คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สีนวล คงลาภ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากสัญญาจ้างแรงงานและการปฏิบัติผิดสัญญา vs. ละเมิด และความรับผิดของลูกจ้างร่วม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นลูกจ้างของโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงานของโจทก์ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานอยู่ด้วย ดังนี้ หาใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดแก่โจทก์เพียงประการเดียวไม่ การปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี จำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นอกจากมีหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการควบคุมจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการทำไม้ของกลางแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ไปตรวจดูแลไม้ของกลางที่ว่าจ้าง ป. เฝ้ารักษาไม่ให้เสียหายจนกว่าจะขายได้ด้วย ดังนั้น เมื่อไม้ของกลางดังกล่าวสูญหาย แม้โจทก์จะปรับ ป.ไปแล้วตามสัญญา ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่ ป.ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ว่า จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้องป. ให้รับผิด เมื่อ ป. ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยโดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีเสียก่อน โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปฏิบัติผิดข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงาน และไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก และจำเลยทั้งสองยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291การที่โจทก์สั่งให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายคนละกึ่งหนึ่งเป็นเรื่องโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่านั้น หากจำเลยคนหนึ่งคนใดยินยอมชำระให้กึ่งหนึ่ง โจทก์ก็อาจพิจารณาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ชำระหนี้นั้นต่อไป แต่ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับตามมาตรา 291 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน การที่โจทก์ลงโทษตัดเงินเดือนจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับของโจทก์ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยวินัยการสอบสวน และการลงโทษสำหรับพนักงานและคนงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หาเป็นเหตุลบล้างสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผิดสัญญาจ้างแรงงาน, ความรับผิดของลูกจ้างและผู้บังคับบัญชา, การชดใช้ค่าเสียหายจากลูกหนี้ร่วม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นลูกจ้างของโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธิปฏิบัติงานของโจทก์ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานอยู่ด้วย ดังนี้ หาใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดแก่โจทก์เพียงประการเดียวไม่ การปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นอกจากมีหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการควบคุมจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการทำไม้ของกลางแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ไปตรวจดูแลไม้ของกลางที่ว่าจ้าง ป. เฝ้ารักษาไม่ให้เสียหายจนกว่าจะขายได้ด้วย ดังนั้น เมื่อไม้ของกลางดังกล่าวสูญหาย แม้โจทก์จะปรับ ป. ไปแล้วตามสัญญา ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่
ป. ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ว่า จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้อง ป. ให้รับผิด เมื่อ ป. ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยโดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีเสียก่อน
โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปฏิบัติผิดข้อบังคับระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงาน และไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก และจำเลยทั้งสองยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 การที่โจทก์สั่งให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายคนละกึ่งหนึ่งเป็นเรื่องโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่านั้น หากจำเลยคนหนึ่งคนใดยินยอมชำระให้กึ่งหนึ่ง โจทก์ก็อาจพิจารณาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ชำระหนี้นั้นต่อไป แต่ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับตาม มาตรา 291 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่โจทก์ลงโทษตัดเงินเดือนจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับของโจทก์ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยวินัยการสอบสวน และการลงโทษสำหรับพนักงานและคนงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หาเป็นเหตุลบล้างสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชั้นศาล & คำร้องต่อเนื่อง: ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณา แม้คำสั่งจำหน่ายคดีถึงที่สุด
