ 25มิถุนายน 2530 จำเลยถูกศาลแพ่งสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ครั้นวันที่29 มิถุนายน 2530 เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดเช่นนี้ จำเลยจะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้อำนาจในการดำเนินคดีย่อมตก แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้อง ของจำเลยที่ขอคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจคุ้มครองป้องกันสิทธิของจำเลย ศาลจึงไม่มีหน้าที่ต้องสอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่.
of 51