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้อง ของ โจทก์ที่ขอให้ศาลฎีกาไต่สวนถึงเหตุที่โจทก์มิได้จงใจไม่นำส่งสำเนาฎีกาและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลฎีกาแล้วสั่งยกคำร้องนั้น หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้อง โจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามลำดับชั้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาและพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าการยื่นคำร้อง ของ โจทก์ดังกล่าวเป็นการดำเนินคดีที่ต่อเนื่องกับคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลฎีกา ประกอบกับคดีมีหลักฐานพอที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่อีก ศาลฎีกาย่อมพิจารณาพิพากษาคดีไปได้ โจทก์ยื่นฎีกาแต่โจทก์ไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลฎีกามีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีจากสารบบความศาลฎีกา คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลฎีกาที่ได้สั่งไปนั้นถึงที่สุด โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งไต่สวนและสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลฎีกาที่สั่งจำหน่ายคดีซึ่งถึงที่สุดแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อการนำส่งสำเนาฎีกาและการจำหน่ายคดี การไต่สวนเหตุผลและการอุทธรณ์คำสั่ง
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลฎีกาไต่สวนถึงเหตุที่โจทก์มิได้จงใจไม่นำส่งสำเนาฎีกาและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลฎีกาแล้วสั่งยกคำร้องนั้น หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้อง โจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามลำดับชั้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาและพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าการยื่นคำร้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการดำเนินคดีที่ต่อเนื่องกับคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลฎีกา ประกอบกับคดีมีหลักฐานพอที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิจารณาพิพากษาใหม่อีก ศาลฎีกาย่อมพิจารณาพิพากษาคดีไปได้
โจทก์ยื่นฎีกาแต่โจทก์ไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลฎีกามีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีจากสารบบความศาลฎีกา คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลฎีกาที่ได้สั่งไปนั้นถึงที่สุด โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งไต่สวนและสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลฎีกาที่สั่งจำหน่ายคดีซึ่งถึงที่สุดแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4280/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์ด้วยการทำร้ายร่างกายโดยใช้ไฟฉายเป็นอาวุธ พยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยกับเหตุการณ์
ในการปล้นทรัพย์คนร้ายใช้กระบอกไฟฉายเดินทางขนาด 3 ก้อนที่มีติดตัวไปตีทำร้ายภรรยาผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวไปด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพัน แม้ศาลแพ่งยกฟ้องคดีละเมิด การชำระหนี้ตามสัญญาเป็นไปโดยมีมูล
โจทก์ขับรถยนต์ของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชนกับรถยนต์โดยสารปรับอากาศของบุคคลภายนอก คณะกรรมการสอบสวนของจำเลยมีมติว่าโจทก์เป็นฝ่ายประมาท โจทก์จึงทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมให้จำเลยหักเงินเดือนและเงินอื่น ๆ ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ เกี่ยวกับอุบัติเหตุรายนี้เจ้าของรถยนต์โดยสารปรับอากาศได้ฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด ศาลวินิจฉัยว่าเหตุที่รถชนกันไม่ได้เกิดจากความประมาทของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ดังนี้การที่จำเลยหักเงินของโจทก์ไว้ตามสัญญารับสภาพหนี้ดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายของรถยนต์จำเลยและค่าช่วยเหลือผู้โดยสารในรถยนต์ของจำเลยที่บาดเจ็บที่จำเลยจ่ายไป จึงเป็นการที่จำเลยได้เงินมาโดยมีมูลจะอ้างกฎหมายได้ คำพิพากษาในคดีระหว่างบุคคลภายนอกกับโจทก์และจำเลยย่อมผูกพันระหว่างบุคคลเหล่านั้นเท่านั้น ความเสียหายของจำเลยที่โจทก์ยอมรับชดใช้ยังคงมีอยู่ หามีผลทำให้การชำระหนี้ของจำเลยกลับเป็นไม่มีมูลจะอ้างกฎหมายได้อีกไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3878/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของลูกจ้าง: นายจ้างไม่รับผิดชอบหากลูกจ้างสมัครใจและไม่มีข้อบังคับ
นายจ้างมิได้มีข้อบังคับกำหนดให้มีการแข่งขันกีฬาระหว่างลูกจ้างไว้เป็นกิจจะลักษณะ คำสั่งของนายจ้างที่สั่งว่า"อนุมัติให้จัดได้" เป็นเพียงอนุญาตให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างลูกจ้างได้เท่านั้น ส่วนลูกจ้างคนใดจะเข้าแข่งขันหรือไม่มิได้มีการบังคับอันจะถือว่าเป็นคำสั่งให้ลูกจ้างผู้นั้นต้องลงแข่งขัน เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างสมัครใจลงแข่งเองและถึงแก่ความตายจึงถือไม่ได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างนายจ้างหาจำต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน, การลงโทษทางวินัย, และสิทธิการพิจารณาขึ้นเงินเดือนของลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ถูกลงโทษโดยไม่มีความผิด การกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอันสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522มาตรา 8(1)(2)และ(5)แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ถูกลงโทษตัดเงินเดือนโดยโดยไม่มีความผิด ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษแล้วให้บังคับจำเลยขึ้นเงินเดือนตามสิทธิ คำฟ้องและคำขอที่เรียกเงินเดือนดังกล่าวไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างโดยตรง จะปรับใช้อายุความว่าด้วยการเรียกเงินจ้างอันมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ไม่ได้ การที่นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างประการใดได้ก็ต่อเมื่อข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานได้กำหนดการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำว่าเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ นายจ้างจะถือเอาการปฎิบัติอันเป็นประเพณีมาลงโทษลูกจ้างมิได้ การให้บำเหน็จความดีความชอบแก่ลูกจ้างเป็นอำนาจโดยเฉพาะของนายจ้าง อำนาจนี้เป็นสิทธิของนายจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นการดำเนินกิจการที่นายจ้างจะต้องใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง การพิจารณาขึ้นเงินเดือนจึงเป็นสิทธิของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง หาใช่สิทธิของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการฟ้องร้องกรณีลงโทษทางวินัย, การขึ้นเงินเดือน, และการเรียกร้องค่าเสียหายของลูกจ้าง
คดีก่อนมีประเด็นว่า คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัยชอบหรือไม่ โจทก์ถูกย้ายตำแหน่งหน้าที่ชอบหรือไม่ และควรขึ้นค่าจ้างในระหว่างที่โจทก์ถูกสอบสวนหรือไม่ ส่วนคดีหลังมีประเด็นว่าคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยชอบหรือไม่ ควรขึ้นเงินเดือนโจทก์ระหว่างถูกสอบสวนหรือไม่ โจทก์ควรได้ค่าจ้างส่วนที่ขาด โบนัส และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือไม่ ซึ่งประเด็นและเหตุในคดีทั้งสองต่างกัน การพิจารณาคดีทั้งสองมีมูลฐานที่พิจารณาจากคำสั่งต่างฉบับกัน และคำขอท้ายฟ้องแตกต่างกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ถูกลงโทษโดยไม่มีความผิด การกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ และเป็นการละเมิดต่อโจทก์ดังนี้ฟ้องของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นคดีพิพาทด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอันสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ.2522 มาตรา 8 (1) (2) และ (5) แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ถูกลงโทษตัดเงินเดือนโดยไม่มีความผิด ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษแล้วให้บังคับจำเลยขึ้นเงินเดือนตามสิทธิคำฟ้องและคำขอที่เรียกเงินเดือนดังกล่าวไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างโดยตรง จะปรับใช้อายุความว่าด้วยการเรียกเงินจ้างอันมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) ไม่ได้
การที่นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างประการใดได้ก็ต่อเมื่อข้อบังคับหรือระเบียบการทำงานได้กำหนดการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำว่าเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ นายจ้างจะถือเอาการปฏิบัติอันเป็นประเพณีมาลงโทษลูกจ้างมิได้
การให้บำเหน็จความดีความชอบแก่ลูกจ้างเป็นอำนาจของนายจ้าง อำนาจนี้เป็นสิทธิของนายจ้างเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานประสิทธิภาพและเป็นการดำเนินกิจการที่นายจ้างจะต้องใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง การพิจารณาขึ้นเงินเดือนจึงเป็นสิทธิของจำเลยผู้เป็นนายจ้างสิทธิของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง หากรวมแล้วไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ นายจ้างไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง เมื่อรวมกันค่าจ้างแล้วเป็นค่าจ้างวันละ 76.67 บาท ดังนี้ไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำฯ
of 51